ปรึกษาทนาย-คดีลักทรัพย์-คดีฉ้อโกง-รับของโจร-ฟ้องคดี

ทนายความคดีลักทรัพย์คดีฉ้อโกง

ทนายความคดีลักทรัพย์คดีฉ้อโกง

 

– ฎีกา 682/42 (ประชุมใหญ่) ออกสอบเนฯแล้วครับ วินิจฉัยเปรียบเทียบความเเตกต่างไว้ดังนี้

– การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง

– การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายเปลี่ยนเอาป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะ ของกลางซึ่งติดราคา 1,785 บาท ออก แล้วนำป้ายราคาโคมไฟอื่นซึ่งติดราคา 134 บาท มาติดแทน แล้วมอบให้พวกของจำเลยนำไปชำระราคาแก่พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหาย มิใช่จำเลยเอาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางไปโดยพลการโดยทุจริต จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากแต่เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า ราคาโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางมีราคา 134 บาท พนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายหลงเชื่อยินยอมมอบโคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้ จำเลย โดยรับเงินจากจำเลยไว้เพียง 134 บาท การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จอยู่ในตัว และจำเลยกระทำโดยมีเจตนาหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายให้ยินยอมมอบ โคมไฟตั้งโต๊ะของกลางให้จำเลยแล้ว จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่จำเลยไม่มีเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จไม่

– สรุปตามฎีกานี้ ถ้าเป็นการได้ทรัพย์ไปเพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากถูกหลอกลวง ไม่ผิดลักทรัพย์แต่ผิดฉ้อโกง

– ผมเห็นด้วยหลักเกณฑ์ตามแนวฎีกานี้ครับ เพราะ 1. ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการทำร้ายการครองครอง และ 2. เป็นการทำร้ายกรรมสิทธิ์ โดยการเอาทรัพย์ไปลักษณะตัดกรรมสิทธิ์

– ดังนั้น ถ้าเป็นการหลอกลวงให้ผู้อื่นยินยอมมอบทรัพย์ให้ตน ตนเองก็เป็นผู้มีการครอบครองทรัพย์นั้น (ไม่ใช่เพียงยึดถือแทน) แล้วผู้ครอบครองทรัพย์ เอาทรัพย์ไปจะผิดลักทรัพย์ได้อย่างไรครับ

– ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องไม่ใช่ผู้ซึ่งครอบครองทรัพย์นั้น ดังเช่นกรณีเจ้าของรวมครอบครองกรรมสิทธิ์รวมแล้วเอาทรัพย์ไป ย่อมไม่ผิดลักทรัพย์ เพราะการครองครองอยู่กับตนเองในขณะที่เอาทรัพย์ไป แต่ผิดยักยอก แต่ถ้าเจ้าของรวมผู้นั้นมิได้ครอบครองกรรมสิทธิ์รวม แล้วเอาทรัพย์นั้นไปลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ เช่นนี้ผิดลักทรัพย์ ตามฎีกาที่554/2509 จำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียงและสิบตำรวจเอกเหมกลับจากงานบวชนาคด้วยกันเมื่อไป ถึงทุ่งนาสิบตำรวจโทสำเนียงบอกว่าจะไปถ่ายเพราะปวดท้องจึงมอบปืนไว้กับสิบ ตำรวจเอกเหมแล้วสิบตำรวจโทสำเนียงก็เดินไปโดยจำเลยเดินตามไปด้วยสิบตำรวจเอก เหมไปคุยอยู่กับพรรคพวกจำเลยได้กลับมาหาสิบตำรวจเอกเหมและเอาความเท็จบอกว่า สิบตำรวจโทสำเนียงให้มาเอาปืนจะไปธุระ สิบตำรวจเอกเหมเห็นว่าจำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียงเจ้าของปืนเป็นเพื่อนกัน จึงหลงเชื่อตามคำหลอกลวงของจำเลยและมอบปืนให้จำเลยไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงอยู่ในลักษณะที่เห็นได้ว่าจำเลยหลอกลวงให้สิบตำรวจเอก เหมหลงเชื่อจนได้ปืนไปจากสิบตำรวจเอกเหมผู้ถูกหลอกลวง ฉะนั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

