ทนายความคดีสิทธิครอบครองที่ดิน ครอบครองปรปักษ์

ทนายความคดีแย่งที่ดิน ครอบครองปรปักษ์

หากลูกความมีปัญหาทางด้านคดี ถูกแย่งที่ดิน ฟ้องแบ่งที่ดิน ถูกครอบครอบปกปักษ์ หรือ ลูกความมีความทุกข์ร้อนทางคดี เดือดร้อนใจ ปรึกษากฎหมายกับทนายความ เพื่อความช่วยเหลือด้วยความยุติธรรมและเป็นธรรมที่สุด
โทรหาผม ทนายพัตร์
Tel : %e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 


 

ตัวอย่างแนวทางสู้คดีเบื้องต้นคำพิพากษามีดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้วินิจฉัยเดิมตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับก่อน เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2544 เป็นต้น
มีข้อพิจารณาว่า จำเลยจะบรรยายคำให้การอย่างไรเพื่อให้ชอบด้วยกฎหมาย หากข้อเท็จจริงได้ความว่า
1. จำเลยซื้อหรือเข้าครอบครองที่ดินโดยสุจริตทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมาโจทก์อ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของตน
2. จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่ตนรับโอนมาโดยชอบและยังเข้าครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดกันโดยเข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินของตนด้วย
ทั้งสองกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินด้วยเจตนาเป็นของตนเอง หากที่ดินที่ครอบครองเป็นของโจทก์ ก็ถือได้ว่าจำเลยเข้าแย่งการครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกคืนก็จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะรู้ว่าถูกแย่งการครอบครองหรือไม่และรู้เมื่อใด
แต่เมื่อจำเลยให้การโดยบรรยายข้อเท็จจริงให้ศาลทราบกลับกลายเป็นคำให้การที่ไม่มีประเด็นในเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกคืนภายในกำหนด 1 ปี หรือไม่ คดีแพ่งเมื่อศาลมีคำพิพากษาก็มีผลกระทบกระเทือนเกี่ยวกับทรัพย์สินของคู่ความต่างจากคดีอาญาที่กระทบกระเทือนต่อทรัพย์ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์แต่ส่วนใหญ่จะกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพ บางครั้งเป็นส่วนน้อยที่กระทบกระเทือนต่อชีวิต แต่การบรรยายคำฟ้องศาลยังไม่เข้มงวด เช่น การบรรยายคำฟ้องความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยบรรยายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชั้นแรกว่ามีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จากนั้นจึงบรรยายความผิดฐานรับของโจร เพื่อให้ศาลเลือกลงโทษฐานใดฐานหนึ่งตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ดังนั้น การที่จำเลยให้การโดยบรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยเข้าครอบครองที่ดินโดยชอบ (ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ รับให้ หรือเข้าครอบครองโดยสุจริตเพราะเห็นว่าเป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่รู้ว่าเป็นที่ดินของโจทก์) และครอบครองมานานกว่า 1 ปี อย่างไรก็ตามหากที่ดินจะเป็นของโจทก์จริง โจทก์ก็ฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปี จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง เช่นนี้ น่าจะถือได้ว่าเป็นการบรรยายคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อาจมีมุมมองว่าควรจะคำนึงถึงความสูญเสียของเจ้าของที่ดิน จึงต้องพยายามเข้มงวดกับจำเลย แต่ก็มีแง่คิดทางกฎหมายว่าการที่เจ้าของที่ดินปล่อยปละละเลยไม่เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งเป็นผลเสียแก่ประเทศโดยรวม ผู้ร่างกฎหมายจึงร่างกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1375 ไว้ ประกอบกับข้อเท็จจริงที่ทราบกันอยู่ว่าที่ดินส่วนใหญ่ตกอยู่กับนายทุนเป็นส่วนมาก ดังจะเห็นว่ามีที่ดินปล่อยว่างทิ้งไว้โดยมิได้ทำประโยชน์เป็นจำนวนมาก เมื่อมีคนเข้าทำประโยชน์นานถึง 1 ปี แล้วก็มิได้โต้แย้ง นับว่าเป็นเวลานานพอสมควรที่น่าจะเปลี่ยนผู้เป็นเจ้าของในกรณีที่เป็นที่ดินมือเปล่า
