วิเคราะห์สถิติข้อสอบเนติบัญฑิต อาญา 10 ข้อ

วิเคราะห์สถิติข้อสอบเนติฯ อาญา 10 ข้อ

อาญา 10 ข้อ วิเคราะห์สถิติข้อสอบเนติฯ
บทความนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นแนวการศึกษาข้อสอบเนติบัณฑิตที่ผ่านมา 20 ปี (พ.ศ.2531-2551) ว่ามีแนวการออกข้อสอบอย่างไร ไม่ได้เป็นการเก็งข้อสอบหรือ เก็งฎีกาอย่างใดทั้งสิ้น เป็นเพียงสถิติการออกสอบในแต่ละข้อ ดังนั้นบทวิเคราะห์สถิติข้อสอบของข้าพเจ้า จึงอยู่ที่พื้นฐานข้อมูลข้อสอบเก่าเนติฯ ย้อนหลังเท่านั้น ซึ่งไม่ได้รับประกันว่าจะเป็นไปตามสถิติในการสอบ อาญาเทอมนี้ (เทอม 1 สมัย 62) แต่อย่างใดไม่ แต่อย่างน้อย บทความนี้จะทำให้เพื่อนนักศึกษาเนติฯ โดยเฉพาะ นักศึกษาเนติ ฯ ปี1 พอมองเห็นภาพ ข้อสอบอาญา 10 ข้อ

อนึ่ง บทความนี้ นำข้อมูล สรุปขอบเขตอาญา ของคุณผ่านมาแล้วอยากตอบ เป็นพื้นฐานในแต่ละข้อ

ขอบเขตของกฎหมายอาญานั้นสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 1  ม.58 และ ม. 107  ม.208
ข้อที่ 2 กับข้อที่ 3 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม.59  ม. 106
ข้อที่ 4 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 209  ม.287
ข้อที่ 5 กับ ข้อที่ 6 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 288  ม.333 และ ม.334  ม. 366
ข้อที่ 7 จะเป็นวิชากฎหมายภาษีอากร
ข้อที่ 8 จะเป็นวิชากฎหมายแรงงาน
ข้อที่ 9 จะเป็นวิชากฎหมาย รัฐธรรมนูญ
ข้อที่ 10 จะเป็นวิชากฎหมายปกครอง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 1 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 1  ม.58 และ ม. 107  ม.208

ขอบเขตมาตรา

ในข้อที่ 1 นั้นเรายังสามารถแบ่งขอบเขตและเนื้อหาออกได้เป็นชุดย่อยๆ ได้ดังต่อไปนี้
1.1 ชุดดูหมิ่นเจ้าพนักงาน .ม.ที่สำคัญก็คือ ม.136
1.2 ชุดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน.ม.ที่สำคัญคือ ม.138 + ม.139 + ม.140ในส่วนนี้ควรที่จะดู ..ม. 165 ประกอบด้วยก็จะดีมิใช่น้อยนะครับ ( ม.165 เป็นเรื่องเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย )
1.3 ชุดแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานม.ที่สำคัญ คือ ม.137 + ม.172 + ม.173 + ม.174 + ม.181
1.4 ชุดทำลายม.ที่สำคัญคือ ม.141 + ม.142 + ม.158 + ม.184 + ม.188 + ม.199
1.5 ชุดเรียกรับสินบนม.ที่สำคัญ คือ ม.143 + ม.149 + ม.201ในส่วนนี้ให้ดู ม.149 คู่กับ ม.148 ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
1.6 ชุดให้สินบนม.ที่สำคัญคือ ม.144 + ม.167
1.7 ชุดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานม.ที่สำคัญก็คือ ม.145 + ม.146
1.8 ชุดมักออกแซมกับประเด็นหลัก.ม.ที่สำคัญก็คือ ม.147 + ม.157 + ม.188 + ม.199 + ม.200มาตราเหล่านี้มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลักอยู่เสมอๆ..ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจเอาไว้ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
1.9 ชุดทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยที่ตนมีหน้าที่.ม.ที่สำคัญก็คือ ม.161..ในส่วนนี้ควรดู ม.162 ประกอบด้วยก็จะดีนะครับ
1.10 ชุดเท็จทั่วไป.ม.ที่สำคัญก็คือ ม.179 + ม.175 + ม.177 + ม.180..ในชุดนี้มีข้อที่อยากแนะนำ