– คำพิพากษาฎีกาที่ 1004/2499 หัวผักกาดที่เจ้าทรัพย์มอบให้บุคคลอื่นครอบครอง บุคคลอื่นยินยอมให้จำเลยเอาไปได้โดยดี เพราะหลงเชื่อในถ้อยคำของจำเลยที่อ้างว่าเจ้าของให้มาเอาไปขายและหลงเชื่อใน อาการที่จำเลยเป็นคนมาติดต่อขอซื้อและจำเลยเป็นคนพูดจาฝากหัวผักกาดเหล่า นั้นไว้ โดยผู้ครอบครองมิได้รู้ถึงความจริงว่าหัวผักกาดเหล่านั้นเป็นของผู้ใดกันแน่ กรณีเช่นนี้จะเป็นความผิดอาญา ก็เป็นเรื่องฉ้อโกง หาใช่ฐานลักทรัพย์ไม่ / ฟ้องว่าลักทรัพย์พิจารณาได้ความว่ากระทำผิดฐานฉ้อโกงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อาญา ม.192

– คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2507 การที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายและภริยานั้น มิใช่เพื่อให้ผู้เสียหายและภริยายอมส่งมอบโคให้จำเลย หากเป็นแต่เพียงอุบายในการที่ จำเลยจะพาโคไปได้แนบเนียนขึ้นเท่านั้น การที่จำเลยเอาโคไป หาใช่ผลโดยตรงจากการหลอกลวงไม่ จำเลยจึงมีผิดฐานลักทรัพย์ หาผิดฐานฉ้อโกงไม่

