ยินดีกับ คุณมาย และคุณวงเดือนเช้าบ่ายเลยครับ ได้รับการเยียวยาเต็มที่ โพสขอโทษ ส่วน คุณวงเดือน ศาลสั่งมีมูล คดีฉ้อโกง พรบคอม
เจตนากระทำความผิดทางอาญากับผิดสัญญาทางแพ่ง
ปอ. มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฎีกาที่ 5401/2542จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจำเลยสามารถจัดให้ผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในต่างประเทศ จากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและมอบเงินให้แก่จำเลย จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดสัญญาทาง แพ่ง มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2553 จำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปตั้งแต่ต้น การที่จำเลยเอาสุราต่างประเทศใส่ในลังน้ำปลาแล้วนำไปชำระเงินกับพนักงานแคชเชียร์ของผู้เสียหายเท่ากับราคาน้ำปลา เป็นเพียงกลอุบายของจำเลยเพื่อเอาสุราต่างประเทศของผู้เสียหายไปโดยทุจริตเท่านั้น โดยพนักงานแคชเชียร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้เสียหายมิได้มีเจตนาส่งมอบการครอบครองสุราต่างประเทศให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2561 จำเลยขับรถกระบะไปเปลี่ยนยางรถที่ร้านผู้เสียหายโดย บ.ญาติจำเลยไปด้วย ผู้เสียหายคิดราคายางสี่เส้นเป็นเงิน 8,000 บาท จำเลยตกลงเปลี่ยนยางทั้งสี่เส้น ว. ลูกจ้างประจำร้านเป็นผู้เปลี่ยนให้ โดยใส่ยางรถชุดเก่าไว้ในกระบะรถ เมื่อเปลี่ยนยางรถเสร็จทั้งสี่เส้นแล้ว ว. ถอยรถกระบะไปจอดที่บริเวณหน้าร้านโดยติดเครื่องยนต์ไว้ จากนั้นประมาณ 3 นาที จำเลยขับรถกระบะดังกล่าวออกจากร้านไปโดยไม่ชำระราคา ขณะตกลงซื้อขายยางรถระหว่างจำเลยกับผู้เสียหาย จำเลยไม่มีเจตนาที่จะใช้กลอุบายหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งมอบยางรถทั้งสี่เส้นโดยไม่คิดจะชำระราคามาแต่ต้น ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในยางรถทั้งสี่เส้นย่อมโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อ ตั้งแต่เมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายและกำหนดเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 458 และมาตรา 460 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยยังมิได้ชำระราคาแก่ผู้เสียหาย ก็เป็นมูลคดีผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น หามีมูลความผิดทางอาญาฐานลักทรัพย์ไม่ ฎีกาที่ 1813/2531 จำเลยฉ้อโกงให้โจทก์ร่วมเข้าหุ้นเล่นการพนันต้มบุคคลที่สามโจทก์ร่วมเข้าหุ้นและเข้าเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วย ดังนี้ เป็นการร่วมกับจำเลยกระทำความผิด โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ได้ พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง * การดำเนินคดี อาญาในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ บางครั้งมีความคาบเกี่ยว ในความผิดแต่ละคดี ต้องอาศัยการรวบรวมพยานหลักฐาน และวิเคราะห์ จากข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องโดยละเอียดพอสมควร เพื่อที่ว่า จะต้องดำเนินการ ทางคดี เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ฐานความผิดใด โดย ที่ต้องประสบพบเห็นบ่อยๆคือ
****คดีลักทรัพย์ โดยใช้กลอุบาย กับ ฉ้อโกง ลักษณะ ต้องมีการหลอก แต่ การหลอก แต่การหลอกที่เป็นฉ้อโกง ต้องเป็นการหลอกเพื่อให้ผู้เสียหายส่งมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ให้แก่ผู้หลอก ส่วนลักทรัพย์โดยใช้อุบายหลอกลวง ต้องหลอกเพื่อเอาการครอบครอง เช่น ขอยืมรถ แต่จริงๆเจตนาเอารถไปขาย
ส่วนผิดสัญญา ทางแพ่ง คือ มีการทำความตกลงกันหรือให้คำรับรองในเรื่องใด จนเป็นสัญญาเกิดขึ้นแล้ว และภายหลัง คู่สัญญาไม่อาจปฎิบัติตามข้อตกลงนั้นได้ เช่น มีการเสนอจะจ้างให้ทำการต่อเติมอาคาร ช่างรับปากว่าจะทำให้ ถือว่าตกลงว่าจะจ้างทำการต่อเติมอาคาร โดยกำหนดทำสัญญาและมีการชำระงวดเงินงวดแรก ในวันทำสัญญา และจะชำระงวดที่ 2 เมื่อการทำงานเสร็จช่วงที่ 1แล้ว เมื่อรับเงินงวดที่ 1 แล้ว ก็ไม่มาทำงานให้ตามที่เวลาที่ตกลง ก็ถือเป็นเหตุเลิกสัญญาเรียกค่าเสียหาย เพราะในขณะทำสัญญา ไม่มีเจตนาทุจริต
และที่จำเลยมักให้การต่อสู้คดีก็คือ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะโจทก์หรือผู้เสียหายสมัครใจ ที่จะกระทำความผิดตามที่ถูกหลอกลวง เช่น หลอกว่าให้ร่วมลงทุน โดยเอาเงินไปปล่อยเงินกู้ คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์หรือผู้เสียหายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เป็นต้น
ดังนั้น การดำเนินคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ต้องเตรียมถึงข้อต่อสู้ที่จำเลยอาจนำมาต่อสู้ แก่ตนด้วย