ดังนี้1. มีการทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ม.179 ในชั้นสอบสวนขึ้นมาก่อน2. แล้วจึงค่อยเอาความอันเป็นเท็จนั้น มาฟ้องผู้อื่นต่อศาล ตาม ม. 1753. แล้วจึงค่อยมาเบิกความอันเป็นเท็จนั้นในการพิจารณาคดี ในกรณีที่เป็นพยานบุคคล ตาม ม .177.4. และมานำสืบ หรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ม.180 ในกรณีที่เป็นพยานเอกสาร หรือเป็นพยานวัตถุ .ถ้าเรียงลำดับดังกล่าวนี้จะทำให้ง่ายต่อการจดจำและง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1.11 ชุดหลบหนีม.ที่สำคัญในชุดนี้ก็คือ ม.189 + ม.190 + ม.191 + ม.192 + ม.204 + ม.205
1.12 ชุดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร..ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม. 4 + ม.5 + ม.6 = ม.11
1.13 ชุดให้รับโทษในราชอาณาจักรม. ที่สำคัญ คือ ม.7 + ม.8 + ม.9 = ม.10
ชุดริบทรัพย์สิน ม.ที่สำคัญ คือ ม.32 + ม.33 + ม.34
1.14 เพิ่มโทษ ลดโทษ และรอการลงโทษม. ที่สำคัญคือ ม.56 + ม.57 + ม.58

วิเคราะห์ข้อสอบ

ข้อสอบย้อนหลัง ที่ผ่านมาของ ข้อ 1 อาญา
เดิม ก่อนที่จะมีกฎหมายพิเศษ 4 ข้อ แบบปัจจุบัน(ก่อนปี 2544)
ม.1-58 และ ม.107-208 จะแยกกันคนละข้อ
โดยที่ ม.1-58 อยู่ที่ ข้อ 1 ……ม.107-208 อยู่ที่ ข้อ 3
เมื่อมีกฎหมายพิเศษ 4 ข้อ ตั้งแต่ ปี 2544 จนถึง ปัจจุบัน
ข้อ 1 จึงมีขอบเขตมาตรา ม.1-58 และ ม.107-208

ปี 2544 ออกสอบ ม.149…157…161
ปี 2545 ออกสอบ ม. 8…9…144…147….166…200…205
ปี 2546 ออกสอบ ม. 167….200
ปี 2547 ออกสอบ ม. 34(1)….143
ปี 2548 ออกสอบ ม. 151….152
ปี 2549 ออกสอบ ม. 145….157…184…199…200
ปี 2550 ออกสอบ ม. 4…8…172…174…181
ปี 2551 ออกสอบ ม. 1(12)…..38….138….190….298

จะเห็นได้ว่า ข้อสอบ ข้อ 1 มี เนื้อหาที่ออกสอบ ได้เยอะแยะมาก หลากหลาย
แต่ มาตรา ที่ออกสอบแต่ละปี จะไม่ซ้ำกัน ดังนั้น ลองดูมาตรา ที่ ยังไม่ออกสอบ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานะครับ
แต่ ดู ม.157 กับ ม.200 ไว้ด้วยนะครับ เพราะ เป็นมาตรา ที่ขอบเขตการทำผิด มักจะคลอบคลุมไปถึงครับ
ม. อื่นๆ จะเป็นความผิดเฉพาะ ในเรื่องนั้นๆครับ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 2 กับข้อที่ 3 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม.59  ม. 106