– คำพิพากษาฎีกาที่ 2581/2529 จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันที่บ้านผู้เสียหาย เสร็จแล้วภริยาผู้เสียหายขอเงินค่าน้ำมัน จำเลยที่ 2 กลับตอบว่าไม่มีเงิน มีแต่ไอ้นี่เอาไหม ขณะพูดจำเลยที่ 2 ถือลูกกลม ๆ ซึ่งภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิดแล้วจำเลยทั้งสองก็ขี่รถ จักรยานยนต์ออกไป เมื่อลูกกลม ๆ ที่จำเลยที่ 2 ถือ ฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดหรือไม่ การที่จำเลยที่ 2 บอกภริยาผู้เสียหายเมื่อถูกทวงให้ชำระราคาน้ำมัน จึงเป็นการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหาย เพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์ โดยไม่ชำระราคาเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ (ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ กล่าวในวรรคท้ายของบันทึกท้าย ฎ.2581/2529 มีความตอนหนึ่งว่า ” ลักทรัพย์เป็นการเอาทรัพย์ไปโดยเจ้าของไม่ยินยอม ความยินยอมนั้นถือว่าไม่มีหากเกิดขึ้นโดยการขู่ หลอกลวงหรือสำคัญผิด หลักนี้ถึงกับบัญญัติในประมวลกฎหมายอินเดีย ที่อังกฤษทำให้และใช้อยู่จนทุกวันนี้ ฉะนั้นการขู่เอาทรัพย์ไป เจ้าของส่งให้ จึงเป็นชิงทรัพย์ หลอกเอาทรัพย์ไปได้เป็นฉ้อโกง ได้ทรัพย์ที่ส่งให้โดยสำคัญผิดเป็นกึ่งยักยอกตาม ม.352 วรรคสอง เมื่อการฉ้อโกงตาม ม.341 เป็นการได้ทรัพย์ไปโดยการหลอกลวงเอากรรมสิทธิ์ จึงไม่เป็นลักทรัพย์ เพราะ กม.บัญญัติโดยเฉพาะแยกออกไปจากลักทรัพย์ จะเป็นลักทรัพย์อยู่อีกไม่ได้ แต่การหลอกเอาการครอบครองไม่เป็นฉ้อโกง จึงยังคงเป็นลักทรัพย์อยู่ตามเดิม เพราะไม่ถือเป็นการได้ทรัพย์ไป โดยเจ้าทรัพย์ยินยอม โดยหลอกให้เขาส่งการครอบครองมา แต่ไม่ถึงกับฉ้อโกง เพราะไม่ใช่ได้ไปอย่างหลอกเอากรรมสิทธิ์ ยังคงเป็นลักทรัพย์ที่เรียกว่าลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย เหตุผลเหล่านี้คงช่วยให้เข้าใจการลักทรัพย์ โดยกลอุบายและความแตกต่างระหว่างหลอกในลักทรัพย์ และในฉ้อโกงได้บ้าง”) / (คำพิพากษาฎีกาที่ 2581/2529 มีข้อเท็จจริงคล้ายกัน และควรเปรียบเทียบกับ คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2530 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ‘ข้อเท็จจริงฟังยุติว่าในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยได้ไปเติมน้ำมันใส่ถังในรถยนต์ ซึ่งจำเลยขับจากปั๊มของผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้ชำระเงินค่าน้ำมัน 256 บาท แก่ผู้เสียหายจริง ปัญหามีว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ พยานโจทก์ที่รู้เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดโดยตลอด คือนายทวี หนูขาว คนเติมน้ำมันให้จำเลย นายทวีเบิกความว่าจำเลยสั่งให้เติมน้ำมัน 300 บาท แต่เมื่อเติมไปได้เป็นเงิน 256 บาท ปรากฏว่าน้ำมันจะเต็มถัง พยานจึงชะลอการไหลของน้ำมันลง ขณะนั้นพยานยังถือหัวเติมน้ำมัน อยู่ที่ปากท่อของถังน้ำมัน จำเลยได้พูดว่า ไม่มีเงิน เดี๋ยวจะเอามาให้ พยานจึงบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน แต่จำเลยได้ขับรถออกไปทันที ขณะเติมน้ำมัน จำเลยไม่ได้ดับเครื่องยนต์รถ และฝาปิดถังน้ำมันไม่มี โดยใช้ผ้าอุดไว้แทน เห็นว่าพฤติการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้วางแผนการไว้ เพื่อจะไม่ชำระเงินค่าน้ำมัน เมื่อได้น้ำมันมาแล้ว โดยจะรีบหนีไป อันเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ ส่วนที่นายทวีเบิกความว่าระหว่างเติมน้ำมัน เห็นจำเลยทำท่าค้นหาของในกระเป๋ากางเกงและกระเป๋าเสื้อก็อาจเป็นอุบายประกอบ ที่จำเลยจะหลอกนายทวีว่าหาเงินไม่พบเพื่อจะยังไม่ต้องชำระค่าน้ำมันหากจำเลย ประสงค์จะเข้าไปซื้อน้ำมันโดยสุจริตใจและทำเงินหายไปจริง จำเลยก็น่าจะได้พูดจากับผู้เสียหายให้รู้เรื่องเป็นหลักเป็นฐาน แต่ตรงกันข้ามทั้ง ๆ ที่นายทวีบอกว่าต้องไปบอกผู้เสียหายก่อน จำเลยกลับขับรถออกไปโดยเร็ว จนกระทั่งนายทวีตกตะลึง นายสมชายคนงานผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ใกล้ ๆ กันนั้นเบิกความว่า นายทวีได้ร้องว่ารถเติมน้ำมันแล้วหนี เช่นนี้ มิใช่ลักษณะอาการของผู้ที่สุจริต เมื่อจำเลยถูกจับแล้ว ผู้เสียหายไปดูที่รถจำเลย ปรากฏว่าฝาปิดถังน้ำมันอยู่ในกระบะรถนั่นเอง และจำเลยพูดขอร้องมิให้ผู้เสียหายเอาความผิด จะชดใช้ค่าเสียหายให้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เตรียมการไว้พร้อม แม้กระทั่งเปิดฝาถังน้ำมันไว้เพื่อจะให้หนีไปได้โดยเร็ว เมื่อได้น้ำมันแล้ว ไม่ต้องพะวงเรื่องฝาถังน้ำมัน ที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าตนไม่มีเจตนาทุจริตนั้น มีเพียงคำจำเลยเพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ ไม่มีน้ำหนัก เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นดังวินิจฉัยมาแล้วเห็นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น ที่จะลักเอาน้ำมันของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามฟ้อง)

