ปรึกษากฎหมาย-ทนายความ-ฟ้องคดี

ข้อแนะนำ ทนายความ

ข้อแนะนำ ทนายความ   

            ที่ดีได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาก มีศักดิ์และสิทธิดำเนินกระบวนการ
ในศาลแทนบุคคลอื่นได้ คือ ว่าความแทนผู้อื่นที่ไม่มีความรู้ความสามารถด้วยตัวเองในศาล                                         โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดคดีความที่ฟ้องร้องกัน ไม่ว่าคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย คดีอื่นๆ กฎหมาย
ไม่ได้บัญญัติว่า ผู้ที่ถูกฟ้อง หรือต้องการจะฟ้องคดีต้องไปจ้าง ทนายความ ให้ดำเนินการทุกคดี  ดังนั้น
บุคคลทั่วไปก็สามารถว่าความอย่าง ทนายความ ได้ ด้วยตัวเอง … แต่ด้วยข้อจำกัดที่ประชาชนทั่วไปส่วน
ใหญ่ของประเทศไม่รู้กฎหมายอย่างแท้จริง ไม่รู้วิธิดำเนินกระบวนพิจารณาใน ศาลที่จะว่าความเองได้
และถ้าไปดำเนินกระบวนการโดยที่ตัวเองไม่รู้ก็จะทำให้เสียรูปคดี หรือเสียเปรียบคู่ความอีกฝ่ายที่มี
 ทนายความ   เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้มีคดีความทุกคนที่ไม่รู้ข้อกฎหมายจำเป็นต้องว่าจ้าง ทนายความ เพื่อให้
ดำเนินการในศาลแทนทั้งหมดหรือบางส่วน                                                                                                         ทนายความ  จึงมีความสำคัญต่อตัวความเป็นอย่างมาก คนที่จะเป็นนักกฏหมายที่เก่งๆ ต้องรู้กฎหมาย
รอบด้าน สามารถแก้ปัญหาให้กับลูกความได้อย่างดี  .ดังนั้นเมื่อนักกฏหมายที่มีความรู้รอบด้าน .จึงมีทั้ง
คนดีและไม่ดีปะปนกันไป การจ้างให้ดำเนินการตามกฎหมาย ก็เรียกว่า ทนายความ

   ทนายความ คือผู้ที่มีความรู้กฎหมายและได้รับการอบรมวิชาว่าความจากสภา ทนายความ  และได้รับ
อนุญาตให้ว่าความได้ตามกฎหมาย    ทนายความ มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนตัวความ
ตั้งแต่  ร่างคำฟ้อง  คำร้อง  คำให้การ  ฟ้องแย้ง . คำขอ . คำแถลง . อุทธรณ์ . ฎีกา นำส่งพยานหลักฐาน
นำสืบพยาน  แต่ ทนายความ ไม่มีสิทธิยอมความ หรือจำหน่าย สิทธิหรือดำเนิน..กระบวนการใดๆ ไปใน
ทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะยินยอมโดยชัดแจ้ง

  เมื่อไปปรึกษากฎหมายกับ ทนายความ  ส่วนใหญ่ก็จะต้องดูข้อเท็จจริงและหลักฐานต่างๆ ของผู้ที่มา
ปรึกษาเพื่อประกอบในการ แนะนำข้อต่อสู้หรือช่องทางของกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ฟ้องคดี หรือสู้คดี
การที่ไปปรึกษา ทนายความ โดยที่ไม่มีหลักฐานอะไร มีแต่คำพูดอย่างเดียวมาเล่าให้ฟังอย่างเดียว
 ทนายความ ไม่สามารถที่จะแนะนำหรือชี้ชัดลงไปได้ว่าจะมีข้อต่อสู้หรือข้อโต้แย้งที่ ทำให้คดีมีผลตาม
เจตนารมย์ของผู้ปรึกษา การจะไป
ปรึกษาทนายความหรือนักกฎหมายควรที่จะเตรียมเอกสารไปพร้อมกับเล่าข้อเท็จจริงทั้งหมด ( การ
เล่า ข้อเท็จจริง ถึงจะเป็นความผิดจริงๆ ก็ควร จะต้องบอกเล่า เช่น ไปฆ่าคนตายจริง , ข่มขืนเด็กจริง
, กู้เงินจริง , โกงเขาจริง , ลักทรัพย์จริง , มีชู้จริง ฯลฯ )   เพราะถ้าได้ความ จริงแล้ว การหาข้อกฎหมาย
เพื่อทางออกหรือข้อต่อสู้ในศาลก็จะตรงประเด็นตามที่ผู้ปรึกษาต้องการ  แต่ถ้าบอกเล่าไม่หมดปิดๆบังๆ
ก็จะทำให้หาข้อกฎหมายไม่ตรงกับประเด็น ในที่สุดก็แพ้คดี