ขอบเขตมาตรา

ในข้อที่ 2 และข้อที่ 3 นั้น เราสามารถที่จะแยกเนื้อหาและมาตราที่สำคัญๆได้ดังต่อไปนี้
2.1 ชุดหลักทั่วไปม.ที่สำคัญ คือ ม.59 เป็นมาตราที่เราควรที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นมาตราที่ออกแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นวรรคใดวรรคหนึ่งใน ห้าวรรค ของ ม.59
2.2 ชุดเจตนาตามกฎหมายม.ที่สำคัญ ก็คือ ม. 60 และ ม.61
2.3 ชุเดสำคัญผิดม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.59 วรรค 3 + ม.61 + ม.62 วรรค 1
2.4 ชุดรับโทษหนักขึ้นม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.62 วรรค ท้าย + ม.63
2.5 ชุดยกเว้นความรับผิดม.ที่สำคัญคือ ม.68
2.6 ชุดยกเว้นโทษ..ม.ที่สำคัญคือ ม.67( ส่วน ม.65 + ม.66 + ม.70 + ม.71 + ม.73 + ม.74 นั้น ดูให้เข้าใจก็พอแล้ว )
2.7 ชุดลดโทษม.ที่สำคัญก็คือ ม.72 และ ม.69( ส่วน ม.64 + ม.65 วรรค 2 + ม.66 ส่วนท้าย + ม.71 วรรค 2 นั้นให้ดูพอเข้าใจก็ใช้ได้แล้ว )
2.8 ชุดพยายามกระทำความผิดม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.80 + ม.81 + ม.82
2.9 ชุดตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุนม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.83 + ม.84 + ม.86 + ม.87 + ม.88

ส่วนที่ควรที่จะต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีก ก็คือ
1. ในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
2. หลักในเรื่อง  รู้
3. ข้อเปรียบเทียบระหว่างผู้กระทำความผิดโดยตรง กับ ผู้กระทำผิดโดยทางอ้อม กับผู้ใช้
4. ข้อแตกต่าง และข้อเหมือน ระหว่างป้องกัน กับ บันดาลโทสะ และข้อแตกต่างระหว่าง ป้องกัน กับ จำเป็น

วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อสอบที่ผ่านมา ของ กฎหมายอาญา ข้อ 2-3
จะเป็น เนื้อหาทางทฤษฎี ตาม หลักที่ ท่านอ.เกียรติขจร สอนนะครับ
ถ้าเป็นฎีกา ก็เป็นฎีกาที่ ยืนยันตามหลักกฎหมายนะครับ

ลองหัดทำข้อสอบเก่า ย้อนหลัง และ ลองหัดทำข้อสอบเตรียมสอบอาญา ที่ผมได้ทำลิ้งไว้ด้านล่างดูนะครับ
จะช่วยในการตอบข้อสอบจริงๆครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 4 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 209  ม.287

ขอบเขตมาตรา

ในข้อที่ 4 นั้น เราก็สามารถแยกออกได้เป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้เช่นกัน กล่าวคือ
4.1 ชุดอั้งยี่ ซ่องโจรม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.209 + ม.210 + ม.213.( ม.211+.ม.212 ดูให้พอเข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไรด้วยก็จะดีมิใช่น้อย )ในส่วนนี้จะมีชุดมั่วสุม ตาม ม.215 และ ม.216 อีก ที่ควรจะดูเอาไว้ด้วย
4.2 ชุดวางเพลิงเผาทรัพย์.ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.217 + ม.218 + ม.219 + ม.220 + ม.223 + ม.224 + ม.225.ในส่วนนี้ควรจะดู ม. 233 เอาไว้ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
4.3 ชุดปลอมแปลงเงินตราม.ที่สำคัญคือ ม.240 + ม.242 + ม.243 + ม.244 + ม.245 + ม.247
4.4 ชุดปลอมเอกสารม.ที่สำคัญ คือ ม.264 + ม.265 + ม.266 + ม.267 + ม.268
4.5 ชุดปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ม.ที่สำคัญคือ ม.269 / 1  ม.269 / 7..ในส่วนนี้ยังไม่เคยออกเป็นข้อสอบ ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจทุกมาตราและก็มีโอกาสออกสอบได้เช่นกัน
4.6 ชุดความผิดเกี่ยวกับเพศม.ที่สำคัญคือ ม.276 + ม.277 + ม.278 + ม.279 + ม.282 + ม.284

วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อสอบที่ผ่านมา ของ กฎหมายอาญา ข้อ 4
ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เป็นเรื่อง ปลอมเอกสาร ม.264 -268 ตลอด เลยครับ
สำคัญ คือ ถ้า เป็นเรื่อง ม.267 ต้องตอบ ม.137 ควบคู่กันไปด้วยนะครับ เพราะต้องมาคู่กัน แม้ ม.137 จะเป็นเรื่อง ของ อาญาข้อ 1 ก็ตาม
ดังนั้น ข้อ 4 นี้ ให้เน้นเรื่องปลอมเอกสาร ไว้ครับ เรียนภาคค่ำ ท่านอ. ก็ เน้นสอน ปลอมเอกสารครับ แต่…..ควรให้ความสำคัญกับมาตราที่เหลือด้วยนะครับ
เผื่อ ไม่ออกเรื่องปลอมเอกสาร เพราะ ออกสอบ บ่อย แล้ว จน หลักต่างๆ ของปลอมเอกสาร ออกเป็นข้อสอบไปแล้วนะครับ

ม. ที่สำคัญ ที่น่าสนใจ อื่นๆ ดู เรื่อง วางเพลิง….ปลอมเงินตรา….ความผิดเกี่ยวกับเพศ ตาม ก.ม.แก้ไขใหม่

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 5 กับ ข้อที่ 6 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 288  ม.333 และ ม.334  ม. 366

ขอบเขตมาตรา

ในข้อที่ 5 และ ข้อที่ 6 นั้น จะมีเนื้อหาและมาตราที่สำคัญๆแยกออกเป็น 2 ส่วนดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของ ม.228  ม.333 ซึ่งเราสามารถแยกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้
5.1 ชุดความผิดต่อชีวิตม.ที่สำคัญๆก็คือ ม.288 + ม.289 + ม.290 + ม.291.โดยเฉพาะ ม. 289 จะต้องจดจำให้ได้ทุกอนุมาตรา เพราะมักจะออกแซมในประเด็นหลักๆอยู่เสมอ( เป็นการวัดความรอบคอบ และวัดความจำของผู้สอบ ).ส่วน ม.292 + ม.293 + ม.294 นั้น ดูให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไรก็พอแล้ว ( เพื่อไม่ให้เกิดหลุมเวลาไล่สาย )
5.2 ชุดความผิดต่อร่างกายม.สำคัญก็คือ ม.295 + ม.296 + ม.297 + ม.298 + ม.300ส่วน ม..299 ดูให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไรก็พอแล้ว
5.3 ชุดทำให้แท้งลูก.ในชุดนี้สำคัญทุกมาตรา ม.301  ม.305ข้อที่ควรระวังก็คือถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ม.305แล้วล่ะก็ ท่านว่า นายแพทย์จะต้องรับผิด ตาม ม.302และฝ่ายหญิง ก็จะต้องรับผิด ตาม ม.301.และถ้าเป็นการพยายามทำให้แท้งลูกแล้วเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส ท่านว่า ผู้กระทำ ก็ยังคงต้องรับโทษอยู่ ( ไม่เข้าข้อยกเว้น ตาม ม.304 )และกรณีการทำให้แท้งลูกจนเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัส ตาม ม.302 วรรค 2 กับ ม.303 วรรค 2 นั้น จะใกล้เคียงกับกรณีตาม ม.297 ( 5 ) เป็นอย่างยิ่ง
5.4 ชุดทำให้เสื่อมสียเสรีภาพ.ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.309ในส่วนนี้จะต้องดูคู่กับ ม.337 และดูคู่กับ ม.339เพราะความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าวจะรวมความผิดตาม ม.309 อยู่ในตัวด้วยกล่าวคือ ถ้าหากไม่ผิดตาม ม.337 หรือ ม.339 ก็ย่อมจะต้องผิดตาม ม.309 เสมอ( และเวลาที่จะออกข้อสอบในส่วนนี้ จึงมักจะนำเอามาออกคู่กันอยู่เสมอ ถ้าไม่ออก ม.309 คู่กับ ม.337 ก็จะออก ม.309 คู่กับ ม.339 นั่นเอง )จึงควรทำความเข้าใจให้จงดีและ ม.309 นี้จะต้องทำความเข้าใจทั้ง 3 วรรค
5.5 ชุดหน่วงเหนี่ยวกักขังม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.310ส่วน ม.310 ทวิ + ม.311 + ม.312 ทวิ ดูให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไร ก็พอ

