ทนายความคดีแรงงาน ปรึกษากฎหมาย นายจ้าง ลูกจ้าง
หนังสือเตือน ถือเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่งและยังมีผลต่อเรื่องของการจ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานอีกด้วย
แต่หนังสือเตือนที่จะเป็นหนังสือเตือนที่ถูกต้อง ถูกกฎหมายนั้น มีรายละเอียดที่อ่อนไหวพอสมควรครับ กระดาษเอ 4 เพียงแผ่นเดียว อาจทำให้นายจ้างต้องเสียเงินเป็นหมื่น เป็นแสนเป็นล้านได้ หากปฏิบัติต่อหนังสือเตือนไม่ถูกต้อง
ต้องเตือนในเรื่องเดียวกัน หากลูกจ้างของท่านถูกใบเตือน 20 ฉบับ แต่แต่ละฉบับไม่ใช่ความผิดเรื่องเดียวกันเลย นายจ้างก็ไม่สามารถเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
ต้องเตือนเจาะจงตัวลูกจ้าง การประกาศเตือนลูกจ้างทั่วไป แม้จะระบุไปด้วยว่า นายโหด เฮี้ยมเกรียม เสพยาเสพติดในห้องน้ำ จึงได้ลงโทษล้างห้องน้ำเป็นเวลา 5 วัน พนักงานคนอื่นจงดูไว้เป็นเยี่ยงอย่าง ประกาศนี้ ไม่ใช่หนังสือเตือน
ต้องมีข้อความจากฝ่ายนายจ้างห้ามกระทำซ้ำอีก ลำพังข้อความรับสารภาพของลูกจ้างว่าผมผิดไปแล้ว จะไม่ทำอีก ไม่ทำให้หนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือเตือน
ต้องเป็นหนังสือที่ออกโดยนายจ้าง ลำพังหนังสือของลูกจ้างที่มีใจความว่ารับทราบการลงโทษ ไม่ใช่หนังสือเตือน
ต้องเป็นนายจ้างที่มีอำนาจตักเตือน ผู้มีอำนาจในการเตือน ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของบริษัท กรรมการบริษัท หัวหน้าแผนกทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น บุคคลอื่น แม้จะมีอำนาจเหนือบุคคลที่ว่ามานี้บางคนก็ไม่มีอำนาจเตือน ยกตัวอย่างเช่น ภริยาของเจ้าของบริษัท เป็นต้น
ต้องมีข้อความระบุถึงการตักเตือน แม้ว่าหัวกระดาษจะระบุว่าเป็นหนังสือเตือน แต่เนื้อหาไม่มีตรงไหนบอกว่าตักเตือนเลย ก็ไม่ใช่หนังสือเตือนครับ
ถ้าหนังสือเตือนใบแรกเขียนว่า “หากตักเตือนครบ 5 ครั้งแล้วยังไม่เชื่อฟัง จะลงโทษสถานหนัก” หากมีการเตือนเพียง 2 ครั้งแล้วลงโทษสถานหนักเลย ก็ไม่เป็นการผิดคำเตือนตามที่ระบุไว้ในหนังสือเตือน
การที่ลูกจ้างไม่ลงชื่อรับทราบหนังสือเตือน ไม่เป็นการผิดระเบียบ และตามกฎหมายแล้ว หนังสือเตือนฉบับนั้นก็มีผลใช้บังคับแล้ว (แต่อาจพิสูจน์ยากในชั้นศาล)
ตามระเบียบของบริษัท ต้องออกหนังสือเตือนกี่ครั้ง ก็ต้องออกให้ครบตามนั้น หากระเบียบเขียนว่า ต้องตักเตือนด้วยวาจา 1 ครั้ง และออกหนังสือเตือน 3 ครั้ง แต่เอาเข้าจริง ออกหนังสือเตือนฉบับเดียวแล้วเลิกจ้างเลย แบบนี้ หนังสือเตือนนี้ก็ไม่มีผลครับ
ต้องระบุให้ชัดเจนว่าต้องการตักเตือนเรื่องอะไร ถ้าความผิดใดไม่ได้เขียนไว้ใน
หนังสือเตือน จะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างแล้วไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้
สำนักงานกฎหมายพงษ์รพัตร์ทนายความ
โทรหาผมทนายพัตร์
Tel :