ทนายคดีหมิ่นประมาท-ทนายฟ้องคดีหมิ่นประมาท-ทนายสู้คดีหมิ่นประมาท

แจ้งความเท็จ หมิ่นประมาท มีโทษอะไรบ้าง? สามารถฟ้องกลับได้ไหม

คดีหมิ่นประมาท เป็นคดีหนึ่งที่มีความละเอียดอ่อนในเรื่องของเนื้อหา ซึ่งศาลจะมีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่า การหมิ่นประมาท เป็นความจริงหรือไม่? เป็นการใส่ความเท็จหรือเปล่า? หรือมีเจตนาเพื่อการกลั่นแกล้งกันทางกฎหมายหรือเปล่า? ในบทความนี้ ผมทนายพัตร์จะมาอธิบายเกี่ยวกับการ แจ้งความเท็จ หมิ่นประมาท ว่ามีโทษอะไรบ้าง แบบไหนถึงจะเป็นการแจ้งความเท็จ แล้วการแจ้งความเท็จ ฟ้องกลับได้ไหม? ผมมีคำตอบมาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ

แจ้งความเท็จ แบบไหนถึงจะเป็นการแจ้งความเท็จ?

การแจ้งความเท็จ ตามกฎหมาย คือ การที่บุคคลให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแก่เจ้าหน้าที่ โดยมีเจตนาให้ผู้อื่นได้รับความผิดหรือโทษในสิ่งที่เขาไม่ได้กระทำ หรือเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์อย่างไม่ชอบธรรม เช่น การสร้างเรื่องขึ้นเพื่อให้ผู้อื่นเดือดร้อน บิดเบือนข้อเท็จจริง และการอ้างเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นจริง

ซึ่งองค์ประกอบของการแจ้งความเท็จ จะมีดังนี้

1. ให้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแก่เจ้าหน้าที่

การให้ข้อมูล จะเป็นการแจ้งความเท็จ ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นไม่เป็นความจริง อาจเป็นการกล่าวอ้างเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้น หรือเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้เกิดความเข้าใจผิด

2. มีเจตนาให้ผู้อื่นต้องได้รับโทษหรือได้รับความเสียหาย

การแจ้งความเท็จที่ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดหรือการเข้าใจผิด แต่เป็นการกระทำโดยเจตนาให้ผู้อื่นต้องได้รับโทษหรือความเสียหาย เช่น

  • ไปแจ้งตำรวจว่านาย A ขโมยทรัพย์สิน แต่ในความเป็นจริง มีการสืบสวนพยานหลักฐานแล้ว พบว่าไม่มีเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง
  • ไปแจ้งตำรวจว่าเห็นนาย A ก่ออาชญากรรม ทั้งที่จริง ๆ ไม่เห็นเหตุการณ์ หรือเหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง

3. ส่งผลให้มีการดำเนินคดีหรือกระบวนการทางกฎหมาย

การแจ้งความเท็จ มักจะนำไปสู่การดำเนินคดี หรือกระบวนการทางกฎหมายที่ไม่จำเป็น หากข้อมูลนั้นถูกตรวจสอบออกมาแล้วว่าไม่เป็นความจริง ผู้ที่แจ้งความอาจต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย

แจ้งความเท็จ หมิ่นประมาท มีโทษอะไรบ้าง?

การแจ้งความเท็จ ถือเป็นความผิดในประมวลกฎหมายอาญา โดยโทษสำหรับการแจ้งความเท็จ จะพิจารณาตามลักษณะและความร้ายแรงของการกระทำ ดังนี้

1. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172

บุคคลใดแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อเจ้าพนักงาน เพื่อให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญาหรือถูกสอบสวนทางอาญาที่ไม่ได้กระทำ ซึ่งให้ผู้อื่นเสียหาย จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173

บุคคลใดแจ้งความต่อเจ้าพนักงานว่ามีการกระทำความผิดอาญาที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง โดยเจตนาให้บุคคลอื่นต้องได้รับโทษทางอาญา จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137

บุคคลใดแจ้งความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเกิดความเสียหาย จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การแจ้งความเท็จ ฟ้องกลับ สามารถทำได้ไหม?

การฟ้องกลับหรือการแจ้งความกลับเมื่อถูกแจ้งความเท็จ สามารถทำได้ แต่มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่หลายอย่าง เช่น เจตนา ว่าต้องการทำให้เราเสื่อมเสียด้วยความเท็จจริงหรือไม่ มีเจตนาที่จะบิดเบือนเพื่อให้เสื่อมเสียหรือไม่ ทราบหรือไม่ว่าข้อความนั้นเป็นเท็จ

แต่ถ้าหากการแจ้งความเท็จนั้นเข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญา ก็สามารถดำเนินการฟ้องกลับได้ ทั้งการฟ้องกลับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 หรือมาตรา 173 และต้องมีหลักฐานเพื่อแสดงว่าเป็นการแจ้งความเท็จโดยมีเจตนาทำให้เกิดความเสียหายจริง ๆ รวมถึงสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้เช่นกัน

แจ้งความเท็จ หมิ่นประมาท การฟ้องกลับก็ถือเป็นสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ถูกกล่าวหา เพื่อให้ได้รับความยุติธรรมและปกป้องชื่อเสียง ข้อควรปฏิบัติในการฟ้องกลับ คือการรวบรวมหลักฐาน และการปรึกษาทนายความหมิ่นประมาท เนื่องจากกระบวนการฟ้องร้องมีความซับซ้อน การปรึกษาทนายความจะช่วยให้คำแนะนำและช่วยในเรื่องของการดำเนินคดีได้อย่างถูกต้อง

หากท่านใดพบปัญหาเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท หรือมีข้อสงสัย อยากปรึกษาเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทและคดีพรบ.คอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อผมได้ที่ ทนายพัตร์ หรือโทร 088-946-6645

line PongrapatLawFirm
facebook pongrapat lawfirm
author avatar
PongrapatLawfirm