แจ้งความเท็จ หมิ่นประมาท มีโทษอะไรบ้าง? สามารถฟ้องกลับได้ไหม
คดีหมิ่นประมาท เป็นคดีหนึ่งที่มีความละเอียดอ่อนในเรื่อง […]
การใส่ความกันบนโลกออนไลน์ การแขวน ดูถูก ดูหมิ่น การกล่าวหา ให้ข้อมูลเท็จ สิ่งเหล่านี้เราสามารถพบเจอได้ทุกวันโดยเฉพาะในโลกออนไลน์ ทำให้ทุกคนที่อยู่ในโลกออนไลน์แทบทุกคนมีโอกาสได้พบเจอหมายศาลคดีเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท ในบทความนี้ ผมจะอธิบายเกี่ยวกับ คดีหมิ่นประมาท เกี่ยวกับหลักการฟ้อง อายุความ และโทษหมิ่นประมาท แบบเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าเป็นอย่างไร
คดีหมิ่นประมาท คือคดีที่เกี่ยวข้องกับการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 ที่ทำให้บุคคลนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือถูกทำให้เสียหายในสังคม โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการกล่าวหาหรือการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือไม่ใช่ความเป็นจริง ซึ่งคดีเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ตัวกฎหมายจะอยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 บัญญัติว่า ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี จะมีได้ด้วยกัน 2 กรณี คือการหมิ่นประมาทด้วยวาจา และการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
คดีหมิ่นประมาท จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทจริง ต้องระบุชื่อ รูปภาพ ตัวตน หรือการแสดงออกอื่น ๆ ที่คนทั่วไปสามารถรับรู้ได้เลยว่าเป็นคน ๆ นั้น เช่น การถูกระบุชื่อหรือลักษณะเฉพาะ โพสต์รูปเราหรือแท็ก หรือการอื่นใดที่บุคคลที่วไปพบเห็นและทราบว่าเป็นเรา
แล้วแบบไหนถึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท? ยกตัวอย่างเช่น มีการโพสต์ Facebook จากบุคคลหนึ่ง เข้าไปอ่านแล้วคิดเองว่าต้องเป็นโพสต์เกี่ยวกับเราแต่พอมาดูจริง ๆ แล้ว ไม่มีการโพสต์รูปเราหรือแท็กเราเลย แบบนี้จะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทครับ
ในประมวลกฎหมายอาญาไทย การจะผิดข้อหาหมิ่นประมาท ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน หรือข้อเท็จจริงในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่ใช่การคาดคะเนเกี่ยวกับอนาคต
หรือการถูกใส่ความด้วยข้อความที่หมิ่นประมาท ซึ่งคำว่าใส่ความก็หมายความว่าเป็นการกล่าวความจริงหรือความเท็จ หรือเรื่องไม่จริงที่ถูกปรุงแต่งเพื่อใช้ใส่ร้าย หรือเอาเรื่องจริงไปกล่าว ก็มีความผิดได้เช่นกัน แม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินมาไปพูดต่อก็อาจมีความผิดได้เช่นกัน
หากเป็นเพียงคำหยาบคายหรือพูดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น การกล่าวหาว่าคน ๆ นั้นเป็นสัตว์ประหลาด ผี แม่มด ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้ อันนี้จะไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือคลุมเครือ เช่น กล่าวหาว่าคน ๆ นั้นเป็นคนนิสัยเสีย เลว เป็นคนบ้า ซึ่งไม่มีความแน่นอนหรือดูเลื่อนลอย ไม่ยืนยันว่าเป็นข้อเท็จจริง ก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน
หลังจากที่เรารู้ว่ามีการหมิ่นประมาทเกิดขึ้น รู้ตัวคนที่หมิ่นประมาท รวมถึงมีความผิดครบองค์ประกอบและเข้าข่ายหมิ่นประมาท อายุความในการฟ้องหมิ่นประมาทจะอยู่ที่ 3 เดือน เพราะฉะนั้น ผู้ฟ้อง จะต้องฟ้องร้องต่อศาลภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากมีการหมิ่นประมาทเกิดขึ้น และต้องรู้ตัวผู้หมิ่นประมาทด้วยเช่นกัน ถ้าหากผ่านเกินระยะเวลา 3 เดือน จะทำให้คดีหมดอายุความ ไม่สามารถนำคดีไปพิจารณาได้
ขั้นตอนการฟ้องหมิ่นประมาท จะมีด้วยกันดังนี้
