ทนายความฟ้องคดีแบ่งมรดก-คดีที่ดิน-ครอบครองปรปักษ์

ทนายความฟ้องแบ่งมรดก ที่ดิน

ทนายความคดีมรดก

 ลูกความท่านใดมีปัญหาเรื่องการแบ่งที่ดินมรดก ก็ดี หรือ ทรัพย์มรดก ถูกเบียดบังยักยอก  จากผู้จัดการมรดก หรือ ทายาท ญาติพี่น้อง ทำให้เกิดปัญหาตามมา สูญเสีย ทรัพย์มรดกไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดย เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ถึงแม้จะมีพินัยกรรมหรือไม่มีก็ดี หรือ ถูกปลอมพินัยกรรมก็ดี ท่านสามารถฟ้องคดีดังกล่าวได้ สามารถสอบถามทนายความและทางทนายความจะดำเนินการจัดรูปคดีและฟ้องร้องคดีที่เป็นประโยชน์เพื่อให้เกิดความยุติธรรม ปัญหาของท่านเราช่วยท่านได้ เพียงท่านติดต่อหาผม

 ทนายพัตร์

โทร %e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3-%e0%b8%97%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 

 

หลักกฎหมายในคดีทรัพย์มรดก และสิทธิในมรดก เพื่อฟ้องคดี

บรรพ 6 ว่าด้วย มรดก

มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจนสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ

เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ อย่างไรก็ดี

ความรับผิดของทายาทจะมีขอบเขตจำกัด คือ กฎหมายกำหนดว่าทายาทไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

มรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อใด

มรดกจะตกทอดแก่ทายาท เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ความตาย ในที่นี้หมายความรวมถึงความตายซึ่งตามกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ตายแล้วด้วย เมื่อบุคคลใดต้องถึงแก่ความตายดังกล่าว กองมรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือโดยพินัยกรรม โดยทายาทซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเรียกว่า ทายาทโดยธรรม ทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมเรียกว่าผู้รับพินัยกรรม มรดกซึ่งไม่มีพินัยกรรมเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาทในกรณีที่มีทายาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเรียกว่า ทายาทโดยธรรม ได้แก่ ญาติและคู่สมรส

การเป็นทายาท

บุคคลที่จะเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกนั้น ถ้าเป็นทายาทโดยธรรมต้องเป็นบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีสภาพบุคคล ซึ่งสภาพ
บุคคลนี้ย่อมเริ่มมีขึ้นตั้งแต่เมื่อบุคคลนั้นได้คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารก

ทายาทโดยธรรมซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้แก่
1. ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื้อ
2. บิดามารดา
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
7. คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
1. ถ้าเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นต่าง ๆ หลายชั้น ทายาทโดยธรรมในลำดับต้นจะได้รับมรดกไปก่อน

ส่วนทายาทโดยธรรมในลำดับรองลงมาไม่มีสิทธิได้รับมรดก
2. กรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้ตายจะมีทายาทโดยธรรมในลำดับใดก็ตาม

คู่สมรสของผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดกเสมอ ส่วนจะได้ส่วนแบ่งเป็นจำนวนเท่าใด ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
กล่าวคือ
(1) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดาน และมี
คู่สมรส กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นบุตรของผู้
ตาย
(2) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 3 คือ พี่น้องร่วมบิดา
มารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 2 คือ บิดามารดาและผู้ตายมีคู่
สมรสซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กรณีเช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง
(3) ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 4 คือ พี่น้องร่วมบิดาหรือ
ร่วมมารดาเดียวกันหรือมีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 คือ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือมี
ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา และมีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ กรณี
เช่นนี้คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดก 2 ใน 3 ส่วน
(4) ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย คงมีแต่คู่สมรสเท่านั้น
กรณีเช่นนี้คู่สมรสได้รับมรดกทั้งหมด
3.ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันหลายคน ทายาทโดย
ธรรมเหล่านั้นจะได้รับมรดกคนละส่วนเท่า ๆ กัน
4. ในกรณีที่มีทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดานหลายชั้น เช่น
เจ้ามรดกมีทั้งลูกและหลาน ลูกมีสิทธิได้รับมรดกก่อน หลานจะไม่มีสิทธิได้รับ
มรดก เว้นแต่ ลูกจะได้ตายไปก่อนเจ้ามรดก หลานจึงจะเข้ารับมรดกได้โดยการ
รับมรดกแทนที่
5. ทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 คือ ผู้สืบสันดานนั้นในกรณีที่เป็นบุตร
บุตรซึ่งจะมีสิทธิได้รับมรดกจะต้องเป็นบุตรในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
(1) บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่ บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
(2) บุตรบุญธรรม ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(3) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
6. ในกรณีที่สามีภริยาร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ทั้งสามีและภริยายังคงมีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกัน
7. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของบุตรบุญธรรม แต่บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม

และทั้งมีสิทธิได้รับมรดก
ของบิดามารดาเดิม
8. บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของคู่สมรส ของผู้รับบุตรบุญธรรม เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมจะได้

จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วย
9. ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมอยู่เลย และผู้ตายก็มิได้ทำพินัยกรรมไว้ กรณีเช่นนี้มรดกจะตกทอดได้แก่แผ่นดิน

ฏีกา แนวทางสู้คดี

            4828/2529   บิดามารดาของโจทก์และผู้ตายจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ความเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของโจทก์และผู้ตายเปลี่ยนแปลงไป เพราะกฎหมายมิได้กำหนดว่าการเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องให้บิดามารดาจดทะเบียนสมรสด้วยกัน จึงต้องถือความเป็นพี่น้องกันตามความเป็นจริง เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรม และผู้ตายไม่มีผู้สืบสันดาน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 3 ของผู้ตาย จึงเป็นผู้จัดการศพของผู้ตาย และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันได้แก่ ค่าปลงศพ เพราะเหตุที่ลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์ชนผู้ตายได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 4828/2529

โจทก์     นาย เกียรติศักดิ์ แซ่โง้ว กับพวก.

จำเลย   ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามมิตรขนส่ง กับพวก.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 443, 1629.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55, 172.

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกับนายเชาวลิต แซ่โง้ว บิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกสิบล้อเลขทะเบียน 70-0098 ศก. นายบุญหรือเปี๊ยก หรือจะแก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ด้วยความเร็วสูงมากล้ำเข้าไปในเส้นทางเดินรถของรถที่วิ่งสวนมา ชนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่า เลขทะเบียน 2609 ศก. ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนายเชาวลิต แซ่โง้ว เป็นผู้ขับและนางลาวัลย์ เจริญพิทยา นั่งซ้อนท้ายสวนทางมา เป็นเหตุให้รถยานยนต์หักพังใช้ประโยชน์ไม่ได้ นายเชาวลิตและนางลาวัลย์ถึงแก่ความตายโจทก์ต้องเสียค่าปลงศพเป็นเงิน 70,000 บาท ค่ารถจักรยานยนต์ 30,000 บาท ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายสำหรับค่าปลงศพและค่ารถจักรยานยนต์รวมทั้งค่าขาดไร้อุปการะเป็นเวลา 20 ปี รวมเป็นเงิน 700,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

            จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนายเชาวลิต แซ่โง้ว ไม่มีอำนาจฟ้อง และฟ้องขอโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม

            ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปลงศพและค่าซ่อมแซมรถจักรยานยนต์รวมเป็นเงิน 78,113 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2526 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้โจทก์ครบถ้วน

            จำเลยที่ 1 อุทธรณ์

            ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยที่ 1 ใช้เป็นเงิน 68,000 บาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

            จำเลยที่ 1 ฎีกา

            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องเรียกค่าปลงศพหรือไม่นั้น…ไม่ปรากฏว่านายเชาวลิตมีภรรยาและบุตร จำเลยมิได้นำสืบหักล้างว่านายเชาวลิตไม่ใช่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับโจทก์ทั้งสอง ส่วนบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองและนาย       เชาวลิต จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ความเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของโจทก์ทั้งสองและนายเชาวลิตเปลี่ยนแปลงไป เพราะกฎหมายมิได้กำหนดว่า การเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องให้บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันด้วยจึงต้องถือความเป็นพี่น้องกันตามความเป็นจริง ฉะนั้น เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมและนายเชาวลิตไม่มีผู้สืบสันดาน โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จึงเป็นผู้จัดการศพของนายเชาวลิต และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันได้แก่ค่าปลงศพ เพราะเหตุที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถชนนายเชาวลิตถึงแก่ความตายได้…

            ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 1 ว่า ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม…ก็ปรากฏตามฟ้องของโจทก์ทั้งสองว่า โจทก์ทั้งสองเป็นพี่ชายและพี่สาวนายเชาวลิต แซ่โง้ว ร่วมบิดามารดาเดียวกัน และโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างของจำเลยทั้งสองคือค่าปลงศพ ค่ารถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 1 โดยระบุค่าเสียหายแต่ละรายการมาด้วยว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด ขอให้จำเลยร่วมรับใช้ค่าเสียหายดังกล่าว เป็นการบรรยายว่าโจทก์ฟ้องในฐานะทายาทซึ่งเป็นผู้ปลงศพนายเชาวลิตผู้ตาย และในฐานะที่โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งละเมิดว่า ต้องเสียหายอย่างไรบ้างฟ้องโจทก์จึงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างแห่งข้อหา ไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดและแสดงหลักฐานและแสดงหลักฐานมาในฟ้องว่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม…”

            พิพากษายืน. ( สุนทร จันทรศักดิ์ – สมศักดิ์ เกิดลาภผล – สาระ เสาวมล )

ทายาทโดยธรรม, ทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิรับมรดก, รับมรดกแทนที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

            2742/2545 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น นอกจากกฎหมายมิได้กำหนดว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว   การที่จะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการตีความที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมายและมิใช่ความมุ่งหมายของบทบัญญัติที่ให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปไม่ให้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 ทั้งการเป็นพี่น้องด้วยกันนี้ก็หามีบทบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันเหมือนเช่นการเกิดสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฉะนั้น การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจึงถือตามความเป็นจริง  เมื่อผู้ร้องและผู้ตายต่างมีบิดาคนเดียวกัน แม้จะเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็ถือว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นที่สูงกว่าผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนผู้คัดค้านที่เข้ารับมรดกแทนที่บิดาซึ่งเป็นลุงของผู้ตายถือเป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่มีส่วนได้เสียที่จะยื่นคำร้องคัดค้านการที่ผู้ร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย

2742/2545

ผู้ร้อง           นายเธียรชัย กันใหม่

ผู้คัดค้าน        นายต๋า แก้วศรี

แพ่ง             ทายาทโดยธรรม ทายาทลำดับถัดไปไม่มีสิทธิรับมรดก รับมรดกแทนที่ ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก (มาตรา 1629, 1630, 1639, 1713)

            ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันกับนายคำ กันใหม่ ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2543 โดยมารดาผู้ตายและมารดาผู้ร้องกับบิดาผู้ตายและผู้ร้องได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายยังเป็นโสด มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดิน 2 แปลง กับเงินฝากในธนาคาร ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมและมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกไว้และมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

            ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ตายกับผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 (4) และไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนายใจ๋ แก้วศรี ลุงผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านมีสิทธิเข้าร่วมมรดกแทนที่ ในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   มาตรา 1629 (6) และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

            ในวันนัดไต่สวนพยานผู้ร้องนัดแรก ศาลชั้นต้นเห็นว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (4) ถือตามสถานภาพตามความเป็นจริงหาได้คำนึงถึงว่าจะต้องเกิดจากบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เมื่อผู้ตายและผู้ร้องเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (4) ผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมลำดับ 6 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (6)จึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับหลังถัดลงไปจากผู้ร้อง จึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่อาจยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอตั้งคัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 ได้ จึงมีคำสั่งยกคำคัดค้าน แล้วศาลชั้นต้นไต่สวนสืบพยานผู้ร้องและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

            ผู้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่ง

            ศาลอุทธรณ์ภาค   5 พิพากษายืน ผู้คัดค้านฎีกา

            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านเพียงข้อกฎหมายประการเดียวว่า ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายหรือไม่ โดยผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้ร้องกับผู้ตายเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายทา กันใหม่ จึงไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (4) ผู้ร้องไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (4) นั้น นอกจากฎหมายมิได้บัญญัติว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันแล้ว หากจะตีความบทกฎหมายดังกล่าวว่า พี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเดียวกันดังที่ผู้คัดค้านฎีกาแล้ว ผลก็จะกลายเป็นว่าพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันจะมีได้ก็แต่เฉพาะเมื่อการสมรสระหว่างบิดากับมารดาคนก่อนสิ้นสุดลงแล้วเท่านั้น การตีความเช่นนี้เห็นได้ชัดว่าจะทำให้การบังคับใช้บทกฎหมายดังกล่าวแคบเกินกว่าบทบัญญัติตามตัวอักษรของกฎหมาย และมิใช่ความมุ่งหมายบทของบัญญัติที่บัญญัติให้ทายาทโดยธรรมซึ่งอยู่ในฐานะเป็นญาติสนิทที่ใกล้ชิดที่สุดอยู่ในลำดับมีสิทธิรับมรดกก่อนหลังและตัดญาติห่างซึ่งอยู่ในลำดับถัดลงไปให้ไม่มีสิทธิในมรดกของผู้ตาย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงต้องถือความเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามความเป็นจริง เมื่อผู้ร้องเกิดจากนางหนึ้ง กันใหม่ มารดา ผู้ตายเกิดจากนางทา แก้วศรี มารดา โดยมีนายทา กันใหม่ เป็นบิดาเดียวกัน แม้ผู้ร้องกับผู้ตายเป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายทา บิดา ก็ถือได้ว่าผู้ร้องกับผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (4) เมื่อผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมในลำดับอื่นที่สูงกว่าผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย   ผู้คัดค้านเข้ารับมรดกแทนที่บิดาซึ่งเป็นลุงผู้ตายและถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1630 จึงไม่มีส่วนได้เสียจะยื่นคำร้องคัดค้านการที่ผู้ร้องขอจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างมาในฎีกาเพื่อนำมาเทียบเคียงนั้น ศาลฎีกาในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรผู้ตาย จึงเป็นคนละอย่างต่างกับคดีนี้ และศาลฎีกาเห็นพ้องกับข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 กล่าวคือ การเป็นบิดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นย่อมก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ในระหว่างบิดากับบุตรตามกฎหมายการตีความให้สิทธิแก่บิดาในอันที่จะมีสิทธิในมรดกของบุตรผู้ตาย ซึ่งต้องแปลว่าจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรเท่านั้นย่อมสอดคล้องรองรับกับสิทธิหน้าที่ระหว่างบิดากับบุตรที่มีอยู่ตามกฎหมาย แต่การเป็นพี่น้องด้วยกันหาได้มีบทกฎหมายบัญญัติให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกันไป   จึงไม่สามารถนำมาเป็นเหตุเทียงเคียงกับคดีนี้ได้ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาต้องตามกันมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น”

            พิพากษายืน

 

author avatar
PongrapatLawfirm