ทนายสู้คดีลิขสิทธิ์ การจับแบบไหนถึงไม่ผิดคดีลิขสิทธิ์
เรื่องคดีลิขสิทธิ์ มีประเด็นการต่อสู้หลายแบบ ซึ่งบางท่า […]
“ ทนายคดีจัดการมรดก และพินัยกรรม”
ตามหลักแล้วสิ่งที่มาคู่กับ มรดก คือ มรณะ เสมอ เมื่อเจ้าของทรัพย์ หรือเจ้าของมรดกนั้นๆ ถึงแก่อนิจกรรม จำเป็นต้องมีการจัดการมรดก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แบ่งประเภทของทายาทผู้มีสิทธิได้รับ มรดกไว้เป็น 2 ประเภท ตามมาตรา 1603 คือ
ตามมาตรา ๑๖๒๙ ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับเท่านั้น สิทธิในการได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ผู้สืบสันดาน
(๒) บิดามารดา
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(๕) ปู่ ย่า ตา ยาย
(๖) ลุง ป้า น้า อา
** คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา ๑๖๓๕ ทายาทโดยธรรม หมายถึง ทายาทที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ให้มีสิทธิรับมรดกของ เจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกตาย ถือว่าเป็นการรับมรดกโดยผลของกฎหมาย แม้ว ว่าตนเองจะไม่ ประสงค์รับมรดกก็ตาม **
ผู้รับพินัยกรรม คือทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกตามที่ผู้เสียชีวิตกำหนดไว้ในพินัยกรรม ซึ่งจะเป็นลูกหลาน บิดามารดา ญาติพี่น้อง หรืออาจเป็นบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็ได้ โดยทายาทประเภทนี้เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม
การทำพินัยกรรมนั้นมีความสำคัญ และไม่จำเป็นจะต้องทำเฉพาะในกลุ่มผู้มีสินทรัพย์มาก เท่านั้น แต่ใครก็สามารถทำพินัยกรรมได้ เพราะมรดก ไม่ได้หมายถึงแค่เงินของผู้เสียชีวิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงที่ดิน เงินที่ลูกหนี้ยืมไป ดอกเบี้ย ค่าเช่า บ้าน เงินปันผลกองทุน เงินประกันต่างๆ รวมถึงหนี้สินของผู้เสียชีวิตด้วย
หากท่านมีข้อสงสัย สามารถติดต่อผม ทนายพัตร์
TikTok @PongrapatLawFirm