ทนายความคดีหมิ่นประมาท

ทนายคดีหมิ่นประมาท หลักการฟ้องคดี

ทนายคดีหมิ่นประมาท หลักการฟ้องคดี

ความผิดฐานหมิ่นประมาท

มาตรา 326 ผู้ใด “ใส่ความผู้อื่น” ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง  ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– การใส่ความ

– คำพิพากษาฎีกาที่ 3252/2543 คำว่า “ใส่ความ” ตาม ป.อ. มาตรา 326 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง พูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลย ที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำ เพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามธรรมนองคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้


– การใส่ความฯ “ต่อบุคคลที่สาม”

– คำพิพากษาฎีกาที่ 580/2505 หนังสือใส่ความผู้อื่นนั้นแม้จะส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ก็ถือว่าใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตามมาตรา 326 แห่งประมวลกฎหมายอาญา / เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาและได้ร่วมเป็นองค์คณะตัดสินคดีที่ทำให้จำเลยแพ้ และจำเลยได้กล่าวข้อความซึ่งเป็นการดูหมิ่น โจทก์ในฐานะที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาย่อมเป็นความผิดต่อมาตรา 198 ประมวลกฎหมายอาญา
– คำพิพากษาฎีกาที่ 894-897/2506 ฟ้องว่า จำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานสอบสวนตำรวจสันติบาล และสังฆมนตรี แต่ไม่ระบุว่าเป็นใคร เป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่ที่หาว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อสังฆนายก แม้ไม่ระบุพระนามก็ไม่เคลือบคลุม เพราะในขณะฟ้องนั้นสังฆนายก ก็มีองค์เดียวเท่านั้น ใคร ๆรวมทั้งจำเลยย่อมทราบได้ดี / ความผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 นั้นไม่จำต้องระบุว่าบุคคลที่ 3เป็นใคร ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะบุคคลที่ 3 นี้อาจเป็นใครก็ได้

