ทนายความคดีฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ทนายความคดีฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร […]
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 172 วรรคสอง, 407, 412, 413, 1435, 1437, 1463 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 755/2545
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น แต่มีสินสอด คือ เงินและ สร้อยคอทองคำ เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติกรรมที่ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอดแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นเงิน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าเงินและสร้อยคอทองคำไม่ใช่สินสอดขอให้ยกฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีจึงต้องห้ามมิให้ คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา เพราะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง |
คำพิพากษาฎีกาที่ 2528/2540
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำพิธีหมั้นกันโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 ได้มอบของหมั้นเป็นแหวนพลอยจำนวน 1 วง ในการหมั้นจำเลยที่ 1 สัญญาว่าหลังจากหมั้นแล้วจะทำพิธีแต่งงานอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยาตามประเพณีกันต่อไป ต่อมาจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโดยไปสมรสกับจำเลยที่ 2 ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ ดังนี้ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 กับโจทก์มิได้มีการหมั้นกันและจำเลยที่ 1 มิได้ผิดสัญญาหมั้น แสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าใจฟ้องโจทก์และต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ทั้งสาระสำคัญของคำฟ้องก็อยู่ที่ว่าได้มีการทำสัญญาหมั้นกันและมีการผิดสัญญาหมั้นหรือไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่นั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อแสดงให้เห็นว่าการหมั้นนั้นจะมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวมาในคำฟ้องด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 172 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 592/2540
โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามป.พ.พ.มาตรา 1457 ดังนั้น ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้นเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 บิดามารดาของจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตามมาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน
การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 420, 1437, 1439, 1440, 1457, 1458 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 7254/2539
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา กฎหมายลักษณะผัวเมีย ไม่ระบุ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ไม่ระบุ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ม. 1452, 1496 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ไม่ระบุ |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1092/2539
เมื่อไม่มีการหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรสจากจำเลยทั้งสามซึ่งไม่มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตาม ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 420, 1439 ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1117/2535
โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย เงินทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิงจึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1435, 1437, 1439 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 483/2533
จำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 อ้างว่าเนื่องจากโจทก์ที่ 1 มีสติไม่บริบูรณ์เหมือนคนธรรมดาและคล้ายกับปัญญาอ่อน แต่พฤติการณ์ที่ปรากฏในสำนวนยังไม่พอฟังว่าโจทก์ที่ 1 เป็นเช่นนั้น อันจะเป็นข้ออ้างที่มีเหตุสำคัญในการไม่ยอมจดทะเบียนสมรส จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น
จำเลยทั้งสามตกลงรับหมั้นจากฝ่ายโจทก์พร้อมทั้งรับของหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 มอบของหมั้นทั้งหมดให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1อันเป็นการผิดสัญญาหมั้น จำเลยทั้งสามซึ่งรับของหมั้นไว้ก็ต้องร่วมกันคืนของหมั้นแก่ฝ่ายโจทก์
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1439, 1443 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 5973/2533
การที่โจทก์หมั้นและแต่งงานตามประเพณีกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมต้องการอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะไม่ปรากฏว่าได้พูดกันถึงเรื่องการจดทะเบียนสมรสก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่กับโจทก์เพียงคืนเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อ้างว่าเหนื่อยขอผัดเป็นวันรุ่งขึ้นครั้นวันรุ่งขึ้นโจทก์ต้องช่วยนำสิ่งของที่ใช้ในงานแต่งงานส่งคืนเจ้าของ ไม่มีเวลาว่าง จึงให้จำเลยที่ 1 นำชุดสากลไปคืนที่ร้านในเมือง จำเลยที่ 1 ออกจากบ้านไปแล้วไม่กลับมาอยู่กินกับโจทก์อีกโดยไม่ปรากฏสาเหตุโจทก์ได้ออกตามหาตลอดมา แต่ไม่พบจำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 เคยแสดงท่าทีไม่อยากกลับไปแต่งงานกับโจทก์พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยที่ 1 หลบหนีไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1จำเลยทั้งสามจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1437, 1439, 1440 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 3868/2531
ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น ชายจะเรียกร้องของหมั้นและสินสอดคืนไม่ได้ทั้งไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายที่ได้ใช้จ่ายไปในการเตรียมการสมรส
เงินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย ไม่มีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิงหลังจากแต่งงานแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายหญิงต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้ฝ่ายชาย
หนี้เงินตามเช็คที่ชายหญิงยังมีข้อต่อสู้โต้เถียงกันอยู่ จะนำมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ชายหญิงมีอยู่ต่อกันไม่ได้
หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของหญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หญิงได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ชายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิงกล่าวอ้างลอย ๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชายรับผิดชดใช้ค่าทดแทน
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 344, 1437, 1439 ป.วิ.พ. ม. 84 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 763/2526
การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน
สินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
