ปรึกษากฎหมาย ทนายความ คดีมรดก
กรณีลูกความต้องการปรึกษากฎหมาย คดีมรดก การแบ่งทรัพย์มรดก
จ้างทนายความคดีมรดก เพื่อให้ทางทนายความดำเนินการในชั้นศาล ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกจากกองมรดก หรือ ปรึกษากฎหมายกรณีทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก การขอแบ่งมรดก จากท่านผู้มีสิทธิ ทางทนายจะดำเนินการตรวจสอบเรื่องราวของท่านอย่างครบถ้วน ผมยินดีช่วยเหลือ ท่านด้วยความยุติธรรม
ติดต่อ ทนายพัตร์
แนวทางคำพิพากษาเรื่อง คดีมรดก เบื้องต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546
นาย เจือเอม ศรี โจทก์
นาย บุญลือแก้วเอี่ยม ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาง กลิ้ง เสือนา กับพวก จำเลย
โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย เมื่อขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมทั้ง พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ พ. โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตามมาตรา 1639
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่ง คดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตาย ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการ จัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมา แบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทโดยธรรมของนางกลิ้ง เสือนา ผู้ตาย โดยการรับมรดกแทนที่นางพัน เอมศรี หลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์มรดกที่ดิน3 แปลง และมอบเงินฝากในธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาชุมแสง จำนวน 40,000 บาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 อ้างว่ามีพินัยกรรมของผู้ตายยกทรัพย์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 แต่พินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะในวันทำ พินัยกรรมผู้ตายไม่มีเงินฝากอยู่ในธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาชุมแสง และลายพิมพ์นิ้วมือในช่องผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายพิมพ์นิ้วมือที่แท้จริงของ ผู้ตาย ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 10 สิงหาคม 2534 ของผู้ตายเป็นโมฆะ และเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 545,563 และ 669ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้คงสภาพเดิมเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้จำเลยที่ 2 คืนเงินมรดกของผู้ตาย จำนวน 40,000 บาท แก่โจทก์เพื่อแบ่งปันแก่ทายาทของผู้ตาย และห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของผู้ตายจนกว่าจะได้จัดการแบ่ง มรดกโดยถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาทของนางกลิ้งผู้ตาย โจทก์ไม่อาจรับมรดกแทนที่นางพันได้ เพราะนางพันไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล พินัยกรรมของผู้ตายฉบับลงวันที่ 10สิงหาคม 2534 ตามฟ้องสมบูรณ์ ลายพิมพ์นิ้วมือในช่องผู้ทำพินัยกรรมเป็นลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตาย จำเลยที่ 1 โอนที่ดินสามแปลงและมอบเงิน 40,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 ตามข้อกำหนดในพินัยกรรม ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 867/2537 ของศาลชั้นต้น โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ขอให้โอนทรัพย์มรดกของผู้ตายต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1545/2537 ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว และโจทก์รู้ว่าผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2535 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2538 ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 10 สิงหาคม 2534 ของนางกลิ้งเสือนา ไม่มีผลบังคับ ให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 545, 563 และ 669 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสงจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลย ทั้งสองและให้จำเลยที่ 2 ชดใช้เงินจำนวน 40,000 บาท แก่โจทก์เพื่อนำไปแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมของนางกลิ้ง เสือนา ผู้ตาย ส่วนคำขออื่นให้ยก
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน
จำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นตามคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองโดยคู่ความมิได้ ฎีกาโต้แย้งว่า นางพันเอมศรีหรือเสือนา เป็นพี่สาวนางกลิ้ง เสือนา ผู้ตายร่วมบิดามารดาเดียวกัน โดยเป็นบุตรของนายสว่าง เสือนา กับนางเคลือบ เสือนา นายสว่างและนางเคลือบถึงแก่ความตายไปก่อนนางพัน และผู้ตายนางพันถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ส่วนผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยสาเหตุโรคชราเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 โดยไม่มีคู่สมรสและบุตร ก่อนถึงแก่ความตายผู้ตายมีที่ดิน 3 แปลง ตั้งอยู่ที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 545, 563 และ 669 เอกสารหมาย จ.6ถึง จ.8 ตามลำดับ โดยที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 563 และ 669 ผู้ตายมีชื่อร่วมกับนางธูป อิ่มสมบัติ และมีเงินฝากที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 40,000 บาท ตามสำเนาคำขอเปิดบัญชีเงินฝากประจำเอกสารหมาย จ.10 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามสำเนาคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 334/2536 เอกสารหมาย จ.1 ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2537 จำเลยที่ 2 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อศาลชั้นต้น