ทนายความฟ้องคดีแบ่งมรดก-คดีที่ดิน-ครอบครองปรปักษ์

ทนายความมรดก

ทนายความมรดก

การตกทอดแห่งมรดก

เมื่อบุคคลใดตายมรดกตกทอดแก่ทายาท ( ม. 1599) และมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตาม ม. 1600 และมรดกของผู้ตายนี้ย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยทายาทไม่ต้องแสดงเจตนาสนองรับ

/ กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่

1. ทรัพย์สินและสิทธิ คำว่า ทรัพย์สิน มีความหมายตาม ม. 137 และ ม. 138 คือวัตถุที่มีรูปร่าง รวมทั้งวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้

ปัญหาที่น่าคิด ศพ เป็นทรัพย์สินหรือไม่ และสามารถทำพินัยกรรมอุทิศศพให้โรงพยาบาลได้หรือไม่ : ศพไม่น่าจะใช้ทรัพย์สิน แต่การทำพินัยกรรมอุทิศศพของเจ้ามรดกให้แก่โรงพยาบาลนั้น ถือว่าเป็นการกำหนดการเผื่อตายในการต่างๆ ตาม ม. 1646 ซึ่งแม้ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินก็ใช้บังคับได้ (ฎ.1174/2508)

ทรัพย์สินและสิทธิต้องเป็นของผู้ตายระหว่างมีชีวิต เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายจึงตกทอดเป็นมรดก ถ้าทรัพย์สินนั้นไม่เป็นของผู้ตายแล้วก่อนตายย่อมไม่เป็นมรดก

ฎีกาที่ 2604/2516 บิดาเปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารให้บุตรผู้เยาว์ โดยมอบหมายให้มารดาเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ถอนเงินจากธนาคารมาใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของบุตร แล้วบิดามารดาต่างได้นำเงินเข้าฝากในบัญชีดังกล่าวระคนปนกับเงินได้ของบุตร โดยมีเจตนายกเงินที่นำเข้าฝากนั้นให้แก่บุตร ดังนั้น เงินในบัญชีเงินฝากจึงเป็นของบุตรทั้งสิ้น หาใช่เป็นเงินที่บิดามารดาฝากไว้เป็นของตนเอง โดยฝากไว้ในนามของบุตรทำนองลงชื่อบุตรเป็นนามแฝงไม่ แม้จะมีข้อตกลงกับธนาคารว่า ผู้ใดจะเป็นผู้ลงชื่อถอนเงินจากธนาคารได้นั้นก็เป็นเรื่องระเบียบและวิธีการตามธรรมดาของธนาคารซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก (ฎ.244/2522)

ฎีกาที่ 370/2506 ลูกสุกรเกิดจากพ่อและแม่ซึ่งเลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตาย ลูกสุกรและเงินที่ขายลูกสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยา ส่วนของเจ้ามรดกตกเป็นมรดกด้วย ทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและแม่สุกรอย่างไร ก็มีส่วนแบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น

2. หน้าที่และความรับผิดต่างๆ ทายาทต้องรับเอาไปทั้งหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ด้วย เว้นแต่ทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดนั้นโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย

สิทธิอาศัย ตาม ม. 1404 บัญญัติว่า จะโอนกันไม่ได้แม้โดยทางมรดก แต่สิทธิเหนือพื้นดิน ม. 1411 บัญญัติว่า ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธินั้นอาจโอนได้และรับมรดกกันได้ (ฎ.1180/2538)

สิทธิเก็บกิน ม. 1418 วรรคท้ายบัญญัติว่า ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตายท่านว่าสิทธินั้นย่อมสิ้นไปเสมอ

ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายตาม ม.1431 จึงไม่ใช่มรดก

สิทธิตามสัญญาเช่าทรัพย์ เป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อาจโอนกันได้ตามกฎหมายลักษณะมรดก ม.544 เว้นแต่จะมีข้อสัญญายอมให้โอนกันได้ ดังนั้น เมื่อผู้เช่าตายทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ผู้ให้เช่ายอมให้ทายาทของผู้เช่า เช่าทรัพย์นั้นสืบแทนผู้เช่าเดิมต่อไปได้ (ฎ.6048/2539 ป.)