ที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ พ. ไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปขายให้แก่จำเลย แม้จำเลยจะรับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและครอบครองที่ดินก็ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดิน เนื่องจากจำเลยผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่า พ. ผู้โอนก็สืบเนื่องมาจากศาลไม่วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองภายใน 1 ปี หรือไม่ หากวินิจฉัยให้ก็ต้องดูว่าจำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์มาเกิน 1 ปี หรือไม่ ถ้าเกินก็ต้องยกฟ้องโจทก์
สำหรับระยะเวลาฟ้องเรียกคืนการครอบครองภายใน 1 ปี นี้ เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี จึงเป็นระยะเวลาให้สิทธิฟ้องคืนการครอบครองที่ดินมือเปล่าไม่ใช่เรื่องอายุความ เพราะอายุความเป็นเรื่องขณะฟ้องสิทธิเรียกร้องยังมีอยู่แต่ไม่ได้ใช้สิทธิภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงอายุความ ห้ามมิให้ฟ้อง ส่วนสิทธิในการฟ้องร้องว่าโจทก์จะมีสิทธิหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2527)
การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินและเข้าครอบครองนั้น ถือเป็นการแย่งการครอบครองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2493 น. เอาที่ดินของโจทก์ไปจดทะเบียนโอนขายให้แก่ พ. โดยโจทก์ไม่รู้ พ. ซื้อไว้โดยไม่สุจริตและเห็นว่าโจทก์ไม่รู้ถึงการซื้อขายดังกล่าว ต่อมา ป. เข้าไปปลูกบ้าน โจทก์ยื่นฟ้องในเดือนเดียวกัน จึงฟ้องภายใน 1 ปี (การที่ ป. เข้าไปปลูกบ้านถือได้ว่าแย่งการครอบครอง)
การที่มีผู้บุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของผู้อื่นไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามย่อมถือได้ว่าเจ้าของที่ดินถูกแย่งการครอบครองแล้ว แม้ผู้บุกรุกซึ่งต่อมาถูกฟ้องเป็นจำเลยจะให้การว่าเป็นเจ้าของที่ดินก็ตาม คำให้การดังกล่าวก็มีความหมายในลักษณะที่เป็นต้นเหตุแห่งการใช้สิทธิเข้าแย่งการครอบครองนั่นเอง มิได้หมายความว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่ไม่สามารถแย่งการครอบครองที่ดินของตนได้ แต่ถ้าหากจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินโดยบุกเบิกถางป่าแล้วได้ครอบครองที่ดินตลอดมา เช่นนี้ย่อมถือเป็นการที่จำเลยยืนยันมาแต่แรกว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินมาแต่ดั้งเดิม มิได้แย่งการครอบครองมาจากบุคคลใด ซึ่งหากเป็นคำให้การในลักษณะนี้แม้จำเลยจะให้การอีกว่า จำเลยได้แย่งการครอบครองจากโจทก์เกินกว่า 1 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนจฟ้อง ก็ถือได้ว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ ผลจึงต่างกัน เว้นแต่จำเลยจะให้การด้วยว่า จำเลยครอบครองที่ดินส่วนที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์ด้วย เช่นนี้หากจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองเกิน 1 ปี ก็เป็นคำให้การที่ชอบเมื่อในคดีนี้ จำเลยให้การว่า จำเลยซื้อที่ดินมาแล้วเข้าครอบครอง แม้จะระบุด้วยว่าเป็นเจ้าของที่ดิน แต่ก็มีหมายความเพียงว่าเป็นเจ้าของจากการซื้อมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้สิทธิเข้าแย่งการครอบครอง มิได้หมายความว่าครอบครองที่ดินมาแต่เดิมแต่อย่างใด

author avatar
PongrapatLawfirm