– คำพิพากษาฎีกาที่ 3624/2530 จำเลยขายสร้อยให้ผู้เสียหาย 4 เส้นในราคา 100 บาทเศษ แต่จำเลยกลับหยิบธนบัตรฉบับละ 500 บาทจำนวน 1 ฉบับ จากในกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหายไป โดยพลการในทันทีที่ผู้เสียหายเปิดกระเป๋าสตางค์ ซึ่งผู้เสียหายยังมิทันได้หยิบธนบัตรดังกล่าวส่งให้จำเลย แล้วจำเลยก็หลบหนีไปเช่นนี้ การกระทำของจำเลย มิใช่เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง หรือเข้าใจผิด เพราะสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่องแต่อย่างไร การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จำเลยจึงมีความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 3162/2536 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของธนาคาร จำเลยที่ 2 เดิมเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ ได้โอนบัญชีเงินฝากดังกล่าว ซึ่งมีเงินต้น 12,015.66 บาท และดอกเบี้ย 39.82 บาท ไปฝากต่อที่สาขาพะเยา จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2 เปิดบัญชีได้ และจำเลยที่ 1 ได้บันทึกรายการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากเงินต้น 12,015.66 บาท และดอกเบี้ย 398,200 บาท มากกว่าความเป็นจริง ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 200,000 บาท และต่อมาถอนอีก 202,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุมัติ จำเลยทั้งสองหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อ ว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากในบัญชีคือดอกเบี้ย มากกว่าความเป็นจริง มิใช่เป็นการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 5344/2540 (สบฎ สต 286) ((คดีประกันภัย) ผู้เช่าไม่มีเจตนาเช่ารถ แต่เข้าทำสัญญาเช่า เพื่อเอาทรัพย์ เป็นการลักโดยใช้กลอุบาย) กรมธรรม์ประกันภัยยกเว้น ไม่ใช้ค่าเสียหายกรณีสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ หรือยักยอกทรัพย์โดยบุคคลที่ครอบครองรถยนต์ตามสัญญา การที่ ท. และ ข. ลักรถยนต์โดยใช้กลอุบายทำสัญญาเช่าเช่นนี้ จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องรับผิด

– คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542 (สบฎ สต 96) การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไป เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากลูกหลอกลวง (เปลี่ยนป้ายราคาสินค้า เพื่อชำระค่าสินค้าน้อยลง)

– คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2547 จำเลยบอกขายถังน้ำมันของกลาง ซึ่งวางอยู่ในที่ดินของผู้อื่นให้แก่ผู้ซื้อ โดยแจ้งแก่ผู้ซื้อว่าถังน้ำมันของกลางเป็นของจำเลย แต่ความจริงเป็นของผู้เสียหาย ผู้ซื้อตกลงซื้อถังน้ำมันของกลางแล้วได้ว่าจ้าง ส. ให้ขนถังน้ำมันของกลางไปไว้ที่สถานีบริการน้ำมันของผู้ซื้อ หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงชำระราคาให้แก่จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ (จำเลยผิดลักทรัพย์ต่อเจ้าของทรัพย์ และผิดฉ้อโกงต่อผู้ซื้อทรัพย์)

– ประเด็นเปรียบเทียบ ความผิดลักทรัพย์โดยใช้อุบาย กับฉ้อโกง

– ความผิดข้อหาลักทรัพย์โดยใช้อุบาย เป็นการหลอกให้ส่งมอบ การยึดถือ ให้แก่ผู้กระทำผิด

– ความผิดข้อหาฉ้อโกง เป็นการหลอกให้ส่งมอบ การครอบครอง หรือกรรมสิทธิ์ ให้แก่ผู้กระทำผิด