โดยอ้างว่าเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2534 ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมตามสำเนาเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.4 ยกทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและเงินฝากของผู้ตายดังกล่าวข้างต้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามพินัยกรรมในวันที่ 4 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยที่ 1 ยอมโอนที่ดินตามสำเนาหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 545 และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 563 และ 669 เฉพาะส่วนของผู้ตาย กับเงินฝากที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาชุมแสง จำนวน 40,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 ตามสำเนาคำฟ้อง สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความและสำเนาคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 867/2537 ของศาลชั้นต้นเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ตามลำดับ ซึ่งต่อมาจากจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินและมอบเงินฝากในธนาคารจำนวน 40,000 บาท ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 แล้วเมื่อวันที่6 กรกฎาคม 2537
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อแรกมีว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายหรือไม่ จำเลยทั้งสองฎีกามีใจความว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานแสดงว่าโจทก์เป็นบุตรของนางพัน เอมศรีหรือเสือนา พี่สาวผู้ตายโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายนั้น ในประเด็นนี้โจทก์มีตัวโจทก์เบิกความยืนยันว่า โจทก์เป็นบุตรของนายแปลก เอมศรี กับนางพัน เอมศรีหรือเสือนา นางพันเป็นพี่สาวของผู้ตายร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยเป็นบุตรของนายสว่างหรือ หว่าง เสือนากับนางเคลือบ เสือนา นางสว่างและนางเคลือบถึงแก่ความตายก่อนนางพันมารดาโจทก์และนางพันมารดาโจทก์ ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25พฤศจิกายน 2535 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งจำเลย ที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามสำเนาคำสั่งคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 334/2536 เอกสารหมาย จ.1 นางสมวงศ์ ทองนุช พยานโจทก์เบิกความว่า พยานเป็นบุตรนางผูก นางผูกเป็นพี่สาวของผู้ตาย โจทก์เป็นบุตรของนางพัน นางพันเป็นพี่สาวของผู้ตาย จำเลยที่ 1 เป็นบุตรนางเพียร นางเพียรเป็นพี่สาวของผู้ตาย นางผูกนางเพียรและนางพันถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย นายสำราญ เสือนา พยานโจทก์เบิกความว่า พยานเป็นบุตรนายเผื่อน เสือนากับนางเทียม เสือนา นายเผื่อนเป็นพี่ชายของผู้ตาย โจทก์เป็นบุตรนางพัน จำเลยที่ 1เป็นบุตรนางเพียร นางเพียรเป็นพี่สาวของผู้ตาย และนายประทุม อิ่มสมบัติ พยานโจทก์อีกปากหนึ่งเบิกความว่า พยานกับโจทก์เป็นญาติกัน โดยมารดาโจทก์ชื่อนางพันและเป็นพี่สาวของนางธูปมารดาของพยาน นางพันเป็นพี่สาวของผู้ตาย นางพันกับผู้ตายและนางธูปเป็นพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน จำเลยที่ 1 เป็นบุตรนางเพียรซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของนายจุนกับนางเคลิ้ม โดยนายจุนเป็นพี่ชายของจำเลยที่ 1เห็นว่า โจทก์และพยานโจทก์ทั้งสามเบิกความมีรายละเอียดสอดคล้องต้องกันว่า โจทก์เป็นบุตรของนางพัน เอมศรีหรือเสือนา ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตายร่วมบิดามารดาเดียวกันเฉพาะอย่างยิ่งพยานโจทก์ทั้ง สามดังกล่าวต่างเป็นบุคคลในเครือญาติใกล้ชิดกับทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้ง สอง ซึ่งเชื่อได้ว่าย่อมรู้ความเป็นไปในเครือญาติได้ดี คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสามจึงมีน้ำหนักในการรับฟัง ทั้งจำเลยที่ 1 เองก็เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่าโจทก์เป็นบุตรของนางพันและเป็นทายาท ที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบหักล้างหรือแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นบุตรของนางพันซึ่งเป็นพี่ สาวของผู้ตาย ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งรวมทั้ง นางพันมารดาโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อนางพันถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของนางพันย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่นางพัน โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของนางพัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อสองมีว่า ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1545/2537 ของศาลชั้นต้นหรือไม่เห็นว่า หลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นฟ้องซ้ำอันเป็นการต้องห้ามตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้น คือ คดีก่อนศาลได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1545/2537 ของศาลชั้นต้น โจทก์กับพวกในคดีดังกล่าวได้ถอนฟ้อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 บัญญัติว่า การทิ้งคำฟ้องหรือถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลย แต่ว่าคำฟ้องใด ๆ ที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้วอาจยื่นใหม่ได้ ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ นอกจากนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาท แห่งคดีแต่อย่างใด การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุ อย่างเดียวกันกับคดีก่อน จึงไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายมาตรา 