ปรึกษากฎหมาย-คดีลักทรัพย์-ทนายความ-ฟ้องคดี

ทนายความคดีลักทรัพย์

ทนายความคดีลักทรัพย์

หากท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับคดีลักทรัพย์หรือมีการแจ้งความทั้งคดีลักทรัพย์ ที่ผู้อื่นจะเจตนาก็ดีหรือไม่เจตนาก็ดีให้ตัวเองมีความผิด ทางทนายความยินดีให้คำปรึกษาและสู้คดีในชั้นศาล เป็นทนายฟ้องคดีเป็นฝ่ายโจทก์ หรือเป็นทนายฟ้องคดีแก้ต่างสู้คดีในชั้นศาล หรือผู้ถูกกล่าวตกเป็นจำเลยหรือแพะรับบาป และทำให้ได้รับความเดือดร้อน ท่านต้องคดีแต่ยังไม่มีหนทาง ท่านติดต่อหาทนายพัตร์

Tel : %e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c

ผมยินดีช่วยท่านด้วยความยุติธรรม

 

 

แนวทางเบื้องต้นในการสู้คดี คดีลักทรัพย์

 

– คำพิพากษาฎีกาที่ 1682/2500 (สบฎ เน 33) ล้วงกระเป๋า ได้ธนบัตรออกมา นอกกระเป๋าแล้ว เจ้าทรัพย์ตบกระเป๋าถูกมือ ธนบัตรร่วง ผิดสำเร็จ

– คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2507 จำเลยใช้ตะไกรตัดสร้อยคอ ของผู้เสียหายขาดจากกันและตกไปที่พื้นดิน แต่ยังมิได้เข้ายึดถือเอาสายสร้อยนั้นไป เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจร้องบอกให้ผู้เสียหายรู้ตัวและเก็บเอาสายสร้อยนั้นไว้ เสียก่อน เป็นความผิดฐานพยายามหลักทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 965/2521 (สบฎ เน 5630) เอารถของผู้เสียหายไปทิ้งแม่น้ำ เป็นการเอาทรัพย์ไปโดยทุจริต เข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว จำเลยเอารถของกลางไปทิ้งแม่น้ำ ก็เพื่อซ่อนมิให้ติดตามเอารถคืน ไม่พ้นความผิด

– คำพิพากษาฎีกาที่ 273/2527 (เน 51/10/58) จำเลยมีเจตนาลักทรัพย์ สร้อยคอซึ่งบุตรของผู้เสียหายสวมอยู่ พอใช้กรรไกรตัดสร้อยนั้นขาดตกลงยังพ้นดิน ยังมิได้ยึดถือเอาสร้อย ก็มีคนบอกให้ผู้เสียหายรู้ และเก็บเอาสร้อยไว้เสียก่อน จะถือว่าจำเลยเอสร้อยนั้นไปยังไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์เท่านั้น (การตัดสร้อย ก็เพื่อต้องการที่จะแยกเอาทรัพย์ออกจากสิ่งที่ติอยู่ คือคอมนุษย์ เพื่อจะทำให้มีอำนาจเหนือสร้อย แล้วจึงพาสร้อยนั้นไปได้ เมื่อตัดสร้อยลงพื้น แต่ยังไม่มีการเข้าไปขยับทรัพย์อีกครั้งหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงขั้นพยายาม)

– คำพิพากษาฎีกาที่ 574/2527 จำเลยขึ้นไปบนต้นลำใย หักลำใยทิ้งกิ่งจากต้นใส่ในเข่ง เจ้าพนักงานจำจำเลย ขณะจำเลยอยู่บนต้น และกำลังหักกิ่งลำใยใส่เข่งอยู่เป็นการแยก หรือเคลื่อนที่ผลลำใยออกจากต้น และเข้ายึดถือเอาผลลำใยจำนวนนั้นไว้แล้ว อันเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้เสียหาย ครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว

– คำพิพากษาฎีกาที่ 8329/2540 การที่จำเลยที่ 1 เอาทรัพย์ของผู้ตายไปฝังดินไว้ ภายหลังจากฆ่าผู้ตาย โดยจะขุดมาแบ่งกับพวก เมื่อเรื่องเงียบแล้ว ถือได้ว่าเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต เป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แล้ว ส่วนจำเลยที่ 1 จะขุดเอาทรัพย์ดังกล่าวขึ้นมาในภายหลังหรือไม่ เป็นดุลพินิจของจำเลยที่ 1 ไม่ทำให้การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เปลี่ยนแปลงไป จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์

– คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2527 จำเลยเช่าที่ดินโจทก์ทำไร่ แล้วจำเลยขุดเอาดินจากที่ดินนั้นไปขายโดยทุจริต จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ผิดฐานยักยอก เพราะการเช่าที่ดินนั้นผู้ให้เช่า ให้เช่าทรัพย์สินในสภาพที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อที่ดินถูกขุดขึ้นมาแล้ว ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่เช่า ดินที่ถูกขุดมาจึงคงอยู่ในความครอบครองของผู้ให้เช่า

author avatar
PongrapatLawfirm