คดีหมิ่นประมาทฟ้องร้องกันอย่างไร
by
PongrapatLawfirm
·
Published
· Updated
คดีหมิ่นประมาทฟ้องร้องกันอย่างไร
ข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งเป็นรากฐานของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ” ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 “
คำว่า “ผู้อื่น” คือผู้ถูกหมิ่นประมาท ต้องระบุรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร แต่อย่าไปคิดว่า ถ้าไม่ระบุชื่อตรงๆ ก็จะรอดพ้นข้อหานี้
เพราะเป็นธรรมดาของผู้กระทำผิด ที่มักจะใช้คำอื่น ฉายา ชื่อเรียก ฯลฯ เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกฟ้อง
คำว่า ” ใส่ความ ” คือ เอาความไปใส่เขา ซึ่งอาจเท็จหรือจริงก็ได้ ไม่ใช่จริงไม่ผิด เท็จจึงผิด หลักศาลจึงว่า ” ยิ่งจริง ยิ่งผิด “
วิธีใส่ความคือ แสดงข้อความให้ปรากฎด้วยวิธีใดๆก็ได้ เช่น พูด เขียน วาด ใช้น้ำเสียง บอกใบ้ ทำกริยาท่าทาง ฯ ถือเป็นการใส่ความหมด
ความผิดฐานหมิ่นฯ ไม่จำเป็นต้องมีผลเสียหายเกิดขึ้นจริงจากการใส่ความ แค่ “ความที่ใส่” น่าจะทำให้เขาเสียชื่อเสียง ก็เป็นความผิด
ดูตัวบท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 327 ตามภาพแนบกันครับ
Related
Comments
แสดงความคิดเห็น
Tags: คดีหมิ่นประมาทจ้างทนายทนายความทนายความคดีหมิ่นประมาททนายความสมุทรปราการ
You may also like...