– ลักษณะการใส่ความผู้อื่น

– คำพิพากษาฎีกาที่ 83/2501 โฆษณาหมิ่นประมาทตามคำบอกเล่าของผู้อื่น ไม่ใช่ข้อแก้ตัวให้พ้นผิด
– คำพิพากษาฎีกาที่ 2822/2515 มีผู้นำจดหมายที่มีข้อความหมิ่นประมาทผู้เสียหาย มาส่งให้แก่จำเลย และจำเลยได้อ่านทราบความแล้ว ได้เอาจดหมายนั้นให้บุคคลที่สามอ่าน เป็นการแสดงข้อความในจดหมาย ให้ปรากฏแก่บุคคลที่สาม ถือได้ว่าจำเลยได้ใส่ความผู้เสียหายด้วยถ้อยคำแล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ความผิดตาม ป. อาญา มาตรา 326 จำเลยจะได้กล่าวยืนยันข้อความนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ
– คำพิพากษาฎีกาที่ 2021/2517 จำเลยพูดกับบุคคลที่สาม กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมกับพวกลักเป็ดของจำเลยไปแกงกิน โดยจำเลยไม่มีพยานหลักฐานใดที่จะดำเนินคดีเอาความต่อโจทก์ร่วมกับพวกได้ คำพูดของจำเลยจึงไม่มีมูลความจริง แต่จำเลยกล่าวยืนยันประจานให้บุคคลอื่นหลงเชื่อเป็นความจริงว่า โจทก์ร่วมกับพวกลักเป็ดของจำเลย ย่อมเป็นการใส่ความทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง รังเกียจต่อความประพฤติอันเสื่อมเสียของโจทก์ร่วมได้ จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
– คำพิพากษาฎีกาที่ 2411/2518 จำเลยร้องเรียนเท็จว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายไปรษณีย์ ในบังคับบัญชาอธิบดีเรียกเอาเงินจากจำเลย เป็นความผิดตาม ม.137 กับ ม.326 ไม่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสารตาม ม.328 ม.137 และ ม.326 กำหนดโทษเท่ากันศาลลงโทษตาม ม.137
– คำพิพากษาฎีกาที่ 526/2525 ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์บรรณาธิการที่ต้องรับผิดเป็นตัวการ ต้องเป็นบรรณาธิการ ซึ่งรับผิดของเกี่ยวกับบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์เท่านั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการอำนวยการ มีหน้าที่ทางด้านการจัดการและธุรการทั่วไป ไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงโฆษณา / หนังสือพิมพ์ระบุชื่อ และนามสกุลทั้งลงรูปโจทก์ในคอลัมน์ ซึ่งมีความหมายว่าโจทก์ประพฤติตนอย่างคนไร้ศีลธรรม การที่โจทก์ผ่านการสัมมนาหลักสูตรพัฒนานักบริหาร ไม่ได้ช่วยดัดสันดาน และนิสัยให้กลับตัวกลับใจมีคุณธรรม โจทก์มีส่วนพัวพันเป็นผู้จ้างวานฆ่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ เพราะโจทก์มีนิสัยชอบวางอำนาจบาตรใหญ่ มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย และใช้อำนาจในทางที่ผิด อำนาจฝ่ายต่ำจึงเข้าครอบงำ ถ้าประเทศมีข้าราชการระดับนักบริหารอย่างโจทก์ บ้านเมืองจะไม่รอด ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการเสนอข้อความโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของหนังสือพิมพ์จะพึงกระทำ หรือเป็นการลงข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
– คำพิพากษาฎีกาที่ 975/2531 จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ ฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปล หรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่อง – หมายอัญประกาศ คือ “ถ้อยคำพูด” ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบรรยายฟ้อง อันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้อง ในตอนหลัง และมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้น พนักงานอัยการมีความประสงค์ จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตาม มาตรา 157 ด้วย
– คำพิพากษาฎีกาที่ 2180/2531 การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น จะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่น โดยยืนยันข้อเท็จจริงที่ใส่ความนั้น ต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะทำให้ผู้อื่นที่ถูกใส่ความเสียชื่อเสียงดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ดังนั้น การที่จำเลยถาม ป. ว่ามีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับโจทก์หรือไม่ จึงเป็นเพียงการคาดคะเนของของจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง อันน่าจะทำให้โจทก์เสียงชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแต่ประการใด จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยกล่าววาจาต่อหน้าโจทก์ จึงไม่ใช่เป็นดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้า จำเลยไม่มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
– คำพิพากษาฎีกาที่ 2390/2532 ป.วิ.อ. มาตรา 134 ให้สิทธิผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใด หรือไม่ให้การเลยก็ได้ แต่ถ้าคำให้การนั้น เป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่น บทมาตรานี้ ก็หาได้คุ้มครองการกระทำนั้นไม่


