คำว่า ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เป็นคำที่หมายถึง ทั้งโจทก์ และ จำเลย ต่างก็เป็นผู้ที่ก่อความเสียหายให้แก่กันด้วยกันทั้งสองฝ่าย
แต่กฎหมาย กำหนดให้ศาลจำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่า เมื่อเห็นว่า ทั้งโจทก์ และจำเลยต่างก่อความเสียหายด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้วนั้น ฝ่ายใดกันละที่เป็นฝ่ายก่อความเสียหายมากน้อยเพียงใดหรือเท่าใด
ถ้าศาลเพียงแต่ วินิจฉัยว่า โจทก์ก็มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปเลยนั้้น ถือว่าศาลยังมิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2142/2559)
เพราะกฎหมาย ใช้ถ้อยคำว่า “” ฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร”” ดังนั้นจากถ้อยคำในตัวบทกฎหมาย จึงแยกได้เป็น
1. หากก่อความเสียหายไม่ ยิ่งหย่อนกว่ากัน
2. แล้วฝ่ายใดก่อความเสียหาย เพียงไร
(ตาม มาตรา 223 (หนี้) และ มาตรา 442 (ละเมิด) ของ ป.พ.พ)
คดีตามฎีกานี้ คือ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1400/2566
คดีก่อน โจทก์ ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ในมูลละเมิด (รถยนต์ชนกัน) ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า โจทก์มีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย
คดีนี้ (คดีตามฎีกา) บริษัทประกันภัยฯ ฟ้องจำเลย (โจทก์ในคดีก่อน) เพื่อให้ชดใช้เงิน
จำเลยในคดีนี้ ต่อสู้ว่า ศาลในคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาประเด็นเรื่องละเมิดอีกแล้ว เพราะศาลในคดีก่อนได้พิพากษาไว้แล้วว่า ทั้งโจทก์และจำเลยในคดีก่อนนั้น ต่างก็ประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หากศาลในคดีนี้พิจารณาประเด็นนี้อีก ย่อมเป็น “”การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ”” (วินิจฉัยประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยไปแล้วซ้ำอีก)
คดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยสรุปใจความได้ว่า
“” ….. ประเด็นเรื่องจำเลยทำละเมิดหรือไม่นั้น แม้จริงอยู่ว่า ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยไปแล้วว่า ทั้งโจทก์และจำเลยในคดีก่อน ต่างก็มีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ว่า ศาลในคดีก่อนยังไม่ได้ลงวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยในคดีก่อน มีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพียงใด จึงต้องถือว่า ประเด็นนี้ยังไม่ยุติ การที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยและขอนำสืบว่าจำเลยต้องรับผิดเพียงใดนั้น จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน …..”” (ฎ. 1400/2566)
ขออธิบายให้เข้าใจโดยง่าย คือ
1. คดีก่อน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพียงแต่ วินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องเลย และคดีถึงที่สุดในชั้นของศาลอุทธรณ์
2. แต่กฎหมาย ไม่ได้ให้ศาลวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์มีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย เพราะกฎหมายให้ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่า แล้วค่าเสียหายของแต่ละฝ่ายจะให้รับผิดอย่างไร ซึ่งมีตัวเลือกให้ศาลดังนี้
2.1 ให้ตกเป็นพับ คือ ต่างไม่ต้องรับผิดด้วยกันทั้งสองฝ่าย (เทียบ ฎ. 6502/2558,1141/2536,1582/255/,11076/2557)
2.2 ให้รับผิดบางส่วนหรือกึ่งหนึ่ง คือ ให้จำเลยรับผิดเพียงบางส่วนหรือให้รับผิดกึ่งหนึ่ง (เทียบ ฎ.4443/2559,16386/2557)
3. พอศาลในคดีก่อนยังวินิจฉัยไม่ครบถ้วน จึงมีผลให้บริษัทประกันภัย ยังคงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเอากับจำเลยในคดีนี้ได้ และขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเรื่องว่าจำเลยละเมิดหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด (ตัวบทใช้คำว่า “”เพียงไร”” มาตรา 223 ของ ป.พพ.)
