ในการปรึกษากฎหมายคดีแรงงานนั้น กรณี
“” _ มีผู้สอบถาม ว่า ลูกจ้างทำงานให้นายจ้าง เป็นระยะเวลา ๗ เดือน แล้วปรากฏว่า หัวหน้างาน/หัวหน้าพนักงาน มาบอกว่าไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานแล้วและได้ขีดฆ่าที่ใบตอกเวลาการทำงาน โดยขีดฆ่า ว่า “#ลาออก” เมื่อสอบถามไปที่บริษัทนายจ้าง เพื่อจะขอ #ให้จ่ายเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ม.๑๗ วรรคสาม ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และ #ให้จ่ายเงินค่าชดเชย ตาม ม.๑๑๘ วรรคหนึ่ง ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ #แต่ทางบริษัทปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า บริษัทนายจ้างไม่ได้เลิกจ้างแต่เป็นการกระทำของหัวหน้างาน/หัวหน้าพนักงานเอง #ปัญหา คือ ปัจจุบันลูกจ้างไม่ได้ไปทำงานแล้ว เพราะเข้าใจว่าตนเองนั้นถูกบริษัทนายจ้างเลิกจ้าง โดยเข้าใจหัวหน้างาน/หัวหน้าพนักงานสามารถเลิกจ้างลูกจ้างแทนบริษัทนายจ้างได้ ประเด็น คือ หัวหน้างาน/หัวหน้าพนักงาน #ถือเป็นนายจ้างหรือไม่ ในเรื่องนี้ ตาม ม.๕ ของ พรบ.คุัมครองแรงงาน พ.ศ๒๕๔๑ #ได้ให้คำนิยามของคำว่านายจ้างไว้ ว่า ""..... นายจ้าง ให้รวมถึง #นายจ้างตัวจริง, #นายจ้างตัวแทน และ #นายจ้างรับมอบหมาย ..... "" (ถ้อยคำของ ศ.เกษมสันต์ วิลาวรรณ) จะเห็น ว่า คำว่านายจ้างนั้นมี ๓ บริบท คือ ๑.นายจ้างตัวจริง เช่น บริษัทฯ ๒.นายจ้างตัวแทน เช่น ผู้จัดการบริษัทฯ/ผู้แทนบริษัทฯ ๓.นายจ้างรับมอบหมาย เช่น คนที่ได้รับมอบหมายให้บริหารลูกจ้าง #จากคำถาม หัวหน้างาน/หัวหน้าพนักงาน น่าจะตรงกับ #นายจ้างประเภทที่๓. โดยศาลฎีกาวางหลักว่า ""..... ถ้านายจ้างตัวจริง/นายจ้างตัวแทน มอบหมายให้คนใดทำหน้าที่บริหารแรงงานแทนตนเอง #บุคคลดังกล่าวย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างเช่นกัน ...... "" (เที่ยบ ฎ.๕๙๘๓-๕๙๙๑/๒๕๕๓) ดังนั้น จึงแนะนำในเบื้องต้น ว่า หัวหน้างาน/หัวหน้าพนักงาน สามารถเป็นนายจ้างได้ แต่ต้องดูข้อเท็จจริงและแนวปฏิบัติของหัวหน้างานคนนี้ว่า เคยมีการให้ลูกจ้างออกจากงานในลักษณะนี้หรือไม่ #ซี่งเรื่องนี้ ควรไปขอให้ #กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้เพราะเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน มีหน้าที่ตามกฎหมายในการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ ถ้าข้อเท็จจริงว่าเป็นนายจ้างรับมอบหมาย เจ้าพนักงานตรวจแรงงานย่อมสั่งให้จ่ายเงินได้ _____"