โจทก์และ ง. เป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงและมอบสินสอดให้ เพื่อให้ ง. กับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี มิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียกร้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1437, 1439, 1440 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1924/2523
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า “บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ” ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า สิทธิ ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบัญญัติว่า เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มา เพราะการสมรสนั้น มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่า โจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคล ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่า โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1490, 1494, 1629 วรรคท้าย พ.ร.บ.ให้ใช้บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ม. 5 ป.วิ.พ. ม. 182, 183 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 2626/2518
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยเหตุเพราะจำเลยผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1) ที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานะเมิดจากจำเลยจึงเป็นการวินิจฉัยที่ผิดไปจากคำฟ้องของโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีเสียใหม่ ให้ถูกต้องตามประเด็นแห่งคดีได้
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 โดยฝ่ายชายมีอายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์นั้น หาตกเป็นโมฆะไม่ ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎหมายที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445 ในเรื่องอายุทำนองเดียวกับมาตรา 1489 ก็มิได้บัญญัติให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกับบัญญัติว่าให้ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้นมีอำนาจต้องขอต่อศาลได้ และไม่ได้บังคับให้ศาลจำต้องสั่งให้เพิกถอนโดยเด็ดขาดด้วย แต่ให้อำนาจศาลที่จะเพิกถอนเสียก็ได้เท่านั้น คงมีแต่เฉพาะในเรื่องการผิดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1445(2),(3),(4) และ (5) เท่านั้นที่ให้ถือว่าเป็นโมฆะ
การหมั้นที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1435 เป็นโมฆะหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับอำนาจฟ้องหรือเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่ศาลล่างยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยเสียเองโดยคู่ความมิได้ยกขึ้นต่อสู้จึงไม่ชอบ
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับ ร. และเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น ร.ย่อมต้องได้รับความเสียหายต่อกายและชื่อเสีย และมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(1)
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1435, 1439(1), 1445, 1489 ป.วิ.พ. ม. 142, 242, 247 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 2086/2518
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น เรียกค่าทดแทนความเสียหายจากจำเลย 26,050 บาท จำเลยปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหาย 4,320 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยใช้ 1,220 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยใช้ค่าทดแทนความเสียหายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ แม้ในชั้นฎีกา คดีจะมีทุนทรัพย์ 3,100 บาท แต่จำนวนทุนทรัพย์แห่งคดีที่จะพิจารณาว่า โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตามทุนทรัพย์ในศาลชั้นต้น มิใช่ถือตามทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา เมื่อคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในศาลชั้นต้นจำนวน 26,050 บาท โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2518)
ค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงาน ไม่ใช้ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439(2)
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1439 (2) ป.วิ.พ. ม. 248 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 878/2518
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส และเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 303, 306, 349, 1436 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 564/2518
โจทก์ได้เสียกับจำเลยโดยถูกจำเลยหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภริยา เมื่อโจทก์ตั้งครรภ์จำเลยไม่เลี้ยงดู โจทก์จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนเรียกจำเลยไป จำเลยรับว่าได้เสียกับโจทก์จริง รับจะเลี้ยงดูโจทก์เป็นภริยาพนักงานสอบสวนจึงแนะนำให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตาม กฎหมายต่อไป และได้ทำบันทึกให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ แต่โจทก์ก็ไม่เลี้ยงดูหรือจดทะเบียนสมรสกับจำเลย ดังนี้ แม้จำเลยจะหลอกลวงว่าจะเลี้ยงดูโจทก์เป็นภริยา การกระทำของจำเลยก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุดังกล่าวไม่ได้ (นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 576/2488) และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามบันทึกของพนักงานสอบสวน เพราะมิได้มีข้อกำหนดว่าจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาดังกล่าว และมิใช่กรณีผิดสัญญาหมั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438, 1439 ด้วย
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 420, 1438, 1439 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1971/2517
การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้นการที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จะเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 421, 1438 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1305/2514
ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นนั้นลำพังแต่การที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น หาเป็นผลก่อให้เกิดความเสียหายแก่กายหรือชื่อเสียงของอีกฝ่ายหนึ่งเสมอไปไม่ (เป็นหน้าที่ของฝ่ายที่อ้างว่าเสียหายจะต้องนำสืบพิสูจน์)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อชื่อเสียงจากจำเลยโดยอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่จำเลยผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้างสาเหตุที่ทำให้เกิดการถอนหมั้น ดังที่โจทก์นำสืบก็ไม่ปรากฏว่าทำความเสียหายให้โจทก์แต่อย่างใด การที่โจทก์กล่าวลอย ๆ ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายนั้น ยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่า โจทก์ได้รับความเสียหายอันจะกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทน
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1438, 1439 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 525/2509
การหมั้นและจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิง อันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้น ดังนี้ จึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้น มิใช่เหตุจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 ได้.
