ในการฟ้องคดีหมิ่นประมาท ในกรณีที่ไม่ได้ระบุชื่อ
ผมทนายพัตร์ วันนี้จะอธิบายเรื่อง วิธีการฟ้องคดีหมิ่นประมาท กรณีที่มีการกล่าวข้อความที่ไม่ได้ระบุชื่อ และเกิดความเสียหายขึ้น จะมีหลายกรณีที่ จำเลยมิได้ ระบุโดยตรง แต่มีการ Tag หรือ กล่าวถึง การตอบกลับ ซึ่ง ในเฟสบุ๊ค จะมีขึ้น ชื่อโปรไฟล์ดังกล่าว ซึ่งจะพบในชื่อโปรไฟล์ดังกล่าว หากข้อความมีข้อความที่หมิ่นประมาท ก็สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพื่อฟ้องคดีหมิ่นประมาทได้ครับ ซึ่งตรงนี้ ผมยินดีช่วยเหลือในการให้คำปรึกษาต่าง ๆ และในการฟ้องคดี
ติดต่อทนายพัตร์
ในส่วนการสู้คดีหมิ่นประมาท ก็จะมีรายละเอียดเช่นกันครับ
ข้อความกับภาพเคลื่อนไหวและเสียงการสนทนาที่จำเลยลงในเฟสบุ๊กไม่อาจทราบได้ว่าเป็นโจทก์ร่วม หากต้องการรู้ก็ต้องสืบเสาะและไม่แน่ว่าจะเป็นโจทก์ร่วมจริงหรือไม่ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเสียค่าขึ้นศาลตามคำร้องขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควรหรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433 / 2565
ข้อความกับภาพเคลื่อนไหวและเสียงการสนทนาที่จำเลยลงในเฟสบุ๊กของจำเลยไม่มีข้อความใดเลยที่ระบุชื่อและชื่อสกุลจริงของโจทก์ร่วมหรือมีข้อความใดที่พอจะให้ทราบได้ว่าเป็นโจทก์ร่วม หากบุคคลทั่วไปต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติม และไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้ว จะเป็นตัวโจทก์ร่วมจริงหรือไม่ การที่ อ. นำข้อความกับภาพเคลื่อนไหวและเสียงการสนทนาที่จำเลยลงในเฟสบุ๊กมารวมเข้าด้วยกันแล้วสรุปว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม เป็นเพียงความเข้าใจของ อ. หาใช่เป็นความเข้าใจของบุคคลทั่วไปไม่ ลำพังเพียงข้อความกับภาพเคลื่อนไหวและเสียงการสนทนาที่ปรากฏในเฟสบุ๊กของจำเลยไม่เป็นข้อความที่จะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 328
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเสียค่าขึ้นศาลตามคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เฉพาะส่วนทุนทรัพย์ที่เกินกว่า 1,000,000 บาท โจทก์ร่วมอุทธรณ์และฎีกาขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม 400,000 บาท ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนสูงเกินสมควรหรือดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ดังนี้ โจทก์ร่วมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 253 วรรคหนึ่ง