5.6 ชุดเรียกค่าไถ่..ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.313 + ม.314 + ม.315 + ม.316สำคัญทุกมาตรา.ในชุดนี้มักจะโยงไปหา ม.1 ( 13 )ด้วยเสมอ ดังนี้จึงควรรู้ถึงคำนิยามของคำว่า  ค่าไถ่  เอาไว้ด้วย
5.7 ชุดพรากผู้เยาว์ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.317 + ม.318 + ม.319
5.8 ชุดหมิ่นประมาทม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.326 + ม.329 + ม.330 + ม.331ส่วน ม.327 + ม.328 + ม.332 + ม.333 ดูให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร ก็พอแล้ว

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของ ม.334  ม.366 ซึ่งเราสามารถแยกออกเป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้
6.1 ชุดลักทรัพย์ + ชิงทรัพย์ + ปล้นทรัพย์.ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม. 334 + ม.335 + ม.336 ทวิ + ม.339 + ม340 + ม.340 ตรี..ในส่วนนี้ ม.335 กับ ม.340 ตรีมักจะออกสอบแซมกับหลักอยู่เสมอ( จะออกทดสอบทั้งหลักและทดสอบทั้งเหตุฉกรรจ์ ประกอบกันไปเสมอ.จึงควรระวังเอาไว้ด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย ).ดังนั้นนอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับหลักกฎหมายของ ม.334 + ม.339 + ม.340 ให้ดีๆ แล้ว.เราก็ควรที่จะท่อง และทำความเข้าใจ ม.335 กับ ม.340ตรี ให้ดีๆ ด้วย
6.2 ชุดลักทรัพย์ + วิ่งราวทรัพย์ม. ที่สำคัญ คือ ม. 334 + ม.336 + ม.336 ทวิ
6.3 ชุดลักทรัพย์ + ยักยอกม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.334 + ม.352.ในส่วนนี้นอกจากจะต้องดูว่าเป็นลักทรัพย์ หรือเป็นยักยอกแล้ว ก็ควรที่จะต้องดูเด้วยว่าถ้าเป็นยักยอกแล้วจะเป็นยักยอก ตาม ม.352 วรรค 2 หรือ เป็นยักยอก ตาม ม.353 หรือ เป็น ยักยอก ตาม ม.354 ด้วย.ดังนั้นจึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ
6.4 ชุดลักทรัพย์ + ฉ้อโกงม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.334 + ม.341ในส่วนนี้นอกจากจะต้องดูว่าเป็นลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย หรือ เป็นฉ้อโกง แล้ว ก็ควรที่จะต้องดูหลักกฎหมายต่างๆของฉ้อโกง เอาไว้ด้วยเพราะในเรื่องของฉ้อโกงนี้สามารถนำเอามาออกเป็นข้อใหญ่โดดๆ ได้
6.5 ชุดโกงเจ้าหนี้.ม. ที่สำคัญ คือ ม.349 + ม.350..ในส่วนนี้จะเป็นเอกเทศไม่สมารถที่จะออกคู่กับความผิดฐานอื่นๆได้เลย( และในส่วนนี้ก็มิได้ออกเป็นข้อสอบมานานมากแล้ว )จึงควรที่จะสนใจและทำความเข้าใจเอาไว้ด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย
6.6 ชุดมักออกแซมกับประเด็นหลักม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.357 รับของโจรม.358ทำให้เสียทรัพย์ม.364ม. + ม.365 บุกรุก.( ในส่วนนี้มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลักๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะทดสอบความรอบคอบและ ความจำ )
6.7 ชุดกรรโชกม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.337ในส่วนนี้ ควรที่จะดูคู่กับ ม.309 ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ.หรือดูคู่กับ ม.339 ชิงทรัพย์ หรือ ดูคู่กับ ม.338 รีดเอาทรัพย์ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นแล้ว นั่นเอง
6.8 ชุดคำนิยามม. ที่สำคัญ คือ ม.1และอนุมาตราสำคัญที่มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลัก ก็คือ อนุมาตรา 1 โดยทุจริต( 4 ) เคหสถาน( 5 ) อาวุธ..( 6 ) ใช้กำลังประทุษร้าย( 13 ) ค่าไถ่.และถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจนเกินไปก็ให้ดูอนุมาตรา 7 + ( 8 ) + ( 9 ) ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย

ข้อสังเกต ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตั้งแต่ ม.334  ม.366
1. ในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์นี้ ความผิดฐานลักทรัพย์ จะเป็นความผิดแกนหลักที่สามารถนำเอาไปออกเชื่อมโยงกับความผิดฐานอื่นๆ หรือ เชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ได้อยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นเรื่องเป็นลักทรัพย์สำเร็จ หรือ เป็นเพียงแค่พยายามลักทรัพย์หรือ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่. ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผิดฐานลักทรัพย์ หรือ ว่าผิดฐานยักยอกไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผิดฐานลักทรัพย์ หรือว่า ผิดฐานชิงทรัพย์ ( ถ้าชิงทรัพย์ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ก็จะผิดฐานปล้นทรัพย์ )ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผิดฐานลักทรัพย์ หรือว่า ผิดฐานฉ้อโกง ดังนี้เป็นต้น ดังนั้นจึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจให้จงดี
2. ในการออกข้อสอบอาจมีการนำเอาประเด็นในส่วนที่ 2 คือ ม.334  ม.366 ไปออกผสมกับ ประเด็นในส่วนที่ 1 คือ ม. 288  ม.333 ได้หรือ อาจนำเอาประเด็นในส่วนที่ 2 มาออกผสมกับประเด็นในส่วนที่ 1 ได้เช่นกัน
3. ความผิดฐานรับของโจร ก็ดี หรือ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ก็ดี หรือ ความผิดฐานบุกรุก ก็ดี.มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลัก อยู่บ่อยๆ
4. ลักษณะของข้อสอบจะเป็นการออกข้อสอบในลักษณะที่ต้องการวัดทั้งหลักกฎหมาย..วัดทั้งความรอบคอบ..วัดทั้งความจำ รวมอยู่ในข้อเดียวกันดังนี้จึงควรที่จะต้องระมัดระวังเอาไว้ด้วย
5. เหตุฉกรรจ์ทั้งหลายมักจะถูกนำเอามาออกเป็นข้อสอบเพื่อวัดความจำและความรอบคอบอยู่เสมอๆ

วิเคราะห์ข้อสอบ
ข้อสอบ ที่ผ่านมา ของ อาญา ข้อ 5-6
จะเป็นเรื่องทรัพย์เป็นเรื่องหลักนะครับ
ตามข้อสังเกต ของ คุณผ่านมาแล้วอยากตอบ เลยครับ
ที่อยากเพิ่มเติม คือ ถ้า มีคนทำความผิดร่วมกันหลายคน อย่าลืม ตอบ ม.83 ตัวการร่วม ไปด้วยนะครับ

ถ้าเป็น เรื่องที่โยงกัน ที่ผ่านมา 8 ปี ย้อนหลัง (ปี 2544-2551 )
คือ เอาเรื่อง หมิ่นประมาท หรือ พรากผู้เยาว์ หรือ กรรโชก หรือ ลักค่าไถ่ มาผูกโยงด้วย แต่ หลักๆ เป็นเรื่อง ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นพระเอกครับ เว้นแต่ ปีล่าสุด ปี 2551 ที่ออกเรื่องหมิ่นประมาท โดดๆ มาเลย 1 ข้อ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 7 จะเป็นวิชากฎหมายภาษีอากร

ขอบเขตมาตรา

ในข้อที่ 7 นั้น จะเป็นกฎหมายภาษีอากรในส่วนนี้จะมีเรื่องที่นำมาออกข้อสอบอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน กล่าวคือ 1. ภาษีบุคคลธรรมดา..2. ภาษีนิติบุคคล.3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ..โดยลักษณะในการออกข้อสอบนั้น จะเป็นการนำเอาภาษีทั้ง 4 เรื่องนั้นมารวมกันออกเป็นข้อเดียว( จะไม่ออกเฉพาะภาษีประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงประเภทเดียว )ต.ย.เช่น อาจจะออกภาษีนิติบุคคลผสมกับภาษีบุคคลธรรมดา ก็ได้ หรือ อาจจะออกภาษีนิติบุคคล + ภาษีมูลค่าเพิ่ม + ภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ได้. หรือ อาจจะออกภาษีบุคคลธรรมดา + ภาษีมูลค่าเพิ่ม + ภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ได้ ดังนี้เป็นต้น
และในการตอบข้อสอบกฎหมายภาษีนั้น อย่าตอบแบบฟันธงอย่างเด็ดขาดจะต้องยกหลักกฎหมายขึ้นมาวางก่อนเสมอ แล้วจึงปรับข้อเท็จจริงที่ให้มาเข้ากับหลักกฎหมายที่วางเอาไว้
ตอนชั่วโมงท้ายๆนั้น อาจารย์ จะบอกเองว่า ในปีนี้อาจารย์จะออกกฎหมายภาษีประเภทใดบ้างดังนั้นให้ติดตามคำบรรยายเล่มท้ายๆเอาไว้ให้ดีและส่วนมากอาจารย์มักจะออกแต่หลักใหญ่ๆเท่านั้น หลักย่อยๆจะไม่ออก