เช่าทรัพย์ตามสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษนอกเหนือสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้เช่าตายก่อนกำหนดสัญญา สิทธินี้เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาทของผู้เช่าที่จะเรียกร้องได้

ผู้ขายฝากตาย ทายาทใช้สิทธิไถ่ถอนได้โดยไม่ต้องรอให้รับโอนมรดกก่อน (ฎ.919/2495)

ผู้ค้ำประกันตาย หน้าที่ตามสัญญาตกทอดแก่ทายาทในฐานะผู้รับมรดกของผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิด (ฎ.978/2510)

สิทธิในเงินทดแทน หลักในการวินิจฉัยว่า เงินที่ทางราชการหรือนายจ้างจะจ่ายให้นั้น ถ้าข้าราชการหรือลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินนั้นระหว่างมีชีวิต แต่ทางราชการหรือนายจ้างจะจ่ายให้เป็นบำเหน็จความชอบต่อเมื่อข้าราชการหรือลูกจ้างถึงแก่ความตาย ดังนี้ เงินจำนวนนั้นไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น เงินทดแทนตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน (ฎ.4575/2536), บำเหน็จบำนาญไม่ใช่มรดกของผู้ตาย (ฎ.4/2505, ฎ.1056/2525)

แต่ถ้าข้าราชการผู้ใดขอลาออกโดยขอรับบำเหน็จที่ทางราชการจะจ่ายให้ตาม พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญแล้วตายลงก่อนที่จะรับเงินบำเหน็จนั้น ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จเกิดขึ้นแล้วนับแต่วันที่ลาออกจากราชการ เงินนี้จึงเป็นมรดกของข้าราชการผู้ตาย (ฎ.1166/2510)

ค่าชดเชย สอทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน หากลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแล้วตายค่าชดเชยนี้ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทมิใช่สิทธิเฉพาะตัว (ฎ.1269/2524)

เงินสะสมและเงินช่วยพิเศษ ซึ่งราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนข้าราชการทุกเดือนนั้น หากข้าราชการผู้นั้นถึงแก่ความตาย เงินสะสมย่อมเป็นมรดกของผู้ตาย (ฎ.4538/2528)

v ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตามกฎหมาย

 1.ทายาทโดยธรรม ได้แก่บุคคลตาม ม. 1629

2.ทายาทโดยพินัยกรรม

  • การเป็นทายาท ตาม ม. 1604

   1. ทายาทที่เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายนั้น ต้องมีสภาพบุคคล คือ เริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตายตาม ม.15 วรรคแรก เหตุนี้ แม้ก่อนตายบุคคลใดเป็นทายาทแต่บุคคลนั้นตายก่อนเจ้ามรดกก็ย่อมไม่สามารถเป็นทายาท

 2. ทารกในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตาย แม้จะยังไม่คลอดยังไม่มีสภาพบุคคลก็มีสิทธิรับมรดกบิดาได้ ถ้าคลอดมาแล้วอยู่รอด

i.           vการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก เพราะยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ตาม ม.1605

ถูกกำจัดหลังเจ้ามรดกตาย
(
.1605)

ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดสืบมรดกต่อได้ ตาม ม.1607 และ ฎ.478/2539

ไม่อาจถอนข้อกำจัด (ให้อภัย) ได้ ตาม ม.1606 ว.ท้าย)

1. การกำจัดมิให้ได้รับมรดกตาม ม.1605 เป็นบทบัญญัติให้ทายาทเสียสิทธิในมรดกโดยผลของกฎหมาย และเป็นการเสียสิทธิเพราะปิดปังหรือยักย้ายทรัพย์มรดก ซึ่งการปิดบังและยักย้ายได้กระทำขึ้นภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว ต่างกับการถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตาม ม.1606 ซึ่งอาจเกิดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายแล้วก็ได้

การถูกกำจัดตามมาตรานี้ ถ้าผู้ถูกกำจัดมีผู้สืบสันดานๆ ของผู้ถูกกำจัดนั้นมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ถูกกำจัดได้ตาม ม. 1607

ฎีกาที่ 487/2539 แม้จำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของผู้ตายมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเลย อันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตาม บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตายย่อมสืบมรดกของผู้ตายเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตาม ม. 1607

2. คำว่า ทายาท ตาม มาตรานี้หมายถึง ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม ตาม ม. 1603 และ ม. 1651 (1) เพราะ ม. 1605 วรรคท้ายยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับเฉพาะผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งอย่างตาม ม. 1651 (2) เท่านั้น