– การกล่าวถึงบุคคลที่ถูกหมิ่นประมาท

– คำพิพากษาฎีกาที่ 785/2496 หมิ่นประมาทเขา ทางหนังสือ แม้ในหนังสือจะมิได้กล่าวเจาะจงถึงผู้เสียหายโดยตรง คือกล่าวว่าเป็นการสุดแสนจะทนดูพวกมหาดไทยเล่นสกปรกต่อไป ฯลฯ นั้น เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า พวกมหาดไทยนั้น จำเลยหมายถึงผู้เสียหายดังนี้ จำเลยก็ย่อมมีผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย / การที่จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 283 นั้น จะต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต อันต้องด้วยลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่งตามมาตรา 283 ถ้าเป็นเรื่องใส่ความโดยปราศจากความจริงแล้ว ไม่เป็นข้อแก้ตัว.
– คำพิพากษาฎีกาที่ 1325/2498 กรณีที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ข้อความที่กล่าวจะต้องมุ่งเจาะจงถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ และโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความถึงบุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทนั้นด้วย / เมื่อในคำโฆษณามีความหมายเฉพาะนายแพทย์ชายคนหนึ่ง ไม่มีกินความถึงนายแพทย์ทุก ๆ คนของโรงพยาบาลศิริราช ทั้งโจทก์หาได้นำสืบถึงนายแพทย์คนที่ถูกใส่ความหมิ่นประมาท ก็ย่อมทราบไม่ได้ว่านายแพทย์คนใดเป็นผู้เสียหาย / เมื่อตามคำฟ้องไม่มีช่องทางแสดงให้เห็นว่าจำเลยมุ่งหมายกล่าวใส่ความถึงนายแพทย์เฉลิม นายแพทย์เฉลิมจึงมิใช่ผู้เสียหาย อันจะพึงร้องทุกข์ได้
– คำพิพากษาฎีกาที่ 1628/2500 ลงพิมพ์ข้อความว่ามีข่าวว่ากำนันซึ่งเป็นผู้ต้องหา ให้สินบนปลัดอำเภอ และปลัดอำเภอผู้สอบสวน รับสินบนช่วยเหลือกัน แม้ไม่ระบุชื่อ แต่ผู้อ่านรู้ได้ว่าหมายความถึงใคร ก็เป็นการหมิ่นประมาทเป็นความผิด
– ประเด็นเกี่ยวกับเจตนา
– คำพิพากษาฎีกาที่ 91/2503 การที่จำเลยแจ้งความต่อตำรวจว่า โจทก์ได้สมคบกับพวกจำเลยให้ไปยิงจำเลย ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ แม้จำเลยจะไปเล่าให้คนอื่นฟัง จำเลยมิได้มีเจตนาใส่ความโจทก์เพื่อให้เสียชื่อเสียง ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
– คำพิพากษาฎีกาที่ 3252/2543 คำว่า “ใส่ความ” ตาม ป.อ. มาตรา 326 ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง พูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลย ที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์ เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน แม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำ เพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามธรรมนองคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
– นอกเหนือเจตนา
– คำพิพากษาฎีกาที่ 110/2516 จำเลยส่งจดหมายมีข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์โดยตรง ณ สำนักงานโจทก์ แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แม้เสมียนของโจทก์ทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปถึงโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท
– “โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง”
– ฝ่ายหนึ่งเข้าทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งอย่างเดียว ดึงผม ตบ ตี และมีผู้ถ่ายเป็นวิดีโอคลิปเอาไว้ เวลาประมาณ 30 วินาที(ไม่รู้ใครถ่าย) ต่อมามีผู้เอาคลิปดังกล่าวไปเผยแพร่ ฝ่ายผู้ถูกทำร้ายมาแจ้งความ / ผมเห็นว่า อาจเป็นหมิ่นประมาทได้เหมือนกันครับ แม้จะเป็นภาพที่ถูกทำร้ายฝ่ายเดียว และเป็นเหตุการณ์จริงก็ตาม เช่น การนำภาพของคนมีชู้ กำลังมีเพศสัมพันธ์ หรือแสดงความสัมพันธ์กับชู้ ไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น ด้วยความสนุกสนาน แม้จะเป็นเรื่องจริง ก็อาจผิดหมิ่นประมาทได้เหมือนกันครับ “โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง” ในประเด็นนี้ ต้องวินิจฉัยจากความรู้สึกนึกคิดของบุคคลทั่วไปในสังคม ประเด็นตรงนี้ ก็ต้องเอาภาพมาวิเคราะห์กันดูครับ และอาจมีความเห็นแตกต่างกันไปได้ บางคนอาจมองว่า การถูกทำร้ายฝ่ายเดียว เป็นเรื่องน่าเห็นใจ น่าสงสาร มากกว่าจะทำให้เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง แต่บางคน หรือบางกรณีอาจมองว่า เป็นการประจานตัวผู้ทำร้าย ในแง่ของการใช้กำลัง รังแกผู้อื่น และประจานผู้ถูกทำร้าย ในแง่ของบุคคลิกอ่อนแอ ไม่สู้คน เห็นต่างกันได้นะครับ ส่วนในนิติวิธี ก็จบตรงที่กระบวนการยุติธรรม ในขั้นของพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวน ก็ทำความเห็นได้ อัยการก็ชี้ขาดฟ้อง หรือไม่ฟ้อง และศาลก็วินิจฉัย พิพากษา ตลอดจนอุทธรณ์ฎีกา เพื่อตรวจสอบ review กันเองอีกครั้งหนึ่ง
– ข้อความอันมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท
– คำพิพากษาฎีกาที่ 1201/2505 จำเลยเป็นตำรวจไปจับแผ่นกระดาษ จดหมายเลขสลากกินรวบที่ผู้ขาย ก่อนจับได้มีการยื้อแย่งกัน และจับได้บนบ้านโจทก์ จำเลยพูดกับโจทก์ว่า “เดียวจับเป็นอันธพาล

โทรหาผมทนายพัตร์ 088-946-6645

line PongrapatLawFirm
line PongrapatLawFirm
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
author avatar
PongrapatLawfirm