โดยการรวบรวมเป็นเอกสารต่าง ๆ เข่น ภาพข้อความที่มีการหมิ่นประมาท การบันทึกเสียง ภายถ่าย วิดีโอ หรือการแคปเจอร์ภาพโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่มีเนื้อหาการหมิ่นประมาท และถ้าหากมีพยานบุคคลที่ได้ยินหรือเห็นการหมิ่นประมาท ก็ต้องรวบรวมข้อมูลของพยานเพื่อยืนยันข้อเท็จจริงด้วยเช่นกัน
หากเลือกจ้างทนายฟ้องหมิ่นประมาท ทนายจะทำการดำเนินการร่างฟ้องและยื่นฟ้องต่อศาล เป็นตัวแทนทางด้านการฟ้องที่ดีทางเลือกหนึ่ง แต่ก็สามารถแจ้งความกับตำรวจด้วยตัวเองได้เช่นกัน โดยการนำหลักฐานที่เตรียมไว้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ สอบสวนพยานหลักฐานและเรียกผู้ถูกกล่าวหามาให้การ
หลังจากการสอบสวนเสร็จ เจ้าหน้าที่จะจัดทำสำนวนและส่งให้อัยการพิจารณา หากอัยการมองแล้วว่ามีมูลความผิด อัยการจะดำเนินยื่นต่อไปยังศาล
หากเป็นการฟ้องร้องในนามส่วนตัว ผู้เสียหายสามารถดำเนินการยื่นฟ้องต่อศาลได้ผ่านทนายความเลย ซึ่งสะดวกมากกว่า ถ้าผ่านกระบวนการ อัยการจะเป็นผู้ดำเนินการในการฟ้องคดี ในกรณีที่เป็นคดีอาญา หลังจากนั้น ศาลจะนัดพิจารณาคดีเพื่อไต่สวนและรับฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
ศาลพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายอย่างละเอียด ก่อนตัดสินว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดหรือไม่ หากศาลตัดสินว่ามีความผิด ศาลจะกำหนดบทลงโทษตามความร้ายแรงของการกระทำคดีหมิ่นประมาท
โทษคดีหมิ่นประมาท กำหนดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 กรณีหมิ่นประมาทที่เกิดจากการเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ เช่น สิ่งพิมพ์ ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียงหรือการกระจายภาพ หรือโดยการกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น โซเชียลมีเดีย หรือช่องทางต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 กรณีหมิ่นประมาทที่เกิดจากการเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ เช่น สิ่งพิมพ์ ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียงหรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียงหรือการกระจายภาพ หรือโดยการกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น โซเชียลมีเดีย หรือช่องทางต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างไรก็ตาม ความผิดหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้จากประมวลกฎหมายอาญามาตรา 333 หากมีการตกลงเจรจากันได้ก่อนศาลจะมีคำพิพากษา ก็สามารถถอนฟ้องได้
การเรียกร้องค่าเสียหายหมิ่นประมาท สามารถทำได้ โดยการดำเนินเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง พร้อมกับการฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญา หรือจะฟ้องแยกเป็นคดีแพ่งเฉพาะเรียกค่าเสียหายก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งจำนวนค่าเสียหาย จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงของการหมิ่นประมาท ผลกระทบจากการหมิ่นประมาท ชื่อเสียงและสถานะของผู้เสียหาย ค่าเสียหายทางจิตใจ รายได้ ซึ่งจำนวนค่าเสียหายจะไม่มีกำหนดไว้ตายตัว
ทนายความคดีหมิ่นประมาท จะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีความสำคัญและช่วยอำนวยความสะดวกอย่างมากสำหรับผู้ถูกกระทำหรือผู้ถูกหมิ่นประมาท ทำให้การจ้างทนายหมิ่นประมาท จะช่วยให้สามารถต่อสู้คดีได้อย่างสุดความสามารถ บวกกับตัวพยานหลักฐานและการดำเนินการของผู้ถูกฟ้องเอง
หากท่านใดพบปัญหาการถูกหมิ่นประมาทไม่ว่าจะด้วยวิธีใด หรือมีข้อสงสัย อยากปรึกษาเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทและคดี พรบ.คอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อผมได้ที่ ทนายพัตร์ หรือโทร 088-946-6645