มรดกที่ยักย้ายได้ต้องเป็นสังหาริมทรัพย์และมีตัวทรัพย์อยู่ แต่ถ้าทายาทคนหนึ่งไม่พอใจในการแบ่งทรัพย์สินทำลายทรัพย์มรดกชิ้นหนึ่งเสีย เพื่อไม่ให้ทายาทอื่นได้รับทรัพย์มรดกชิ้นนั้น เช่นนี้ไม่ใช่เป็นการยักย้าย จึงไม่ถูกกำจัดตาม ม. 1605

  • ผลของการถูกกำจัด. 1605 ดังนี้

 1. ยักย้ายหรือปิดบังเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่ามีผลทำให้ทายาทผู้นั้นถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกทั้งหมด

ตัวอย่าง มรดกของ ดำ มีราคา 3,000,000 บาท ขาว แดง และฟ้า เป็นทายาทโดยธรรมของดำ มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกนี้เท่าๆ กันคนละ 1,000,000 บาท ตาม ม. 1629, ม. 1633 ถ้าขาวยักย้ายเครื่องเพชรในกองมรดกไปเป็นส่วนตัวเสีย 1,200,000 บาท และแดงปิดบังไม่ให้ทายาทอื่นรู้ว่า ดำมีเงินฝากประจำที่ธนาคาร 1,000,000 บาท ทั้งนี้ ขาวและแดง กระทำการฉ้อฉล จึงถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของดำเลย ดังนี้ มรดกทั้งหมดของดำ จึงตกได้แก่ฟ้าผู้เดียว

2. ยักย้ายหรือปิดบังน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ มีผลทำให้ทายาทผู้นั้นถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบัง

ตัวอย่าง ตามตัวอย่างแรก ถ้าขาวยักย้ายเครื่องเพชรไปเป็นเงิน 200,000 บาท ขาวถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกเฉพาะส่วนที่ยักย้าย 200,000 บาทนี้ ต้องนำมาคืนให้แก่กองมรดก ขาวคงได้ส่วนแบ่ง 800,000 บาท (1,000,000 – 200,000 บาท) ส่วนที่ขาวยักย้ายเมื่อได้คืนมาแล้วนำไปรวมกับกองมรดกของดำรวมเป็นเงิน 2,000,000 บาท แดงและฟ้าจึงได้มรดกคนละ 1,000,000บาท เท่าๆ กัน

 3. กรณีที่ผู้ตายมีทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เช่นนี้แม้ทายาทคนเดียวนั้นจะยักย้ายหรือปิดปังทรัพย์มรดกจะเป็นเพราะเหตุใดก็ตาม ก็ไม่มีทางถูกกำจัดมิให้รับมรดก ทั้งนี้เพราะมรดกนั้นเป็นของทายาทผู้นั้นแต่ผู้เดียว การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีทายาทอื่นที่จะต้องเสื่อมเสียประโยชน์

 4.ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ผู้รับพินัยกรรมโดยเฉพาะเจาะจงแล้ว เพื่อเคารพเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้รับพินัยกรรมคนนั้นจะไปยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกสิ่งอื่นโดยฉ้อฉล ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกทรัพย์เฉพาะสิ่งตามพินัยกรรมนั้น

5.การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ต้องเกิดขึ้นภายหลังเจ้ามรดกตายแล้วอันเป็นการฉ้อฉลทายาทอื่น และไม่อาจถอนข้อกำจัดโดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตาม ม.1606 วรรคท้ายได้ เพราะเจ้ามรดกได้ตายไปก่อนแล้ว อีกทั้งจะทำหนังสือให้อภัยไว้ล่วงหน้าก็ไม่ได้ เพราะการให้อภัยตาม ม.1606 วรรคท้าย ให้ทำได้เฉพาะการกำจัดมิให้ได้มรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรเท่านั้น

ฎีกาที่ 1357/2534 การที่ทายาทโดยธรรมเบิกความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกว่า เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่เบิกความถึง แต่ความจริงเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากกว่านั้น ยังไม่พอฟังว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก(การร้องขอและคัดค้านในชั้นจัดการมรดกมีประเด็นว่า ผู้ใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น ส่วนทรัพย์มรดกมีอะไรบ้างไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี)

i.           vการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตาม ม. 1606

