ปรึกษาทนาย-คดีไฟแนนท์ยึดรถ-เช่าซื้อรถ-ทนายความ

ทนายความคดีเช่าซื้อรถ

ทนายความคดีเช่าซื้อรถ รถถูกยึด

หากท่านใด ถูกยึดรถ หรือผิดชำระค่าเช่าซื้อ ซึ่งสัญญาเช่าซื้อ แต่ละไฟแนนท์มีข้อกำหนดไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจทำให้ท่านได้รับความเดือดร้อนจากไฟแนนท์ฟ้องคดีมา ในแต่ละคดี ซึ่งมีรายละเอียดไม่เหมือนกัน ทางผมทนายพัตร์ ยินดีช่วยเหลือในคดีที่ถูกฟ้อง เพื่อบรรเทาความเสียหายกับท่าน

โทรหาผมทนายพัตร์

ทนายความ,การช่วยเหลือในการให้การในชั้นสอบสวน

บริษัทฯ รับจัดไฟแนนซ์

บังคับคดียึดรถของผู้เช่าซื้อ

ไปขายเอง โดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าซื้อ

ทราบ เมื่อขายเแล้วขาดทุน

ไม่สามารถฟ้องเรียกร้องเงิน

ส่วนต่างจากผู้เช่าซื้อได้.

คำพิพากษาฎีกา31/2560

การเรียกค่าขายรถที่เช่าซื้อไปแล้วขาดทุนนั้นคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดในค่าขาดราคาหรือไม่ เพียงใด?
******
คดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่า

1 โจทก์ไม่ได้มีการแจ้งเรื่องการประมูลรถยนต์รถยนต์คันที่เช่าซื้อให้จำเลยทั้งสองทราบก่อนการประมูล และ
2 ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้นำพยานมาสืบให้ได้ความว่า การขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อมีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์การขายทอดตลาดโดยทั่วไปหรือไม่

คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่า การขายทอดตลาดด้วยวิธีการประมูลราคาดังกล่าวของโจทก์นั้นเป็นการกระทำที่เหมาะสม อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากสัญญาเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสองได้อีก ศาลชั้นต้นจึงมีคำพิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดราคาหรือส่วนต่างจากจำเลยทั้งสอง

โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ขออนุญาตยื่นฎีกาคดีในปัญหาข้อกฎหมายสำคัญ

ศาลฎีกาตรวจสำนวนแล้วเห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.5 ข้อ 12 วรรคท้าย ระบุว่า “ในกรณีธนาคารบอกเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองรถ ธนาคารจะแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อทราบเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ” ส่วนข้อ 14 ระบุว่า “กรณีที่ธนาคารได้รถกลับคืนมา ธนาคารตกลงว่าหากนำรถออกขายได้ราคาเกินกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้ ธนาคารจะคืนเงินส่วนเกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่หากได้ราคาน้อยกว่าจำนวนหนี้คงค้างชำระตามสัญญานี้ ผู้เช่าซื้อตกลงรับผิดส่วนที่ขาดเฉพาะในกรณีที่ธนาคารได้ขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น”

และสัญญาค้ำประกัน เอกสารหมาย จ.6 ข้อ 2 ระบุว่า “หากผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดไว้ไม่ว่าด้วยเหตุใด หรือผิดสัญญาเช่าซื้อไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนจนเป็นเหตุให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือรถยนต์ที่เช่าซื้อเกิดความเสียหายไม่ว่าด้วยเหตุใด แม้โดยอุบัติเหตุ เหตุสุดวิสัย หรือภัยพิบัติเหตุใดที่ไม่อาจป้องกันได้ ผู้ค้ำประกันยินยอมที่จะชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ธนาคารทันทีจนครบถ้วน ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันตามสัญญานี้เป็นความรับผิดต่อธนาคารร่วมกันกับผู้เช่าซื้อและในฐานะลูกหนี้ร่วมด้วย ทั้งนี้ โดยไม่คำนึงถึงว่าธนาคารได้ทวงถามหรือบอกกล่าวผู้ค้ำประกันแล้วหรือไม่ก็ตาม”

ดังนั้น ก่อนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาด โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องแจ้งล่วงหน้าให้จำเลยที่ 1 ทราบเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิซื้อรถยนต์กลับคืนตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ

เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิซื้อรถกลับคืนดังกล่าว ประกอบกับโจทก์มิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้ได้ความว่า การขายทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อมีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักเกณฑ์การขายทอดตลาดโดยทั่วไป คดีจึงยังฟังไม่ได้ว่า โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยเหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 14. โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ส่วนที่ขาดอยู่ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์ ภาค 4 แผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน”
****

line PongrapatLawFirm
line PongrapatLawFirm
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
author avatar
PongrapatLawfirm