– คำพิพากษาฎีกาที่ 1463/2503 จำเลยตั้งใจจะลักรถจักรยานจึงวางวิธีการทำอุบาย ลอบหยิบบัตรคู่หนึ่งของเจ้าของร้าน แล้วเอาบัตรนั้นใบหนึ่งไปแขวนไว้ ที่รถจักรยานโดยเอาบัตรเลขอื่นที่แขวนอยู่เดิมออกเสีย แล้วต่อมาก็เอาบัตรคู่กันอีกใบหนึ่งมาขอรับรถจักรยาน เขาไม่ยอมให้ จำเลยกล่าวเท็จว่า เพื่อนให้เอาบัตรมารับรถเพราะเปลี่ยนกันขี่ ผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ไม่ใช่ฉ้อโกง (เจ้าของรถจักรยาน ยังอยู่ในบริเวณงานนั้น เพียงแต่มอบการยึดถือดูแลทรัพย์ให้แก่เจ้าของร้าน จำเลยหลอกเจ้าของร้าน ได้แต่เพียงการยึดถือ ไม่ใช่ได้สิทธิครอบครองไปจากเจ้าของร้านผู้ดูแลทรัพย์ จึงเป็นลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย ไม่ใช่ฉ้อโกง)

– คำพิพากษาฎีกาที่ 848/2507 จำเลยได้เสียกับบุตรสาวของผู้เสียหาย จำเลยจึงนำโคไปอ้าง ว่าจะนำไปให้กินน้ำ แล้วก็นำโคไปขายเสีย การที่จำเลยใช้อุบายหลอกลวงผู้เสียหายและภริยานั้น มิใช่เพื่อให้ผู้เสียหายและภริยายอมส่งมอบโคให้จำเลย หากเป็นแต่เพียงอุบายในการพาโคไปได้แนบเนียนขึ้นเท่านั้น หาใช่ผลโดย ตรงจากการหลอกลวงไม่ จำเลยจึงมีผิดฐานลักทรัพย์ หาผิดฐานฉ้อโกงไม่

– คำพิพากษาฎีกาที่ 554/2509 จำเลยกับสิบตำรวจโทสำเนียง และสิบตำรวจเอกเหม กลับจากงานบวช ถึงทุ่งนา สิบตำรวจโทสำเนียงบอกว่าจะไปถ่าย จึงมอบปืนไว้กับสิบตำรวจเอกเหม แล้วสิบตำรวจโทสำเนียง ก็เดินไปโดยจำเลยเดินตามไปด้วย สิบตำรวจเอกเหมไปคุยอยู่กับพรรคพวก จำเลยได้กลับมาหาสิบตำรวจเอกเหม และเอาความเท็จบอกว่าสิบตำรวจโทสำเนียงให้มาเอาปืนจะไปธุระ สิบตำรวจเอกเหม เห็นว่า จำเลยกับเจ้าของปืนเป็นเพื่อนกัน จึงหลงเชื่อและมอบปืนให้จำเลยไป ผิดฐานฉ้อโกงตาม มาตรา 341 (สิบตำรวจโทสำเนียงเจ้าของปืน มอบการครอบครองดูแลให้แก่สิบตำรวจเอกเหม ไม่ใช่เพียงแต่มอบการยึดถือดูแลทรัพย์ จำเลยหลอกสิบตำรวจเอกเหม เป็นการหลอกให้ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองจากสิบตำรวจเอกเหม ไม่ใช่ได้แต่เพียงการยึดถือ จึงเป็นฉ้อโกง)

– คำพิพากษาฎีกาที่ 321/2510 (สบฎ เน 1531) เรียกเอาเงินและทองมาใส่ย่ามของตน เพื่อทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ แอบล้วงเอาไปผิด ลักทรัพย์ มาตรา 334 เพราะเจ้าของไม่ได้สละการครอบครองให้จำเลย เขาเพียงแต่ให้ยึดถือไว้ชั่วคราว

– คำพิพากษาฎีกาที่ ป 2600/2516 จำเลยลูกจ้างของ ส. ได้หลอกลวง ป. ให้ หลงเชื่อว่า ทางอู่ของ ส. ให้จำเลยมาขอรับเงิน 5,000 บาท เพื่อไป ซื้อเครื่องอะไหล่ในการซ่อมรถ ป. จึงมอบเงินให้จำเลยไป ดังนี้การกระทำ ของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง

– คำพิพากษาฎีกาที่ 226-7/2521 (สบฎ เน 5632) จำเลยปลอมลายมือชื่อผู้อื่นเบิกเงินจากธนาคาร เปลี่ยนเงินเป็น แคชเชียร์เช็ค แล้วปลอมลายมือชื่อสลักหลังเช็คเข้าบัญชีของจำเลย เป็นฉ้อโกง ไม่ใช่ลักทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 3150/2522 ใช้อุบายเอาทรัพย์ของเขาไป โดยเขาไม่รู้ตัว ขณะเขายังครอบครองยึดถือธนบัตรนั้นอยู่ โดยเขาไม่ได้ส่งมอบให้ เป็นลักทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 2581/2529 จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันที่บ้านผู้เสียหาย เสร็จแล้ว ภริยาผู้เสียหายขอเงินค่าน้ำมัน จำเลยที่ 2 กลับตอบว่าไม่มีเงิน มีแต่ไอ้นี่เอาไหม ขณะพูดจำเลยที่ 2 ถือลูกกลม ๆ ซึ่งภริยาผู้เสียหายเข้าใจว่าเป็นลูกระเบิด แล้วจำเลยทั้งสองก็ขี่รถจักรยานยนต์ออกไป เมื่อลูกกลม ๆ ที่จำเลยที่ 2 ถือ ฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดหรือไม่ การที่จำเลยที่ 2 บอกภริยาผู้เสียหายเมื่อถูกทวงให้ชำระราคาน้ำมัน จึงเป็นการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหาย เพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์ โดยไม่ชำระราคาเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ / โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. ม.334, 335, 339, 340, 340 ตรี ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง ศาลลงโทษตาม ม.341 ได้

– คำพิพากษาฎีกาที่ 26172529 จำเลยเป็นพนักงานลักสมุดเช็ค กรอกข้อความลงในบัญชีจ่ายเช็คว่าจ่ายให้ ม. ลูกค้าของโจทก์ร่วม และมอบเช็คให้บุคคลอื่นไปกรอกวันเดือนปีจำนวนเงิน ปลอมลายมือชื่อ ม. ผู้สั่งจ่าย แล้วนำไปขึ้นเงิน ผิดตามมาตรา 335 (11) 2 กระทง และเป็นตัวการร่วมกับผู้อื่นใช้ตั๋วเงินปลอมและฉ้อโกงโจทก์ร่วม สำหรับเช็คแต่ละฉบับ ม 268 ว 1 + ม 264, 266 (4), และ ม 341

– คำพิพากษาฎีกาที่ 611/2530 (สบฎ เน 104) จำเลยขับรถเข้าไปเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมันของผู้เสียหายเมื่อเติม น้ำมันเกือบจะเต็มถัง จำเลยพูดว่าไม่มีเงินเดี๋ยวจะเอามาให้ แล้วจำเลยได้ ขับรถออกไปทันที เป็นการวางแผนการไว้ เพื่อจะไม่ชำระเงิน อันเป็นอุบายในการที่จะทำให้ลักทรัพย์สำเร็จ และจำเลยมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น ผิดฐานลักทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 191/2532 (สบฎ เน 97) จำเลยขออนุญาตเอาพระพุทธรูปบูชาของผู้เสียหาย ลงไปดูกลาแสงแดดที่พื้นดินหน้าบ้าน แล้วอุ้มพระพุทธรูปวิ่งหนีไป ขึ้นรถยนต์ปิกอัพซึ่งพวกของจำเลยจอดรออยู่ โดยมีการวางแผนเตรียมการมาก่อน ไม่เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ เพราะไม่ได้ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า คงเป็นความผิดตาม มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบด้วย มาตรา 336 ทวิ

– คำพิพากษาฎีกาที่ 1567/2535 จำเลยเป็นพนักงานของธนาคาร ก. ลักเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม ของธนาคาร ก. นายจ้าง แล้วนำไปเข้าเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติของธนาคาร ก. กดเบิกเงินไปจำนวน 5,000 บาท แม้จำเลยจะมีความประสงค์เพื่อเอาบัตรเงินสดทันใจ เอ.ที.เอ็ม. ที่ลักมาไปกดเบิกเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ แต่ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจากธนาคาร ก. นายจ้างเป็นคนละประเภทกัน การกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกระทงลงโทษจำเลยได้ การกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