ถูกกำจัดก่อนเจ้ามรดกตาย

อนุ ม.(1) ฆ่าหรือพยายามฆ่าเจ้ามรดก

อนุ ม.(2) ฟ้องเจ้ามรดกฯ

ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ได้ ( ม.1639)

ถูกกำจัดหลังเจ้ามรดกตาย

ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ไม่ได้ ( ม.1639)

ถูกกำจัดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายก็ได้

อนุ ม.(4) ฉ้อฉลหรือข่มขู่เกี่ยวกับ  พินัยกรรม

อนุ ม.(3) มิได้ร้องเรียนเอาตัวผู้ฆ่าเจ้า มรดกมาลงโทษ

อนุ ม.(4) ผู้ที่ปลอม ทำลายปิดบัง พินัยกรรม

ทายาทที่ถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ถูกกำจัดอาจเกิดก่อนหรือภายหลังเจ้ามรดกตายแล้วก็ได้ และบุคคลที่ถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรนี้อาจเป็นทายาทโดยธรรม ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไปหรือผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างก็ได้

1. ม. 1606 (1) หมายความว่าทายาทผู้ใดต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าฆ่าเจ้ามรดกหรือพยายามฆ่าเจ้ามรดกมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.288,289 หรือ 288, 289 ประกอบด้วย ม.80 จึงถูกกำจัด ถ้ามิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายเจ้ามรดกจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย (ป.อาญา ม.290) ก็ดี หรือกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย (ป.อาญา ม.291) ก็ดี หาต้องถูกกำจัดไม่

นอกจากกรณีที่ผู้ตายหรือผู้เสียหายเป็นเจ้ามรดกแล้ว ยังขยายความถึงการกระทำต่อผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนด้วย เช่น

– ก่อนเจ้ามรดกตายบุตรคนโตของเจ้ามรดกฆ่าน้องทุกคนเพื่อจะรับมรดกเสียคนเดียวนั้น เป็นการฆ่าผู้มีสิทธิจะได้รับมรดกด้วยกันจึงไม่ต้องถูกกำจัด

– เจ้ามรดกตายไปแล้วมรดกตกได้แก่บุตรคนเดียวของเจ้ามรดก น้องเจ้ามรดก ( ม.1629(3))จึงฆ่าบุตรของเจ้ามรดก ( ม.1629(1)) ก็เป็นการฆ่าผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตน ( ม.1630) จึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดก

2. ม. 1606 (2) ที่ว่า ฟ้อง นั้น หมายความว่า เป็นโจทก์ฟ้องคดีด้วยตนเอง ถ้าเป็นพนักงานเป็นโจทก์ฟ้องแม้ทายาทเป็นผู้เสียหายในคดีนั้นก็ไม่ถูกกำจัด

3. ม. 1606 (3) ที่ว่า รู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าแต่มิได้ร้องเรียน เพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ คำว่าร้องเรียน หมายถึงการแจ้งความร้องทุกข์ การกล่าวโทษหรือให้การเป็นพยานถึงข้อเท็จจริง เท่าที่ตนรู้เห็นทั้งหมดเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

4. ม. 1606 (4) คำว่า ฉ้อฉล มีความหมายตามธรรมดา คือโกงโดยใช้อุบาย และหมายถึงบุคคลที่ฉ้อฉลให้เจ้ามรดกทำหรือเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมโดยตรงเท่านั้น

5. ม. 1606 (5) ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด

ฎีกาที่ 847/2518 ผู้รับพินัยกรรมหาพินัยกรรมไม่พบ จึงขอรับมรดกต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นทายาทโดยธรรม ดังนี้ ไม่เป็นการสละพินัยกรรมหรือปิดบังพินัยกรรม ไม่ถูกกำจัดและรับมรดกตามพินัยกรรมที่หาพบภายหลังได้

i.           vการตัดมิให้รับมรดก ตาม . 1608

1. การตัดทายาทโดยธรรมด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง และระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดโดยชัดแจ้ง มีผลทำให้ทายาทโดยธรรมผู้นั้นไม่มีสิทธิ์รับมรดก และผู้สืบสันดานของผู้ถูกตัดก็ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่เลย เพราะในกรณีดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้รับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกต่อไปได้

แบบการตัดมิให้รับมรดกต้องทำตามแบบหนึ่งแบบใดดังต่อไปนี้

1.โดยพินัยกรรม ซึ่งเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายของเจ้ามรดก ผู้ทำพินัยกรรมตาม ม.1646 และต้องทำตามแบบ ม.1648,1655 มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะตาม ม.1705

2. โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้แก่นายอำเภอ

2. ให้กรณีให้ถือว่าเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมด โดยทายาทโดยธรรมบางคนหรือทั้งหมด ไม่มีชื่อได้รับส่วนแบ่งมรดกนั้นเลย และในพินัยกรรมก็ไม่มีข้อความตัดทายาทโดยธรรมนั้นโดยชัดแจ้งและระบุชื่อผู้ถูกตัดนั้นโดยชัดเจน ม.1608 วรรคท้าย ให้ถือว่าทายาทโดยธรรมนั้นเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก เพราะเมื่อพินัยกรรมมีผลบังคับ ทายาทโดยธรรมนั้นไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลยตาม ม.1620, 1673

แต่การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกบางส่วน หรือเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างให้แก่ผู้รับพินัยกรรมและมีทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ดังนี้ ไม่ถือว่าเป็นการตัดทายาทโดยธรรม เพราะมิได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมด จึงไม่ต้องด้วย ม.1608 วรรคท้าย และกรณีต้องบังคับตาม ม. 1620 คือ ให้ปันส่วนทรัพย์มรดกที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมายต่อไป

i.           vแบบการถอนการแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดก ตาม ม. 1609 วรรคสอง

 1. ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำโดยพินัยกรรม ก็ต้องถอนโดยพินัยกรรม ซึ่งอาจกระทำโดยการเพิกถอนพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม ตาม ม. 1693 ถึง ม. 1697 จะถอนโดยวิธีอื่น เช่น โดยไปทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้

2. ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ต้องถอนโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือโดยพินัยกรรมก็ได้

i.           vการสละมรดก ตาม ม. 1612

1. การสละมรดกนั้นเป็นเหตุให้ทายาทเสียสิทธิในมรดกโดยเกิดจากการแสดงเจตนาชัดแจ้งของทายาท

– ทายาทที่จะสละมรดกได้ทายาทผู้นั้น ต้องมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกแล้ว และคำว่าทายาท หมายถึงทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมด้วย ถ้าทายาทคนใดสละมรดกทั้งๆ ที่ตนยังไม่มีสิทธิ เพราะเจ้ามรดกยังไม่ตาย ถือว่าเป็นการสละสิทธิอันหากจะมีในภายหน้า เช่น ทำสัญญาประนีประนอมยอมความสละมรดกตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ หาอาจจะทำได้ไม่ตาม ม. 1619 (ฎ.2167/2518)

-การสละมรดกต้องเป็นการสละมรดกส่วนของตนทั้งหมดมิฉะนั้นต้องห้ามตาม ม. 1613 และการสละมรดกก็ต้องไม่มีเจตนาเจาะจงให้มรดกส่วนของตนที่สละนั้นตกได้แก่ทายาทอื่นคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ

– การสละมรดกนั้นจะทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ ตาม ม. 1613

-หากสละทรัพย์มรดกรายการหนึ่งเพื่อขอเลือกเอาทรัพย์รายการอื่นหรือยอมรับแบ่งทรัพย์ที่มีราคาน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ก็ไม่ถือว่าทายาทผู้นั้นสละมรดกสำหรับจำนวนส่วนแบ่งที่ขาดไป

-เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน ตาม ม. 1615 วรรคสอง ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้นแก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป ตาม ม. 1618

-เมื่อผู้รับพินัยกรรมสละมรดกตามพินัยกรรม ทรัพย์มรดกส่วนนั้นตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตาม ม. 1698 (3) ประกอบ ม. 1620, 1699 ดังนั้น ผู้สืบสันดานของผู้รับพินัยกรรมจึงไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น ตาม ม. 1617

2. การสละมรดก อาจทำได้ 2 วิธี คือ

2.1 ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ คือ นายอำเภอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 หนังสือนั้นต้องมีข้อความแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่าสละมรดกโดยไม่เคลือบคลุม

ฎีกาที่ 1250/2538 ทำหนังสือสละมรดกให้ไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดก ตาม ม. 1612

2.2 ทำเป็นหนังสือทำนองประนีประนอมยอมความ ตาม ม. 850, 851

ฎีกาที่ 847/2518 ผู้รับพินัยกรรมหาพินัยกรรมไม่พบ จึงขอรับมรดกต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นทายาทโดยธรรม ดังนี้ ไม่เป็นการสละพินัยกรรม