    ทนายความ เมื่อรับว่าความให้กับตัวความแล้ว ไม่ว่าตัวตวามจะเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ได้รับ
ความเสียหายแล้ว หลักการและวิธีการที่กฎหมายกำหนดและต้องปฏฺบัติคือ

   ๑ . ทำหนังสือบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อนจะดำเนินการฟ้องร้องคดีโดยทำเป็นจดหมาย
         ลงทะเบียนตอบรับ หรือบางกรณีไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือบอกกล่าว
   ๒ . เมื่อถึงกำหนดวันที่ระบุในหนังสือและอีกฝ่ายไม่ดำเนินการ  ทนายความ ต้องตั้งเรื่องฟ้อง
         คดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษา หรือคำสั่งให้อีกฝ่ายปฏิบัติ

   แต่ปัจจุบันนี้ จะมีพวกนักกฎหมายบางประเภทที่ชอบเลี่ยงกฎหมาย โดยเฉพาะพวก ทนายความ เจ้าหนี้
ที่มักจะไม่ทำเป็นหนังสือบอกกล่าว ตามกฎหมายแต่จะส่งหนังสือไปให้อีกฝ่ายโดยเป็นการแจ้งให้
ทราบเท่านั้น เช่น ” ท่านเป็นหนี้จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้ท่านติดต่อ ชำระหนี้ มิฉะนั้นท่านจะถูกฟ้อง
ถูกยึดทรัพย ถูกอายัดเงินเดือน ถูกแจ้งให้ติดแบล็คลิส และอาจจะมีข้อความตัวใหญ่ๆว่า อนุมัติฟ้อง
อนุมัติยึดทรัพย์ ( แต่ไม่อนุมัติยึดภริยา ) ” เพื่อขู่ให้ลูกหนี้กลัว และก็จะคนอื่นโทรมาทวงหนี้ตามเบอร์
ที่เคยให้ไว้ทั้งที่บ้าน และที่ทำงานแทบทุกวัน พอลูกหนี้บอกไม่มีเงินคนที่โทรมาก็จะพูดดูถูกเหยียด
หยามต่างๆ นาๆ   ที่เป็นเช่นนี้คงเพราะว่า พวกที่อ้างเป็น ทนายความ หรือ สำนักงานกฎหมาย ที่ได้รับมอบอำนาจ
อาจจะได้รับมอบอำนาจมาให้ทวงหนี้เท่านั้น ไม่ได้รับมอบอำนาจมาให้ฟ้องคดีจริงๆ พวกนี้จึงใช้วิธี
ขู่ลูกหนี้ต่างๆ นาๆ เพื่อให้ได้เงินตามที่รับทวงหนี้มา … ถ้าทวงหนี้ไม่ได้จริงๆ ก็จะด่าว่าลูกหนี้เสียๆ
หายๆ และส่งเรื่องการตามลูกหนี้ให้กับเจ้าหนี้โดยให้ข้อมูลว่าไม่สามารถติดตามได้

 

โทรหาผม ทนายพัตร์
Tel : %e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c

author avatar
PongrapatLawfirm