ภาษีบุคคลธรรมดา.จะมี ม. ที่สำคัญๆ คือ ม.39 + ม.40 + ม.41 + ม.42 + ม.42 ทวิ + ม.42 ตรี + ม.47 + ม.48 + ม.50 + ม.50 ทวิ + ม.54 + ม.56 + ม.57 + ม.57 ทวิ + ม.57 ตรี + ม.57 เบญจ

ภาษีนิติบุคคลจะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.65 + ม.65 ทวิ + ม.65 ตรี + ม.69 ทวิ + ม.69 ตรี + ม.70 + ม.70 ทวิ

ภาษีมูลค่าเพิ่มจะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.77 / 1 ( 8 ) , ( 10 ) , ( 11 ) , ( 12 ) , ( 13 ) , ( 15 ) , ( 20 ) + ม.77 / 2 + ม.77 / 3 + ม.78 + ม.78 / 1 + ม.78 / 2 + ม.78 / 3 + ม.81 + ม.81 / 1 + ม.82

ภาษีธุรกิจเฉพาะจะมี ม.ที่สำคัญ คือ ม.77 / 3 + ม.91 / 1 + ม.91 / 2 + ม.91 / 3 + ม.91 / 4 + ม.91 / 5 + ม.91 / 7 + พรฎ.ฉบับ 342 + พรฎ.ฉบับ 246

วิเคราะห์ข้อสอบ
สถิติ ม. ที่ออกสอบ ของ ข้อ 7
ปี2531 ออกสอบ ม.39…..50….ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ปี2532 ออกสอบ ม.65…66…นิติบุคคล
ปี2533 ออกสอบ ม.20…บุคคลธรรมดา
ปี2534 ออกสอบ ม.71(1)….17….68ทวิ…19…23….นิติบุคคล
ปี2535 ออกสอบ ม.30(2)….อุทธรณ์ภาษี นิติบุคคล
ปี2536 ออกสอบ ม.40(1)….42…50(1) + 3 จตุทศ….52…..บุคคลธรรมดา+ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ปี2537 ออกสอบ ม.40(3)….70….นิติบุคคล+ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ปี2538 ออกสอบ ม.65ตรี (5) ….นิติบุคคล
ปี2539 ออกสอบ ม.39…40(8)….91/2(6)….91/5(6)….บุคคลธรรมดา+ธุรกิจเฉพาะ…..พระราชกฤษฎีกา ม.3(6)
ปี2540 ออกสอบ ม.56 ว.1….82/4….78(1)…..บุคคลธรรมดา+มูลค่าเพิ่ม
ปี2541 ออกสอบ ม.40(1)….42(13)…42(10)….บุคคลธรรมดา
ปี2542 ออกสอบ ม.39….81(1)(ต)….81(1)(ก)…..บุคคลธรรมดา+มูลค่าเพิ่ม
ปี2543 ออกสอบ ม.40(2)…70….77/2….78/1(3)….83/6….นิติบุคคล+มูลค่าเพิ่ม
ปี2544 ออกสอบ ม.40(1)….47(1)(ค)….57 เบญจ ว.2(2)….47(1)(ฉ)…..บุคคลธรรมดา
ปี2545 ออกสอบ ม.82/3 ว.1….65 ตรี(6ทวิ)….65 ตรี (1)-(20)….นิติบุคคล+มูลค่าเพิ่ม
ปี2546 ออกสอบ ม.70….ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคล ต่างประเทศ
ปี2547 ออกสอบ ม.42(9)….77/1(5)….77/2(1)….บุคคลธรรมดา+มูลค่าเพิ่ม
ปี2548 ออกสอบ ม.81(1)(ก)….81(1)(ต)….65….91/2…..นิติบุคคล+มูลค่าเพิ่ม+ธุรกิจเฉพาะ
ปี2549 ออกสอบ ม.56 ว.2….42(14)….91/2(6)…..บุคคลธรรมดา+ธุรกิจเฉพาะ
ปี2550 ออกสอบ ม.65 ว.2….78/1(1)….นิติบุคคล+มูลค่าเพิ่ม
ปี2551 ออกสอบ ม.41…81 (1) (ฌ)…..77/2….บุคคลธรรมดา+มูลค่าเพิ่ม

