คดีลิขสิทธิ์มีขั้นตอนอย่างไร

ขั้นตอนการปฏิบัติของตำรวจในคดีลิขสิทธิ์

 

  คดีลิขสิทธิ์ เป็นความผิดต่อส่วนตัว(ความผิดยอมความได้) ก่อนดำเนินคดีต้องมีการร้องทุกข์มอบคดีก่อน

 

เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้รับมอบอำนาจ ต้องมาแสดงตัวกับพนักงานสอบสวนพร้องเอกสารหลักฐานความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือมีหนังสือมอบ รับมอบอำนาจ  แล้วแสดงตัวแจ้งความร้องทุกข์(ป.วิอาญา มาตรา ๒ (๗) ) ว่ามีบุคคลละเมิดลิขสิทธิ์

 

พนักงานสอบสวน

ต้องสอบสวนได้ความว่า

  ๑. ผู้กล่าวหาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ถือหนังสือมอบ รับมอบอำนาจจริง (ระเบียบ ตร.ต้องใช้ต้นฉบับ)

 

  ๒. มีบุคคลกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์  เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจสอบสวน (ป.วิอาญา มาตรา ๑๘ ,๑๙) และผู้กล่าวหาได้มอบคดีให้ทำการสอบสวนโดยมีเจตนาจะให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิได้รับโทษ

 

๓. เมื่อได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้น ตาม ๑ , ๒ แล้วจึงทำการสอบสวนบันทึกถ้อยคำ จัดให้มีคำร้องทุกข์กล่าวโทษตามระเบียบ

และ #ออกเลขคดี (ป.วิอาญา มาตรา ๑๒๓ )

 

๔. หากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ถือหนังสือมอบ รับมอบอำนาจ ที่เป็นผู้กล่าวหาให้ข้อเท็จจริงว่า การละเมิดลิขสิทธิ์นั้น มีพฤติการณ์ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า เนื่องจากมีการประกาศขายในออนไลส์ และได้มีการทำทีติดซื้อไว้แล้ว จึงดำเนินการติดต่อฝ่ายสืบสวนหรือฝ่ายปราบปราม ร่วมกับเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ถือหนังสือมอบอำนาจไปดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ต่อไป

 

นั้นคือขั้นตอนในชั้นพนักงานสอบสวน

 

เมื่อพนักงานสอบสวน ติดต่อตำรวจฝ่ายสืบสวนหรือปราบปรามแล้ว

 

เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปพบว่ามีการขายสินค้าที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์จริง จึงแสดงตัวเข้าทำการจับกุม

เมื่อจับกุมแล้ว

 

อำนาจการจับกุมเป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ

 ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ถือหนังสือมอบอำนาจ แต่อย่างใด

 

#ตำรวจจับไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์

#ต้องบันทึกการจับกุมเป็นหลักฐาน

 

 #ต้องนำตัวผู้ถูกจับไปที่ทำการพนักงานสอบสวนท้องที่ที่ถูกจับ หรือส่งที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ป.วิอาญามาตรา ๘๓ วรรคหนึ่ง

 

หากจับกุมเด็กหรือเยาวชน ต้องดำเนินการตาม วิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนฯ

 

 ในส่วนการถอนคำร้องทุกข์นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อใด  ขั้นตอนไหน ก็เป็นอำนาจของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้ถือหนังสือมอบอำนาจ ว่ามีการมอบอำนาจให้ถอนคำร้องทุกข์ด้วยหรือไม่ ที่จะดำเนินการกับผู้ละเมิดลิขสิทธิ เอง และการถอนคำร้องทุกข์ผู้ต้องหาไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วย

 

ไม่ว่าจะถอนคำร้องทุกข์หรือไม่

 

พนักงานสอบสวนต้องทำสำนวนคดีส่งพนักงานอัยการ

 

หากถูกร้องเรียน

 

ประเด็นที่ ปปท. พิจารณา กระทำการ “ทุจริตในภาครัฐ” ซึ่งรวมไปถึงการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ละเว้นไม่ปฎิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ คำสั่งของ หน่วยงานด้วย

 

จะพิจารณา

 อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานชุดจับกุม  ว่าปฎิบัติอย่างไร เป็นไปตาม ป.วิอาญาหรือไม่

กรณี ไม่เป็นไปตาม ป.วิอาญา เป็นการกระทำ “ทุจริตในภาครัฐ” แล้ว

 

ส่วนจะมีความผิดทางวินัย หรืออาญา หรือทั้งวินัยและอาญา ก็ต้องไต่สวนก่อน เมื่อไต่สวนเสร็จสิ้นแล้ว มีข้อเท็จจริงจะชี้มูลทางวินัย หรืออาญา หรือทั้งวินัยและอาญา ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ได้มา

 

 

line PongrapatLawFirm
line PongrapatLawFirm
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
author avatar
PongrapatLawfirm