ทนายความคดีฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ทนายความคดีฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร

ทางทนายความให้คำปรึกษาคดีฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร  แบ่งสินสมรส  จัดการสินสมรส  เพื่อดำเนินการสู้คดีในชั้นศาล ด้วยความยุติธรรม รวมถึงเหตุฟ้องหย่า ฟ้องตามบันทึกข้อตกลง หรือฟ้องเรียกค่าทดแทนชายชู้ หญิงชู้ ที่ท่านได้รับความเดือดร้อนทุกข์ใจ

โทรหาผม ทนายพัตร์

Tel : %e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c

แนวทางและการฟ้องต่อสู้คดีฟ้องหย่า แบ่งสินสมรส อุปการะเลี้ยงดูบุตร

2604/2516 บิดาและมารดายกเงินซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่บุตร โดยนำเข้าฝากธนาคารในบัญชีชื่อของบุตร รวมกับเงินของบุตรเมื่อบุตรยังเป็นผู้เยาว์อยู่ บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และเป็นผู้มีสิทธิเบิกเงินในบัญชีดังกล่าวมาใช้ตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537,1545 แม้บิดามอบหมายให้มารดาเป็นผู้เบิกเงินในบัญชีดังกล่าวจากธนาคารใช้เพื่อการศึกษาของบุตรก็เป็นการมอบหมายให้ทำแทนบิดาเท่านั้น ทั้งมารดาก็มิใช่ผู้ยากจนจึงมีสิทธิเบิกเงินในบัญชีดังกล่าวมาใช้สอยส่วนตัวไม่   เงินที่มารดาเบิกมาใช้สอยส่วนตัวนั้น มารดาต้องใช้คืนบุตร

คำพิพากษาฎีกาที่ 2604/2516   (ประชุมใหญ่)              

โจทก์ พนักงานอัยการ กรมอัยการ เพื่อประโยชน์แก่เด็กหญิงนวลมณี มหาคุณ  เด็กชาย วรพล มหาคุณ และเด็กชายเอกชัย มหาคุณ

จำเลย           นางนุรี มหาคุณ ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521, 523, 797, 1534, 1537, 1543, 1545, 1546

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161

พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11

โจทก์ฟ้องว่า นายศุภสิทธิ มหาคุณ กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นผู้เยาว์ นายศุภสิทธิ ฝากเงินไว้กับธนาคารแห่งอเมริกาในนามของบุตรเพื่อนำผลประโยชน์จากเงินที่ฝากเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตร และมอบให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดูแลรักษาผลประโยชน์แทน กับมีสิทธิถอนเงินผลประโยชน์ดังกล่าวไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของบุตรทั้งสาม ต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องหย่าจากนายศุภสิทธิ แล้วถอนเงินฝากของบุตรทั้งสาม เป็นจำนวน 935,908.88 บาท ทั้งนี้ โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาจำเลยที่ 1 รู้เห็นและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เก็บรักษาเงิน 300,000 บาทไว้เพื่อประโยชน์ของจำเลยทั้งสาม ส่วนเงินที่เหลือ 635,960.88 บาท จำเลยที่ 1 นำไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของตนเองอย่างสุรุ่ยสุร่ายโดยไม่มีอำนาจ และไม่ได้ใช้จ่ายเพื่อผลประโยชน์ของบุตร ขอให้จำเลยทั้งสามคืนหรือใช้เงินตามความรับผิด พร้อมด้วยดอกเบี้ย

จำเลยที่ 1 ให้การว่า ไม่ใช่คดีอุทลุม โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะผู้เยาว์ไม่ได้ร้องขอพนักงานอัยการให้ฟ้องเงินฝากของบุตรผู้เยาว์ทั้งสามเป็นเงินที่นายศุภสิทธิและจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นสินสมรสฝากธนาคารไว้ในนามบุตรทั้งสาม จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนจากธนาคารไปใช้ได้ทั้งเงินฝากและผลประโยชน์ เพราะนายศุภสิทธิมีภรรยาใหม่และไม่อุปการะเลี้ยงดูจำเลยที่ 1 และบุตรเงินที่ถอนนำไปใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ตามฐานานุรูปและอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตร จึงไม่ต้องคืนหรือใช้เงิน

จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ไม่ได้ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1และไม่มีนิติสัมพันธ์กับเด็กทั้งสาม เงินที่จำเลยที่ 1 ฝากไว้เป็นเงินของจำเลยที่ 1 เอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า นายศุภสิทธิมีอำนาจร้องขอต่อพนักงานอัยการแทนบุตรทั้งสามได้ เงินฝากตามบัญชีเป็นของบุตรทั้งสามบางส่วน นอกนั้นเป็นเงินของนายศุภสิทธิบ้าง เงินของจำเลยที่ 1 บ้าง จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนายกเงินให้บุตรทั้งสาม โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และจำเลยที่ 2 ที่ 3 รู้เห็นในเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาฝาก กับไม่มีข้อเท็จจริงว่าฝากเงินเพื่อประโยชน์ของจำเลยทั้งสาม พิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

โจทก์ฎีกา

ในปัญหาที่ว่าเงินตามที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนจำนวน 935,908.88 บาท ซึ่งจำเลยแถลงรับว่าเป็นยอดเงินที่ถูกต้องเป็นเงินของใครนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เงินในบัญชีชื่อเด็กทั้งสามที่พิพาทกันนี้เป็นเงินที่มาจากสินสมรสระหว่างนายศุภสิทธิกับจำเลยที่ 1 ระคนปนอยู่กับเงินส่วนตัวของเด็กทั้งสามเองด้วย ส่วนปัญหาที่ว่าเงินจำนวนที่ฝากไว้ที่ธนาคารทั้งหมดที่พิพาทกันจะฟังว่าเป็นของใครนั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเงินส่วนของเด็กทั้งสามย่อมไม่มีปัญหา ต้องฟังว่าเป็นของเด็กทั้งสาม การที่นายศุภสิทธิได้เปิดบัญชีเงินฝากให้บุตรทั้ง 3 คนซึ่งผู้ฝากเป็นผู้ปกครอง แต่เงินที่ฝากเป็นเงินให้เด็ก จึงเชื่อได้ว่านายศุภสิทธิมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากดังกล่าวให้แก่เด็กโดยแยกการเก็บรักษาไว้เป็นส่วนสัดต่างหาก โดยความรู้เห็นยินยอมจากจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเงินจำนวนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้รับและได้นำเข้าฝากในบัญชีของเด็กทั้งสาม ก็ต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกเงินก้อนนั้นให้แก่เด็กทั้งสามแล้ว เงินที่พิพาทในบัญชีธนาคารแห่งอเมริกาตามที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเงินของเด็กทั้งสามทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่นายศุภสิทธิหรือจำเลยที่ 1 ฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของเด็กทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ ส่วนการที่ต้องมีข้อตกลงกับธนาคารว่า ผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้นเป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคาร เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก อนึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 และ 1546 ก็ได้บัญญัติให้อำนาจและวิธีการแก่ผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะนำเงินของบุตรไปใช้จ่ายได้อยู่ก็ย่อมจำเป็นอยู่เองที่จะต้อง

มีการระบุชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะถอนเงินของบุตรจากธนาคารไว้ด้วยมิฉะนั้นจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่จำเลยจะต้องถอนมาใช้จ่ายตามอำนาจส่วนที่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจเบิกเงินจากบัญชีของเด็กได้นั้น โจทก์ก็นำสืบอยู่ว่านายศุภสิทธิได้มอบให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เบิกเงินมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของเด็ก จึงเป็นเรื่องมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่แทนนายศุภสิทธิตามธรรมดานั่นเอง

ในปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 จะนำเอาเงินของเด็กไปใช้สอยได้แค่ไหนเพียงใดหรือไม่นั้น วินิจฉัยว่า แม้บุตรผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะจะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาก็ตาม แต่อำนาจปกครองโดยแท้จริงคงอยู่ที่บิดาเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 ฉะนั้น บิดาจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และผู้ใช้อำนาจปกครองเท่านั้นจึงจะมีสิทธิเอาเงินของบุตรมาใช้ได้ตามสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1545 จำเลยที่ 1 ก็หาใช่บุคคลที่ยากจน จึงไม่มีสิทธิและไม่สมควรที่จะเอาเงินของบุตรไปใช้สอยส่วนตัว สำหรับเงินที่ใช้สอยในการเลี้ยงดูและให้การศึกาาแก่เด็กทั้งสามซึ่งจำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แต่ก็ไม่ได้นำสืบว่าใช้จ่ายไปเท่าใด จึงไม่อาจคำนวณหักให้แก่จำเลยที่ 1 ได้

คดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 วินิจฉัยว่า ถ้าหากมีทรัพย์สินของเด็กทั้งสามไปตกอยู่ที่ใด เด็กในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้จะอ้างว่าเด็กทั้งสามไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ แต่คดีนี้จำเลยที่ 1 นำสืบว่าได้เอาเงิน 300,000 บาท คืนมาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบหักล้าง จึงต้องฟังว่าเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนไม่ได้อยู่ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้ว และไม่อาจบังคับได้

พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินตามฟ้องพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนค่าทนายความคดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีในนามของตนเองแทนเด็กตามอำนาจหน้าที่ในกฎหมายโดยไม่ได้มีการแต่งตั้งทนาย จึงไม่สั่งให้ค่าทนายความ

( ชลอ จามรมาน – ประสาท สุคนธมาน – อุดม ทันด่วน )

ดอกผล, มรดก

370/2506 ลูกสุกรเกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่งเลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ลูกสุกรและเงินที่ขายสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยาส่วนของเจ้ามรดกตกเป็นมรดกด้วยทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและสุกรแม่อย่างไร ก็มีส่วนแบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2506

โจทก์ นางแผ้ว บริบูรณ์

จำเลย นางกลึง พิณโฑแก้ว

กฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111, 1466, 1600

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177

คดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของนายสนั่นเจ้ามรดก ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสนั่นตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีปัญหาขึ้นมาสู่ศาลฎีกาเฉพาะทรัพย์รายการที่ 4 คือ เงินค่าขายสุกร คู่ความรับกันว่าสุกรมี 9 ตัว ขายไปในราคา 4,916 บาท และได้ความว่าสุกร 9 ตัวนี้เกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่งเลี้ยงไว้ในระหว่างที่นายสนั่นยังมีชีวิตอยู่แต่เกิดเมื่อนายสนั่นตายแล้วได้ 7 วัน เพิ่งขายไปหลังจากนายสนั่นตาย 2 ปีเศษ

ศาลชั้นต้นเห็นว่า ลูกสุกร 9 ตัวนี้เป็นดอกผลธรรมดาของสุกรพ่อแม่ซึ่งเป็นสินสมรส จึงเป็นสินสมรสเงินค่าขายสุกรย่อมเป็นสินสมรสด้วยตามลักษณะช่วงทรัพย์ โจทก์ผู้เป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในมรดกที่เป็นสินสมรสของนายสนั่น เงินค่าขายสุกร 4,916 บาทนี้ ให้คิดหักใช้สินเดิม 1,320 บาท ให้จำเลยก่อน ที่เหลือเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 68 จำเลยมีสินเดิมฝ่ายเดียวได้ 2 ส่วน นายสนั่นไม่มีสินเดิมได้ส่วนเดียว สินสมรสส่วนของนายสนั่นเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ จำเลยผู้เป็นทายาทคนละกึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1633, 1635(1) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง 1 ใน 6 เป็นเงิน 599 บาท 33 สตางค์

จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

จำเลยฎีกาว่าลูกสุกรนี้เกิดภายหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว จึงไม่เป็นมรดกและหากว่าเป็นมรดก การคำนวณราคาต้องคำนวณราคาในวันแรกเกิดคือ ตัวละ 10 บาท เพราะที่ขายไปได้รวมราคาถึง 4,916 บาท ก็เพราะจำเลยเสียค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูเป็นเวลา 1 ปี ราคาส่วนที่เกินจาก 90 บาทนั้นไม่เป็นมรดกไปด้วย

ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อนายสนั่นตาย สุกรพ่อและสุกรแม่เป็นมรดกซึ่งโจทก์มีส่วนแบ่ง 1 ใน 6 อยู่แล้ว ลูกสุกรซึ่งเกิดจากสุกรอันเป็นมรดก ก็คงเป็นของทายาทตามส่วนเดิมอยู่นั่นเอง ส่วนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกร เจ้าของรวมต้องช่วยกันออกตามส่วนของตน ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่ลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อนก็ได้ แต่จำเลยมิได้เรียกให้โจทก์ชำระหนี้ค่าใช้จ่าย โดยมิได้ขอหักมาในคำให้การสู้คดี เมื่อมิได้เรียกร้องขอหักโดยอ้างว่าตนออกค่าใช้จ่ายคนเดียว จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยในข้อนี้ พิพากษายืน

author avatar
PongrapatLawfirm