หมายเหตุ ถ้าถือว่าเป็นการสละมรดก ผู้สืบสันดานคนนั้นสืบมรดกได้ตาม ม. 1615 แต่ถ้าเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดก หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็เป็นยุติตามนั้น ผู้สืบสันดานไม่อาจสืบมรดกได้

i.           vการเพิกถอนการสละมรดก

การสละมรดกที่ได้กระทำโดยชอบด้วย ม. 1612 และไม่ต้องห้ามตาม ม. 1613 วรรคแรกแล้วนั้น แม้ต่อมาทายาทผู้สละมรดกจะแสดงเจตนาเพิกถอนย่อมเพิกถอนไม่ได้ตาม ม. 1613 วรรคสอง

สรุป การสละมรดกตาม .พ.พ. จะกระทำได้ต่อเมื่อหลังจากที่เจ้ามรดกตายแล้ว และผู้สละเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นด้วย

` ม. 1622 พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้

ข้อสังเกต

1. ถ้าผู้จัดการมรดกแบ่งปันทรัพย์มรดกมาถวายให้แก่พระภิกษุในฐานะทายาทโดยธรรมโดยมิได้เรียกร้องก็ดี หรือพระภิกษุเรียกร้องเอาทรัพย์ตามพินัยกรรมที่มีผู้อุทิศถวายให้ก็ดี พระภิกษุย่อมรับเอาหรือเรียกร้องตามพินัยกรรมได้โดยไม่ต้องสึกจากสมณเพศ

2. คำว่า พระภิกษุ หมายความถึงบุคคลที่อุปสมบทในศาสนาของพระพุทธเจ้า แต่ไม่กินความรวมถึงแม่ชีและสามเณร

3. ถ้าพระภิกษุเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวที่มีสิทธิได้รับมรดก มรดกย่อมตกทอดมายังพระภิกษุทันทีที่เจ้ามรดกตาย หากบุคคลอื่นเบียดบังเอาทรัพย์มรดกนั้นไป พระภิกษุในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิติดตามเรียกร้องเอาทรัพย์นั้นคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกได้

  • ทรัพย์สินของพระภิกษุ ตาม ม. 1623 – 1624

-ทรัพย์สินทุกอย่างที่พระภิกษุได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ ไม่ว่าโดยทางใดและจะเพราะได้มาเนื่องจากสมณเพศหรือไม่ก็ตามต้องอยู่ในบังคับของ ม. 1623

-แม้พระภิกษุมีคู่สมรสและการบวชไม่เป็นเหตุให้การสมรสขาดกัน และจะถือว่าเป็นการทิ้งร้างกันยังมิได้ก็ตาม ทรัพย์สินที่ได้มาเพราะเขาทำบุญให้พระภิกษุย่อมไม่ถือว่าเป็นสินสมรส ตาม ม.1474 (1) คู่สมรสจะแบ่งทรัพย์สินนี้กึ่งหนึ่งตาม ม. 1533 ไม่ได้

– ถ้าพระภิกษุธุดงค์ไปในที่ต่างๆ แล้วมรณภาพลง ทรัพย์สินของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด

– ถ้าบุคคลนั้นอุปสมบทแล้วสึกจากสมณเพศ แล้วอุปสมบทใหม่หลายโบสถ์ ดังนี้ ทรัพย์สินก่อนอุปสมบทครั้งสุดท้าย ซึ่งแม้จะได้มาระหว่างอุปสมบทครั้งก่อนๆ คงตกได้แก่ทายาทของพระภิกษุ

  • บุตรนอกกฎหมาย ตาม . 1627

บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองได้แก่

1. เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ซึ่งตาม ม. 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงเท่านั้น และ

2. ชายผู้เป็นบิดาได้รับรองเด็กว่าเป็นบุตรของตนโดยพฤตินัย

– บิดาเป็นคนแจ้งในสูติบัตรว่าตนเป็นบิดา

– เมื่อเด็กโตก็ให้การศึกษาให้ความอุปการะเลี้ยงดู

– ยอมให้ใช้นามสกุลของบิดา

– ลงทะเบียนในสำมะโนครัวว่าเป็นบุตร

– การรับรองว่าเด็กเป็นบุตรยังอยู่ในครรภ์มารดา เช่น แจ้งให้ญาติผู้ใหญ่ทราบว่า เด็กในครรภ์เป็นบุตรของตน, นำมารดาเด็กไปฝากครรภ์ หรือแนะนำมารดาเด็กให้เพื่อนรู้จักและนำเข้าสังคม เป็นต้น (ฎ.341/2502, 489/2506, 1469/2526)