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1436, 1438 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 421/2508
(1) ในสำนวนแรกที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาหมั้น เรียกค่าสินสอดของหมั้นและค่าทดแทนโดยอ้างว่าจำเลยไม่ส่งตัวจำเลยที่ 3 ให้หลับนอนกับโจทก์ และไม่จัดการให้ไปจดทะเบียนสมรส โดยจำเลยที่ 3 ได้หลบหนีไปเสียนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 – 2 ซึ่งเป็นบิดามาตราของจำเลยที่ 3 มิได้รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่ 3 หลบหนีไป ตรงข้ามยังได้จัดการส่งตัวจำเลยที่ 3 เข้าห้องเรือนหอร่วมกับโจทก์ และเมื่อโจทก์บอกจำเลยที่ 2 – 3 ให้จัดการเรื่องจดทะเบียนสมรสแล้วจำเลยได้ขอผัดเป็นวันหลัง โจทก์ก็ไม่เร่งรัด ครั้นแต่งงานได้ 3 วัน เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 เดินทางผ่านอำเภอ โจทก์ก็ไม่ชวนจำเลยที่ 3 ให้แวะเข้าไปจดทะเบียน ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์ไม่สนใจนำพาต่อการจดทะเบียนเอง เช่นนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินสอดของหมั้นและค่าทดแทน
(2) ส่วนในสำนวนหลังที่จำเลยกลับฟ้องโจทก์ว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรส และเรียกค่าเสียหายนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การที่โจทก์ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 3 นั้น จะปรับเป็นความผิดของโจทก์มิได้ เพราะภายหลังพิธีแต่งงานแล้ว จำเลยที่ 3 ได้ร่วมอยู่กินหลับนอนกับโจทก์ได้เพียง 3 วันแล้วก็หลบหนีไปเพราะทนต่อวิธีร่วมประเวณีของโจทก์มิได้ จนเกิดฟ้องร้องกันขึ้นแล้ว จำเลยที่ 3 จึงกลับใจจะขออยู่กินฉันสามีภรรยากับโจทก์ โดยขอให้ไปจดทะเบียนสมรสแต่โจทก์ไม่ยินยอมเพราะเกรงจำเลยที่ 3 จะทำเช่นเดิม เช่นนี้ จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหมั้นอันจะต้องใช้ค่าเสียหายตามที่จำเลยฟ้องโจทก์และเรียกร้องมานั้นหาได้ไม่
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 55 ป.พ.พ. ม. 1435, 1436, 1438, 1439, 1441, 1442, 1449 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1515/2506
ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์ให้มีการจดทะเบียนสมรสด้วยนั้น หากฝ่ายหญิงไม่ยอมจดทะเบียนทำให้การสมรสไม่สมบูรณ์ ชายเรียกสินสอดคืนได้
ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูแขกที่จ่ายไปในพิธีแต่งงาน ที่ไม่มีการหมั้นและไม่สมบูรณ์เพราะไม่จดทะเบียนสมรสนั้น หาอาจเรียกค่าทดแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่ เพราะไม่เป็นการผิดสัญญาหมั้น และไม่เข้าลักษณะอันเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1439 (2)
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1436, 1438, 1439 (2), 1449 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 679/2506
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำะรหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น โดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้น จะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกัน โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.วิ.พ. ม. 21 (2), 57 (3), 175 (1) |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1217/2496
ฝ่ายชายได้ดำเนินการสู่ขอฝ่ายหญิงจนได้มีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่นแล้วคือฝ่ายชายได้นำหมากพลูและผ้าขาวไปเคารพฝ่ายหญิง และได้กำหนดนัดวันทำพิธีสมรสแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น และการตกลงทำการสมรสแล้วทุกประการ เมื่อถึงวันกำหนดแต่งงานฝ่ายชายไม่มาตามกำหนด ฝ่ายหญิงย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.พ.พ. ม. 1438 |
คำพิพากษาฎีกาที่ 1198/2492
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิแก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชาย เฉย ๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
ดูย่อฏีกายาว ดูฎีกายาวเพื่อพิมพ์ ดูภาพถ่ายต้นฉบับ |
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา ป.ม.แพ่งฯ ม. 5, 1436. ตารางท้าย ป. ม. วิ.แพ่ง ป.ม.วิ.แพ่ง ม. 1(16), 161, 167, 168, 186, 237, 246. |