โทรหาผมทนายพัตร์
ทนายความคดีกรรโชกทรัพย์
คำพิพากษาฎีกา ความผิดฐานกรรโชก ป.อ. มาตรา 337
จากเว็บไซด์ศาลฎีกา
1. คำพิพากษาฎีกาที่ 1280/2543
ที่จำเลยฎีกาว่า ชั้นจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยมาดำเนินคดีนี้โดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ มาตรา๑๒๑ วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และขัดต่อข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ.๒๕๒๓ เอกสารหมาย ล.๑ นั้น การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านว่าการสอบสวนไม่ชอบ ย่อมถือว่าการสอบสวนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ว่าการจับกุมจะชอบหรือมิชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีนี้ของโจทก์ ฎีกาของจำเลยถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โทรศัพท์ไปข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมมอบเงินและรถยนต์แก่ตนโดยพูดขู่เข็ญว่าจะนำเรื่องผู้บริหารของบริษัท ท.ติดสินบนรัฐมนตรีฯตามข่าวในหนังสือพิมพ์ไปอภิปรายในรัฐสภาและให้ข่าวแก่หนังสือพิมพ์ อันเป็นการทำอันตรายต่อชื่อเสียงและทรัพย์สินของบริษัท ท.ซึ่งมี ป.เป็นประธานกรรมการบริษัท และมีโจทก์ร่วมเป็นผู้ช่วยบริหารงานของบริษัท จนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมยอมจะให้เงินสดจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท กับรถยนต์กระบะ ๑ คันแก่จำเลยตามที่ตกลงกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ตามป.อ.มาตรา ๓๓๗ วรรคแรก
เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะนำไปอภิปรายต้องเป็นความจริงหรือจำเลยเชื่อว่าเป็นความจริง จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่นำความอันเป็นเท็จไปอภิปรายในรัฐสภาได้ แต่เรื่องที่จำเลยกล่าวหาว่าผู้บริหารบริษัท ท.ติดสินบนรัฐมนตรีฯ เกี่ยวกับเรื่องตั้งโรงงานยางมะตอยไม่เป็นความจริงจึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยซึ่งมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐได้พบเห็นหรือรู้เห็นความผิดของรัฐมนตรีฯ ที่รับสินบนจากผู้บริหารของบริษัท ท.ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้เกิดขึ้นจริง แล้วจำเลยใช้เหตุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อรองเรียกรับทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมโดยมิชอบเพื่อแลกกับการที่จำเลยจะไม่นำเรื่องดังกล่าวไปอภิปรายในรัฐสภาตามตำแหน่งหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐเรียกรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา ๑๔๙
2. คำพิพากษาฎีกาที่ 5483/2543
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ ๑ ต่อมาจำเลยที่ ๒ กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ ๒ สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง ลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ ๒ ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้หลังจากนั้นอีก ๓ ถึง ๔ วัน จำเลยที่ ๑ ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ ๑ ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา ๓๖๒,๓๖๔ และ ๓๖๕ จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ ๑จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ ๒ ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
3. คำพิพากษาฎีกาที่ 339/2542
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกันแต่เดิมเมื่อปี ๒๕๓๖ สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วน