148 ดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1545/2537 ของศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อสามมีว่าพินัยกรรม ตามฟ้องเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่… ข้อเท็จจริงจึงน่าเชื่อว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมตามสำเนาเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.4 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกที่ดินทั้งสามแปลงและเงินสดในธนาคารจำนวน 40,000 บาท ของผู้ตายตามกฎหมาย ข้ออ้างประการอื่น ๆในฎีกาของจำเลยทั้งสองที่เกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ถึงวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผล คดีเปลี่ยนแปลงจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นข้อสี่มีว่า ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 หรือไม่โดยจำเลยทั้งสองฎีกามีใจความว่า ผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2535 ซึ่งโจทก์ทราบดีว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2535 ดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายในระหว่างจัดการ จึงไม่ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท และเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2537 จำเลยที่ 1โอนทรัพย์มรดกของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายตลอดมา โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2538 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายเกินกว่า 1 ปี ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 นั้น เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยคำสั่งศาล โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน ทั้งสามแปลงซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 40,000 บาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งสองที่มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการ มรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกอายุความ 5 ปีนี้เท่านั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์จะนำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2538ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่โจทก์รู้ถึงความตายของผู้ตายแล้วก็ตาม ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ก็ไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่วินิจฉัยมาข้างต้นแล้วว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมตามเอกสารหมาย จ.9 หรือ ล.4 หรืออีกนัยหนึ่งพินัยกรรมดังกล่าวเป็นพินัยกรรมปลอม จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินทั้ง สามแปลงและเงินสดจำนวน 40,000บาท ของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมา แบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นสุดท้ายมีว่า คดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ถูกฟ้องในฐานะส่วนตัว ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับโดยให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ได้นั้นเห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสามแปลงระหว่างจำเลย ที่ 1กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้อันให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสามแปลงระหว่าง จำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่าหากจำเลยทั้งสอง ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมา ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย”
พิพากษายืน
( จำรูญ แสนภักดี – สมชัย เกษชุมพล – สุมิตร สุภาดุลย์ )
หมายเหตุ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1755 ที่ให้ผู้จัดการมรดกยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยนั้น มิใช่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกแต่เป็นการยกขึ้นต่อสู้เจ้า หนี้ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกตามมาตรา 1754 วรรคสาม คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ทายาท ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินของเจ้ามรดก เพื่อให้กลับมาเป็นทรัพย์มรดกตามเดิม โดยไม่ได้ขอแบ่งให้โจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 1754และ 1755 น่าจะมิใช่เพราะมีมาตรา 1733 วรรคสอง บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงไม่นำมาใช้บังคับดังที่ศาลฎีกาวินิจฉัย
ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง ที่กำหนดให้ทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกภายใน 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดนั้น ใช้บังคับเฉพาะคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งอย่างไรจะถือว่าเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกจะต้องดูว่าผู้จัดการมรดก มีอำนาจหน้าที่อย่างไรตามที่บัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1714 ถึงมาตรา 1733 แต่คดีนี้เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกที่จำเลย ที่ 1 ทำไปโดยไม่ชอบ อันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนโดยโจทก์ในฐานะทายาทผู้มีกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 1336ประกอบมาตรา 1599 ซึ่งไม่มีอายุความ (คำพิพากษาฎีกาที่ 621/2519) ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตามมาตรา 1733 วรรคสอง เพราะคำขอของโจทก์มิได้บังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่อาจนำมาตรา 1733 วรรคสอง มาใช้บังคับได้
ไพโรจน์ วายุภาพ
หน้าแรกหน้าที่แล้ว หน้าถัดไปหน้าสุดท้าย