– คำพิพากษาฎีกาที่ 671/2539 จำเลยอาสานำบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหาย ไปตรวจสอบยอดเงินในบัญชีเงินฝาก แต่กลับนำบัตรไปเบิกถอนเงินจากตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารไป ถือว่าจำเลยหลอกเอาบัตรบริการเงินด่วนของผู้เสียหายไป เพื่อเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของผู้เสียหายจากตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคาร เงินที่เบิกถอนนั้นเป็นของผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงเงินของผู้เสียหาย แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลก็ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม

– คำพิพากษาฎีกาที่ 613/2540 (จำเลยปลอมลายมือชื่อของเจ้าของบัญชีเงินฝาก ในคำขอใช้บริการบัตร เอ.ที.เอ็ม. ต่อมาจำเลยได้ลักบัตรไปถอนเงินจากธนาคาร เป็นการลักเงินของธนาคาร ไม่ใช่ของผู้ฝากเงิน ธนาคารเป็นผู้เสียหาย (ใน 335 , 365 และ 368)) โจทก์ร่วมเป็นผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพ ตามมาตรา 672 เงินที่ฝากไว้ย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วม ผิดลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้าง ตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) 17 กระทง (ลักบัตร เอทีเอ็ม 1 ครั้ง ถอนเงิน 16 ครั้ง) และ มาตรา 264 และ 268 อีกกระทงหนึ่ง

– คำพิพากษาฎีกาที่ 5449/2540 (สบฎ เน 40) จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหาย เก็บเงินจากลูกค้า แล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งควยามต่อพนักงานสอบสวนว่า มีคนร้ายใช้อาวุธปืน และมีด จี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสี่ยหายข และบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จ ด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลย และแจ้งข้อความเท้จแก่พนักงานสอบสวน ว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

– คำพิพากษาฎีกาที่ 496-7/2542 (สบฎ สต 113) จำเลยได้ แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คให้น้อยลง จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม จำเลยได้ทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด และเช็คที่แท้จริง ผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่น จำเลยได้เบียดบังเงินฝากของโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคาร ต้องรับโทษหนัก ตาม ม 354

– คำพิพากษาฎีกาที่ 6892/2542 (สบฎ สต 96) ความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยพลการ โดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์ไป เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้เนื่องจากลูกหลอกลวง การที่จำเลยเปลี่ยนเอา ป้ายราคาโคมไฟตั้งโต๊ะ นำป้ายราคาโคมไฟอื่นมาติดแทน เป็นการหลอกลวงพนักงานเก็บเงินของผู้เสียหายโดยทุจริต ผิดฉ้อโกง

– คำพิพากษาฎีกาที่ 7264/2542 (สบฎ สต 98) การลอบทำรายการถอนเงินอันเป็นเท็จ โดยไม่มีการถอนเงินจริง เชื่อได้ว่าผู้กระทำเช่นนี้กระทำเพื่อเอาเงินของผู้เสียหาย โดยทำรายการถอนพรางไว้ จำเลยเป็นผู้เอาเงินของผู้เสียหายไป โดยมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้เพียงชั่วระยะเวลาทำการ ผู้เสียหายได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ จึงผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2546 จำเลยทั้งสามกับ ย. ทำทีขอซื้อผ้าจากโจทก์ร่วม โดยหลอกให้โจทก์ร่วมขนผ้าขึ้นรถแล้วบอกว่าจะชำระค่าผ้าก่อน 20,000 บาท ส่วนที่เหลือให้ตามไปเก็บจาก ย. เมื่อบุตรสาวของโจทก์ร่วมร้องไห้ภริยาของโจทก์ร่วมเข้าไปดูแลบุตรสาวภายใน ร้าน จำเลยทั้งสามกับ ย. ก็พากันนำรถบรรทุกผ้าออกไปจากร้านทันที จำเลยทั้งสามกับ ย. มีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจะซื้อผ้ามาแต่ต้น ด้วยการวางแผนการเป็นขั้นตอน และไม่มีเจตนาจะใช้ราคาผ้าเลย จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341,83 มิใช่ลักทรัพย์ดังที่โจทก์ฟ้อง

 

 

 

 

author avatar
PongrapatLawfirm