-
Notary Public ทนายความรับรองเอกสาร ทนายความรับรองลายมือชื่อ มีหน้าที่อะไร คืออะไร
-
โนตารี พับลิค Notary Public มีหน้าที่อะไร
-
รับรองคำแปลเอกสาร/certified true translation
-
รับรองลายมือชื่อในเอกสาร/certified true signature/applicant declaration notary public
-
รับรองสำเนาเอกสาร/certified true copy
-
รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น
-
รับรองตัวบุคคล
-
รับรองข้อเท็จจริง
-
จัดทำคำสาบาน
-
รับรองความมีอยู่ของเอกสาร
-
ทำคำคัดค้านตราสาร
-
จัดทำบันทึกคำให้การ/Affidavit notary public
-
ทำหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
-
Notary public ในประเทศไทยจะเป็นผู้ที่เข้ามารับรองความถูกต้องของหนังสือมอบอำนาจและรับรองลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจให้ด้วยใจ แม้ว่าเอกสารนั้นตนอาจจะไม่ได้มีส่วนทำขึ้น และไม่ได้ลงนามต่อหน้าตนเองก็ตาม
-
ตัวอย่างเช่น คนญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะขายบ้าน แต่ตนเองอยู่ในประเทศไทย โดยต้องการที่จะมอบอำนาจให้ทนายความของตนที่ประเทศญี่ปุ่นจัดการให้และลงนามในหนังสือมอบอำนาจ เช่นนี้ ทางฝ่ายผู้ซื้อจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ผู้ขายได้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจนั้นจริง เป็นผู้ขายที่แท้จริงและลงนามในหนังสือมอบอำนาจจริง กรณีเช่นนี้
ในต่างประเทศหลายๆประเทศมักมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยโนตารี พับลิค Notary Public กำหนดอำนาจหน้าที่ ลักษณะงานที่จะต้องทำโดยโนตารี พับลิค ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บ รวมถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นโนตารี พับลิค ข้อบังคับ จรรยาบรรญ และบทลงโทษไว้ด้วย
สำหรับประเทศไทยเรานั้น เดิมเราไม่มีกฎหมายว่าด้วยโนตารี พับลิค ดังนั้นจึงเกิดการติดขัดขัดข้องในการทำนิติกรรมของคนไทย ในต่างประเทศเสมอมา ทุกครั้งที่ต่างประเทศเรียกร้องให้โนตารี พับลิคในประเทศไทยทำการรับรองเอกสารหรือขอให้นำเอกสารไปลงนามต่อหน้าโนตารี พับลิค ก่อน ที่จะส่งไปใช้ต่างประเทศ เช่นนี้ ฝ่ายไทยจะต้องชี้แจงว่าประเทศไทยยังไม่มีโนตารี พับลิค และเมื่อชี้แจงเช่นนี้ ทางต่างประเทศมักจะขอให้นำเอกสารไปลงนามต่อหน้าทนายความ หรือให้ทนายความรับรองแทน เหตุผลที่ทางต่างประเทศให้ทนายความไทยทำหน้าที่แทนโนตารี พับลิค ก็เพราะเขาให้ความเชื่อถือในวิชาชีพทนายความ ซึ่งทนายความไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารด้วยดีตลอดมา
เนื่องจากเกิดความขัดข้องในการดำเนินธุรกิจ และการทำนิติกรรมของประชาชนที่กล่าวมาข้างต้น สภาทนายความได้หาวิธีแก้ปัญหานี้ให้แก่ประชาชน ด้วยความเชื่อที่ว่างานใดที่เอกชนทำได้ รัฐก็ไม่ควรจะทำ ควรปล่อยให้เอกชนทำดีกว่า งานรับรองเอกสารและงานรับรองลายมือชื่อเป็นงานที่ควรจะทำโดยทนายความ เพราะเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจยอมรับว่าเป็น ผู้รู้กฎหมายและเป็นผู้ที่ประพฤติตนอยู่ในกรอบกฎหมาย อีกทั้งยังมีกรอบข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความบีบบังคับทนายความอีกชั้นหนึ่งด้วย
สภาทนายความได้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 และต่อมาได้มีข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.2551 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 3 ง เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2552 ซึ่งให้อำนาจสภาทนายความในการจัดให้มีการอบรมให้แก่ผู้ที่เป็นทนายความให้มีความรู้เรื่องในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร และเรียนรู้งานโนตารี พับลิคที่ทำต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในประเทศไทย รวมทั้งอบรมเรื่องมรรยาทในการทำหน้าที่ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารและได้จัดทำดวงตราและวุฒิบัตรมอบให้แก่ผู้ที่ผ่านการอบรมด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ทนายความผู้ที่ผ่านการอบรมได้นำไปใช้ในการทำคำรับรองของตนและให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า Notarial Services Attorney ซึ่งทำหน้าที่บันทึกและรับรองเอกสาร นิติกรรม ข้อเท็จจริง และบุคคลเช่นเดียวกับ Notary Public
-
ถอดเนื้อหาบางส่วนมาจากบทนำอบรมทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร อาจารย์อนงค์พร ธนชัยอารีย์