ฟ้องให้ธนาคารรับผิด เงินโอนออกจากบัญชี คำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ ที่ 6233/2564 อันเป็นคดี ที่ประชาชนชื่อ นาง จ. มิได้ถอนเงิน จากธนาคาร ท. โดยปรากฏว่า ในระหว่างเวลา 23.41 น. ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึงเวลา 02.01 น. ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของนาง จ.ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี รวม 12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,100,000.~บาท
ฟ้องให้ธนาคารรับผิด เงินโอนออกจากบัญชี คำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ ที่ 6233/2564 อันเป็นคดี ที่ประชาชนชื่อ นาง จ. มิได้ถอนเงิน จากธนาคาร ท. โดยปรากฏว่า ในระหว่างเวลา 23.41 น. ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึงเวลา 02.01 น. ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของนาง จ.ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี รวม 12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,100,000.~บาท
ฟ้องให้ธนาคารรับผิด เงินโอนออกจากบัญชี คำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ ที่ 6233/2564 อันเป็นคดี ที่ประชาชนชื่อ นาง จ. มิได้ถอนเงิน จากธนาคาร ท. โดยปรากฏว่า ในระหว่างเวลา 23.41 น. ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 ถึงเวลา 02.01 น. ของวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 เงินในบัญชีเงินฝากของนาง จ.ถูกโอนไปยังบัญชีเงินฝากของผู้อื่นจำนวน 3 บัญชี รวม 12 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,100,000.~บาท
นาง จ. จึงฟ้องศาลฯ ขอให้บังคับ ธนาคาร ท. ชำระเงิน 1,181,723 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 1,100,00.~บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ นาง จ.
คดีนี้ ศาลชั้นต้น และ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้ยกฟ้องของโจทก์ นาง จ. เพราะ เห็นว่า เกิดจากความประมาทเลินเล่อ ของ นาง จ.เอง ที่ไปกดลิ้งค์ ให้คนร้าย เข้าควบคุมข้อมูลในมือถือ ของ นาง จ. และ คนร้ายจึงได้ทำการโอนเงินออกได้ ภายใต้ข้อมูลของ นาง จ.เอง บาปเคราะห์จึงให้ตกแก่ นาง จ. แต่เพียงผู้เดียว ธนาคาร ท. จึงไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินที่หายออกจากบัญชี นาง จ. ทั้งๆที่ ตัวนาง จ.เองนั้น มิได้ทำการโอนเงินออกจากบัญชีของตน
แต่ ศาลฎีกา ท่านเห็นว่า เรื่องนี้ ธนาคาร ท. ก็มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย เพราะ น่าจะหาทางป้องกัน การโอนเงิน ของลูกค้า ให้มากกว่าการเปิดช่องให้คนร้ายกระทำการดังกล่าวได้สำเร็จ
ทั้งๆที่ ธนาคาร ท. ทราบดีว่า มีกลุ่มคนร้าย ใช้วิธีการหลอกประชาชนผู้สุจริต ด้วยกลวิธีต่างๆ ให้หลงเชื่อด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ประชาชนผู้สุจริต จึงหลงเชื่อไปกดลิ้งค์ปลอม หรือ ติดตั้งแอพปลอม
ดังนั้น ศาลฎีกา ท่าน จึงเห็นว่า กรณีดังกล่าว เป็นการประมาทเลินเล่อทั้ง ตัว นาง จ. และ ธนาคาร ท. จึงพิพากษา ให้รับผิดกันคนละครึ่ง คือ พิพากษา ให้ธนาคารชดใช้เงินให้ นาง จ. เป็นเงิน 550,000.~ บาท (ไม่ต้องชดใช้คืนทั้งจำนวน)
หมายเหตุ : ในปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ พบว่า สาเหตุ ที่ธนาคารฯอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้า ทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านอุปกรณ์มือถือ ได้เกิน 1 เครื่อง ย่อมเป็นช่องทางให้คนร้าย ใช้มือถือของคนร้าย อีกเครื่อง เข้าควบคุมมือถือของประชาชนผู้สุจริต แล้วแอบโอนเงินออกจากบัญชีลูกค้าได้นั้น อันเป็นช่องทางให้เกิดเหตุการณ์ทุจริตเงินของลูกค้าได้ดังกล่าว
ดังนั้น ตั้งแต่ ปลายปี 2565 เป็นต้นมา ธนาคารใด ที่กำหนดให้ลูกค้า ทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านมือถือ ได้เพียงเครื่องเดียว มือถือเครื่องอื่นๆ จะเป็นจอดำ ในช่วงการทำธุรกรรมทางการเงิน คนร้าย ย่อมจะทำการโอนเงินออกจากบัญชีลูกค้า จากมือถือเครื่องอื่นมิได้ ซึ่งปัจจุบัน น่าจะทุกธนาคารที่ตื่นตัวแล้ว (หรือ ภาษาชาวบ้านที่ว่า แอบดูดเงินออกจากบัญชีลูกค้า จากมือถือเครื่องอื่น อีกไม่ได้แล้ว นับแต่ ธนาคารนั้นๆ กำหนดให้ทำธุรกรรมทางการเงิน ผ่านมือถือ ได้เพียงเครื่องเดียว)
ส่วนเหตุการณ์ ที่ลูกค้า เผลอไปกดลิ้งค์ปลอม หรือ ไปติดตั้งแอพดูดเงิน ในระหว่าง ปี 2559-2564 และ เงินถูกโอนไปด้วยความประมาท ที่ตัวลูกค้า ไปกดลิ้งค์ปลอม หรือ ติดตั้ง แอพปลอม และ ธนาคารฯก็ประมาท ไปอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้ามากเกินไป โดยเปิดข่องให้ทำธุรกรรม ทางการเงิน ผ่านมือถือ ได้เกิน 1 เครื่อง ตามบรรทัดฐานของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2564 นี้ ธนาคารนั้นๆ ต้องชดใช้เงินคืนให้ลูกค้า 50% โดยเจ้าของบัญชี ก็ต้องยอมรับบาปเคราะห์ความเสียหายไป 50%
แต่ ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยน คือ ลูกค้าไม่ได้เผลอกดลิ้งค์ปลอม ไม่ได้เผลอติดตั้งแอพปลอม แต่ เงินถูกโอนออก โดยตัวพนักงานธนาคารนั้นๆ กระทำการทุจริตเงินของลูกค้า กรณีนี้ ธนาคารนั้นๆ ต้องชดใช้เงินคืนลูกค้า เต็มจำนวน 100% โดยธนาคารนั้นๆ ก็ต้องไปฟ้องไล่เบี้ยเอาเงินคืนจากพนักงานผู้กระทำทุจริตรายนั้นต่อไปเอง