คดีฉ้อโกง กับ คดีลักทรัพย์ ในการสู้คดี

ในส่วนของทนายความ ในการตั้งรูปคดีฉ้อโกง กับคดีลักทรัพย์นั้น มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ในการฟ้องคดี หรือสู้คดี จะพิจารณาข้อเท็จจริงในรายละเอียดของคดี ซึ่งทนายความยินดีปรึกษาและช่วยเหลือในคดี ฉ้อโกง และคดีลักทรัพย์ให้กับท่าน เพื่อมิให้ตกเป็นแพะ หรือเป็นผู้เสียหายที่ได้รับความเดือดร้อนกับท่าน ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่

โทรหาทนายพัตร์

Pongrapat LawFirm

ทนายความ,การช่วยเหลือในการให้การในชั้นสอบสวน

จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างธนาคารโจทก์ร่วมสาขาพะเยา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการ และเป็นผู้ควบคุมเงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาทและมีอำนาจอนุมัติให้ถอนเงินในวงเงิน 500,000 บาทจำเลยที่ 2 เดิมเป็นลูกค้าของโจทก์ร่วมเปิดบัญชีสะสมทรัพย์ที่สาขาสะพานใหม่ดอนเมือง จำเลยที่ 2 ได้โอนเงินฝากดังกล่าวซึ่งมีเงินต้น 12,015.66 บาท และดอกเบี้ย 39.82 บาท ไปฝากต่อที่สาขาพะเยา จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 2เปิดบัญชีได้ และจำเลยที่ 1 ได้บันทึกบัญชีจำนวน 200,000 บาท และต่อมาถอนอีก 202,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมืออนุมัติการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มีเงินฝากในบัญชีคือดอกเบี้ยมากกว่าความเป็นจริง มิใช่การหลอกลวงให้โจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อนำความผิดฐานฉ้อโกงกับลักทรัพย์มาพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วอาจกล่าวได้ว่า การลักทรัพย์เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปอันเป็นการทำให้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองนั้นกลับมาอยู่ที่ตัวผู้กระทำการลักโดยที่เจ้าของทรัพย์ไม่ประสงค์จะสละกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองแต่ถูกแย่งเอาไปส่วนการฉ้อโกงเป็นเรื่องของการที่จำเลยหลอกลวงให้เจ้าของทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์ให้แก่ตนโดยเจ้าของทรัพย์นั้นสมัครใจ สำหรับคดีที่หมายเหตุนี้ หากจำเลยเอาโคมไฟเป็นของตนไปโดยไม่จ่ายเงิน ถือว่าเป็นการกระทำที่ทำร้ายกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยทุจริต จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์แต่เมื่อคดีนี้ปรากฏว่า จำเลยเอาป้ายราคาจริง 1,785 บาท ของโคมไฟที่ต้องการได้ไปออกแล้วเอาป้ายราคาโคมไฟที่ราคาถูกกว่าคือราคา 134 บาท มาปิดไว้กับโคมไฟที่ต้องการแล้วนำไปจ่ายเงินกับพนักงานของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำป้ายราคาถูกมาปิดไว้กับโคมไฟราคาแพงกว่าป้ายนั้น ถือว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จอยู่ในตัวแล้ว เมื่อการกระทำดังกล่าวทำให้พนักงานนั้นหลงเชื่อว่าโคมไฟนั้นมีราคาเพียง 134 บาท จึงยินยอมรับงิน 134 บาท ด้วยความสมัครใจอันเกิดจากการหลงเชื่อ แล้วมอบโคมไฟนั้นให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ลักทรัพย์ แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปว่า จำเลยเอาสิ่งของหรือสินค้าอื่น ๆ อีกหลายรายการใส่ไว้ในกล่องที่ใส่โคมไฟที่ต้องการซื้อ แล้วนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหาย โดยมีการชำระราคาสินค้าเพียงโคมไฟอย่างเดียว อันนี้ถือว่าเป็นการลักทรัพย์สินค้าอื่น ๆ นั้นโดยใช้กลอุบายซึ่งเป็นการแสวงหาวิธีการตบตาผู้เสียหายเพื่อจะเอาทรัพย์ไปโดยไม่ต้องชำระเงินมิใช่การแสดงข้อความอันเป็นเท็จหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้ได้ทรัพย์ไปอันจะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542) จิตฤดี วีระเวสส์

author avatar
PongrapatLawfirm