ข้อสังเกต การที่บิดานอกกฎหมายรับรองการเป็นบุตร หาทำให้บิดานั้นมีสิทธิรับมรดกของบุตร

 นอกกฎหมาย

i.           vบุตรบุญธรรม ตาม . 1598/28 ประกอบกับ ม. 1627

บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมตาม ม. 1627, 1629 (1) และเนื่องจากบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา บุตรบุญธรรมจึงมีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาผู้ให้กำเนิดและญาตทางครอบครัวที่ได้กำเนิดด้วย ในทางกลับกันบิดามารดาผู้ให้กำเนิดหรือญาติก็มีสิทธิรับมรดกของบุตรที่ไปเป็นบุตรบุญธรรมเช่นเดียวกัน

ระวัง บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น แต่หามีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมด้วยไม่ และเพียงแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอมก็ไม่ถือว่าคู่สมรสนั้นได้รับบุตรบุญธรรมด้วยตาม ม.1598/25,1598/26

i.           vการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆม.1629

ลำดับ 1 ผู้สืบสันดาน

ลำดับ 2 บิดามารดา

คู่สมรสเจ้ามรดก ม.1629ว.ท้าย

มีสิทธิได้รับมรดกในส่วนที่เท่าๆกัน

คู่สมรสเจ้ามรดก

คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง ม.1635 (2)

ตัดทายาท ลำดับ 3  6

ลำดับ 3 พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน

คู่สมรสเจ้ามรดก

คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง ม.1635 (2)

ลำดับ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือ ร่วมมารดาเดียวกัน

ลำดับ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย

ลำดับ 6 ลุง ป้า นา อา

คู่สมรสเจ้ามรดก

คู่สมรสได้มรดกสองส่วนในสาม ม.1635 (3)

คู่สมรสเจ้ามรดก

คู่สมรสเจ้ามรดก

ใช้หลัก ญาติสนิทตัดญาติห่างๆ ดังบัญญัติไว้ใน ม. 1630 วรรคแรก ส่วนคู่สมรสเป็นทายาทโดยธรรมที่ไม่อยู่ในบังคับ ม. 1629 (1) ถึง (6) และ ม. 1630 จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมอตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 1635

1. ทายาทลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ตาม ม. 1629 (1) หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตร หลาน เหลน ลื้อ และต่อจากลื้อลงไป คือ หลีด หลี้ จนขาดสายโดยไม่จำกัดว่าสืบต่อกันกี่ชั้น บุคคลเหล่านี้ต่างเป็นผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก แต่ถ้าเจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานชั้นบุตร ทำให้ผู้สืบสันดานชั้นหลานหรือชั้นต่อๆ ไป ไม่มีสิทธิรับมรดก เว้นแต่จะรับมรดกแทนที่ตาม ม. 1631 , 1639

 2. ทายาทลำดับที่ 2 บิดามารดา ตาม ม. 1629 (2) กรณีของบิดาที่จะมีสิทธิรับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรม จะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

3. ทายาทลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ตาม ม. 1629 (3) บุตรบุญธรรมไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับบุตรเจ้ามรดก (รับมรดกแทนที่ได้ตาม ม. 1639)

4. ทายาทลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ตาม ม. 1629 (4) สามารถรับมรดกแทนที่ได้ตาม ม. 1639

5. ทายาทลำดับที่ 5 ปู่ ยา ตา ยาย ตาม ม. 1629 (5) ถ้าบุคคลเหล่านี้ตายก่อนเจ้ามรดก ผู้สืบสันดานของบุคคลเหล่านี้ ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำได้ตาม ม. 1639 และตาม ม. 1629 (5) นี้บัญญัติให้ ปู่ ย่า ตา ยาย เท่านั้นเป็นทายาทโดยธรรม ดังนั้น ทวด จึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรม

6. ทายาทลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา ตาม ม. 1629 (6) ญาติในลำดับ 6 นั้นย่อมรับมรดกแทนที่กันได้ตาม ม. 1639