ทนายคดีหมิ่นประมาท-ทนายฟ้องคดีหมิ่นประมาท-ทนายสู้คดีหมิ่นประมาท

 ทนายคดีหมิ่นประมาท 

“ คดีหมิ่นประมาท ”

บุคคลทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดย การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่การใช้เสรีภาพดังกล่าว จะต้องไม่ก้าวล่วงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นโดยมิชอบ

ดังนั้น หากใช้เสรีภาพที่เกินขอบเขตโดยการแสดงความคิดเห็นที่แสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ผู้กระทำจะมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา หรือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามจนน่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การกระทำผิดตามข้อความข้างต้น ถือเป็นการกระทำที่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษทั้งปรับ และจำคุก โดยอัตราโทษแยกได้ดังนี้

ตาม มาตรา 326  ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ใน มาตรา 327  ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สาม และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น

เเละ มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษรกระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

ใน มาตรา 329  ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม  ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

ตาม มาตรา 330  ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

และ มาตรา 331  คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิดเห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

ใน มาตรา 332  ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดศาลอาจสั่ง
(1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
(2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด   หรือแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับ ครั้งเดียวหรือหลาย ครั้ง โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา

ใน มาตรา 333  ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

ทั้งนี้ ทั้งนั้น ความผิดฐานหมิ่นประมาทจะสำเร็จต่อเมื่อ ข้อความที่ส่งนั้นไปถึงยังบุคคลที่สามแล้ว แต่ถ้าข้อความที่ส่งไปนั้นไม่ถึง หรือไม่ได้รับข้อความ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็เป็นได้แต่เพียงการพยายามกระทำความผิดเท่านั้น การสื่อข้อความ จะต้องเกิดจากเจตนาของผู้กระทำ คือผู้กระทำต้องการสื่อสารให้บุคคลที่สามทราบ ไม่ใช่เป็นเพราะบุคคลที่สามเข้ามาทราบโดยบังเอิญ หรือเป็นเรื่องที่บุคคลที่สามแอบสอดเข้ามาทราบข้อความนั้นเอง เช่นนี้ย่อมถือว่าผู้กระทำขาดเจตนาส่งข้อมูล และไม่เป็นความผิด

อย่างไรก็ตาม คดีหมิ่นประมาท เป็นคดีอาญา มีโทษทั้งปรับ เเละจำคุก การใช้สิทธิเสรีภาพในการเเสดงออกทางความคิดเห็นจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเเก่ผู้อื่น

สรุปใจความสำคัญ

  • อะไรที่พูดไปแล้วมีทางทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เรียกได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องดูว่าเรื่องที่พูดเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หรือคนที่ฟังจะเชื่อในสิ่งที่ผู้พูดว่ากล่าวหรือไม่ แต่จะเป็นความผิดตามกฎหมายมาตราใดจะต้องมาดูกันในรายละเอียด 
  • กรณีแรกคือการหมิ่นประมาทซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มีโทษเสียค่าปรับและโทษจำคุก ได้แก่ ความผิดอันมาจากการใช้ข้อความอะไรก็ตามที่ ‘กล่าวถึงผู้อื่นและทำให้ผู้นั้นเดือดร้อน เสียชื่อเสียง’ (อาจเป็นข้อความที่เป็นความจริงหรือไม่จริงก็ได้) หรือ ‘เป็นข้อความที่เป็นเท็จ’ (พูดง่ายๆ ภาษาชาวบ้านคือกุเรื่องขึ้นมา) 
  • กรณีที่สองคือการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามกฎหมายอาญา ได้แก่ การหมิ่นประมาทที่ทำโดยเอกสาร ภาพวาด ที่มีการกระจายข้อมูลทางสื่อต่างๆ หรือด้วยการป่าวประกาศ ตัวอย่างเช่น การเอาข้อความที่กล่าวว่านั้นไปแสดงอยู่ในข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือไปโพสต์ข้อความว่าร้ายนั้นในสื่อโซเชียลต่างๆ กรณีนี้จะถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาที่จะมีโทษหนักขึ้น เพราะมีการเผยแพร่ในสื่อสาธารณะ และมีขอบเขตความเสียหายที่สูงขึ้น 

หากท่านใดพบปัญหาการถูกหมิ่นประมาทไม่ว่าจะด้วยวิธีได้ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาท เเละคดี พรบ.คอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อผมได้ ทนายพัตร์

line PongrapatLawFirm
line PongrapatLawFirm

TikTok @PongrapatLawfirm

ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
ทนายคดีหมิ่นประมาท ทนายคดีที่ดิน ทนายคดียาเสพติด ทนายคดีอาญา ทนายคดีแพ่ง ทนายคดีกู้ยืมเงิน ทนายคดีปลอมเอกสาร ทนายพัตร์ ทนายพงษ์รพัตร์
author avatar
ทนายความพงษ์รพัตร์