ดังนั้น เมื่อศาลยังวินิจฉัยไม่ครบถ้วน ประเด็นเรื่องว่าจำเลยประมาทหรือละเมิดหรือไม่ แม้ศาลในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่า จำเลยมีส่วนประมาทและละเมิดก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดหรือเพียงไร จึงต้องถือว่าศาลในคดีก่อนยังวินิจฉัยไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
แต่ในทางกลับกัน หากศาลในคดีก่อน พิพากษาว่า โจทก์และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยให้ถือว่าโจทก์และจำเลยต่างไม่ต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งกัน และกันและให้ค่าเสียหายตกเป็นพับ ถ้าศาลในคดีก่อนพิพากษาโดยใช้ถ้อยคำในลักษณะนี้ บริษัทประกันภัย ก็จะไม่มีอำนาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยได้อีก (เทียบ ฎ. 1722/2548)
นี่คือ เสน่ห์ของกฎหมาย ที่ทุกๆถ้อยคำในตัวบทกฎหมาย ย่อมมีความหมายเสมอ แม้จะเป็นถ้อยคำเล็กๆหรือถ้อยคำสั้นๆก็ตาม “” คดีโลกคดีธรรม ปล. (ปัจฉิมลิขิต) ภาพประกอบ มาจากเพจ “”คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ”””” คำว่า “”ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน”” เป็นคำที่หมายถึง ทั้งโจทก์ และ จำเลย ต่างก็เป็นผู้ที่ก่อความเสียหายให้แก่กันด้วยกันทั้งสองฝ่าย
แต่กฎหมาย กำหนดให้ศาลจำต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่า เมื่อเห็นว่า ทั้งโจทก์ และจำเลยต่างก่อความเสียหายด้วยกันทั้งสองฝ่ายแล้วนั้น ฝ่ายใดกันละที่เป็นฝ่ายก่อความเสียหายมากน้อยเพียงใดหรือเท่าใด
ถ้าศาลเพียงแต่ วินิจฉัยว่า โจทก์ก็มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ไปเลยนั้้น ถือว่าศาลยังมิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2142/2559)
เพราะกฎหมาย ใช้ถ้อยคำว่า “” ฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร”” ดังนั้นจากถ้อยคำในตัวบทกฎหมาย จึงแยกได้เป็น
1. หากก่อความเสียหายไม่ ยิ่งหย่อนกว่ากัน
2. แล้วฝ่ายใดก่อความเสียหาย เพียงไร
(ตาม มาตรา 223 (หนี้) และ มาตรา 442 (ละเมิด) ของ ป.พ.พ)
คดีตามฎีกานี้ คือ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1400/2566
คดีก่อน โจทก์ ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ในมูลละเมิด (รถยนต์ชนกัน) ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า โจทก์มีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย
คดีนี้ (คดีตามฎีกา) บริษัทประกันภัยฯ ฟ้องจำเลย (โจทก์ในคดีก่อน) เพื่อให้ชดใช้เงิน
จำเลยในคดีนี้ ต่อสู้ว่า ศาลในคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาประเด็นเรื่องละเมิดอีกแล้ว เพราะศาลในคดีก่อนได้พิพากษาไว้แล้วว่า ทั้งโจทก์และจำเลยในคดีก่อนนั้น ต่างก็ประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หากศาลในคดีนี้พิจารณาประเด็นนี้อีก ย่อมเป็น “”การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ”” (วินิจฉัยประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยไปแล้วซ้ำอีก)
คดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยสรุปใจความได้ว่า
“” ….. ประเด็นเรื่องจำเลยทำละเมิดหรือไม่นั้น แม้จริงอยู่ว่า ศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยไปแล้วว่า ทั้งโจทก์และจำเลยในคดีก่อน ต่างก็มีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่ว่า ศาลในคดีก่อนยังไม่ได้ลงวินิจฉัยว่าโจทก์และจำเลยในคดีก่อน มีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพียงใด จึงต้องถือว่า ประเด็นนี้ยังไม่ยุติ การที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยและขอนำสืบว่าจำเลยต้องรับผิดเพียงใดนั้น จึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน …..”” (ฎ. 1400/2566)
ADMIN ขออธิบายให้เข้าใจโดยง่าย คือ
1. คดีก่อน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพียงแต่ วินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องเลย และคดีถึงที่สุดในชั้นของศาลอุทธรณ์
2. แต่กฎหมาย ไม่ได้ให้ศาลวินิจฉัยเพียงว่าโจทก์มีส่วนประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลย เพราะกฎหมายให้ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไปอีกว่า แล้วค่าเสียหายของแต่ละฝ่ายจะให้รับผิดอย่างไร ซึ่งมีตัวเลือกให้ศาลดังนี้
2.1 ให้ตกเป็นพับ คือ ต่างไม่ต้องรับผิดด้วยกันทั้งสองฝ่าย (เทียบ ฎ. 6502/2558,1141/2536,1582/255/,11076/2557)
2.2 ให้รับผิดบางส่วนหรือกึ่งหนึ่ง คือ ให้จำเลยรับผิดเพียงบางส่วนหรือให้รับผิดกึ่งหนึ่ง (เทียบ ฎ.4443/2559,16386/2557)
3. พอศาลในคดีก่อนยังวินิจฉัยไม่ครบถ้วน จึงมีผลให้บริษัทประกันภัย ยังคงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเอากับจำเลยในคดีนี้ได้ และขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเรื่องว่าจำเลยละเมิดหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด (ตัวบทใช้คำว่า “”เพียงไร”” มาตรา 223 ของ ป.พพ.)
ดังนั้น เมื่อศาลยังวินิจฉัยไม่ครบถ้วน ประเด็นเรื่องว่าจำเลยประมาทหรือละเมิดหรือไม่ แม้ศาลในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่า จำเลยมีส่วนประมาทและละเมิดก็ตาม แต่เมื่อศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยต้องรับผิดหรือไม่เพียงใดหรือเพียงไร จึงต้องถือว่าศาลในคดีก่อนยังวินิจฉัยไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
แต่ในทางกลับกัน หากศาลในคดีก่อน พิพากษาว่า โจทก์และจำเลยต่างประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยให้ถือว่าโจทก์และจำเลยต่างไม่ต้องรับผิดในความเสียหายซึ่งกัน และกันและให้ค่าเสียหายตกเป็นพับ ถ้าศาลในคดีก่อนพิพากษาโดยใช้ถ้อยคำในลักษณะนี้ บริษัทประกันภัย ก็จะไม่มีอำนาจรับช่วงสิทธิมาฟ้องจำเลยได้อีก (เทียบ ฎ. 1722/2548)