ทนายความคดีทำร้ายร่างกาย

 ทนายความคดีทำร้ายร่างกาย ทำร้ายร่างกายสาหัส

หากลูกความมีปัญหา ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทำร้าย โดยเจตนา ทางทนายความยินดีช่วยเหลือให้คำปรึกษากฎหมาย ฟ้องคดี กรณีถูกทำร้าย ทุบตี ใช้อาวุธ หรือ ฝ่ายจำเลยเพื่อทำคำให้การสู้คดีทำร้ายร่างกาย กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม

ยินดีช่วยเหลือเพื่อความยุติธรรม

โทรหาผม ทนายพัตร์

Tel : %e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 

ตัวอย่างการดำเนินแนวทางสู้คดีตามคำคำพิพากษาเบื้องต้นมีดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ 176/2543 การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันพลตำรวจ ก. ซึ่งแต่งกายเครื่องแบบตำรวจและออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่สามีภริยาทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่าการใช้อาวุธมีดฟันทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. ดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด หรือไม่เกี่ยวข้องกับการที่พลตำรวจ ก. กับพวกจับกุมจำเลยที่ 1 กับพวก ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำร้ายร่างกายพลตำรวจ ก. เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่พลตำรวจ ก. กับพวกกำลังระงับเหตุทะเลาะวิวาทกันดังกล่าว ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามหน้าที่ โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 296 (ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม มาตรา 140 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 138 วรรคสอง, มาตรา 83 จำคุกคนละ 6 เดือน และจำเลยที่ 1 มีความผิดตาม มาตรา 296,371 เป็นความผิดหลายกรรม ศาลอุทธรณ์แก้โทษ )

คำพิพากษาฎีกาที่ 2741/2550 การที่จำเลยใช้ไม้ตีแล้วกอดปล้ำผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแต่ง เครื่องแบบตำรวจออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัด ไม่ว่าการทำร้ายร่างกายดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานตำรวจผู้กระทำการ ตามหน้าที่เพราะการที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ภายในงานวัดเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการ ตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 296

Comments

แสดงความคิดเห็น

You may also like...

Don`t copy text!