จะเห็นได้ว่า เนื้อหา ที่ออกสอบ แบ่งได้ 4 ส่วน
ถ้าออก บุคคลธรรมดา จะไม่ออก นิติบุคคล หรือ ออกนิติบุคคล จะไม่ออก บุคคลธรรมดา
และมักจะออกสลับกันไป ในแต่ละปี ย้อนหลังไป 6ปี
ปีที่แล้วออก บุคคลธรรมดา ปีนี้ก็เน้น ดู นิติบุคคลไว้นะครับ แต่….. อย่าทิ้ง เรื่องบุคคลธรรมดานะครับ ดูไว้ด้วยนะครับ เพราะ อาจจะออก บุคคลธรรมดาก็เป็นได้ครับ

ส่วน อีก 2 ส่วน คือ มูลค่าเพิ่ม และ ธุรกิจเฉพาะ 2 ส่วน นี้ จะตรงข้ามกันครับ
คือ ถ้าออก มูลค่าเพิ่ม จะไม่ออก ธุรกิจเฉพาะ ถ้าออกธุรกิจเฉพาะ จะไม่ออก มูลค่าเพิ่ม
เพราะเนื้อหา ตรงข้ามกันนั้นเอง
สถิติ 21 ปีที่ผ่านมา จะออกเรื่อง มูลค่าเพิ่ม มากกว่า ธุรกิจเฉพาะ เนื่องจาก มี แง่มุมกฎหมายที่ออกสอบได้กว้างกว่า ธุรกิจเฉพาะ ดังนั้น แม้ จะออก มูลค่าเพิ่ม มา 2 ปี ติดกันแล้ว ก็ควรดูไว้ด้วยนะครับ และ ธุรกิจเฉพาะ ไม่ได้ออกมา 2ปี แล้ว ก็ควรดูไว้ด้วยเช่นกัน

สรุป ควรดูทั้งหมดนะครับ ไม่รู้ จะ เน้นอะไรดี 555++++
เอาเป็นว่า ตามสถิติปีนี้ ก็น่าจะเป็น นิติบุคคล +(มูลค่าเพิ่ม หรือ ธุรกิจเฉพาะ) ครับ

ที่สำคัญ คือ ในข้อ 7 ภาษีนี้ ต้องวางหลัก กฎหมายด้วยนะครับ
จาก คำบรรยาย สมัย 61 ปี 2551 เล่ม 15 หน้า 439 ย่อหน้าสุดท้าย ท่าน อ. ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

ข้อสอบภาษีส่วนใหญ่จะถามหลักกฎหมายมากกว่าคำพิพากษาศาลฎีกา นักศึกษาจึงควรจะรู้หลักกฎหมายภาษีอากรอย่างดี เวลาตอบข้อสอบ อย่าลืม ยกหลักกฎหมายภาษีอากรขึ้นมาตอบก่อน เพราะคะแนนหลักกฎหมายภาษีอากร นั้นบางปี มี 4-5 คะแนน นักศึกษาที่ตอบผิดธง จึงอาจได้คะแนนมากกว่า นักศึกษาที่ตอบถูกธงแต่ไม่ได้ตอบหลักกฎหมายหรือตอบหลักกฎมายไม่ดี

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 8 จะเป็นวิชากฎหมายแรงงาน

ขอบเขตมาตรา

ในข้อที่ 8 นั้น จะเป็นกฎหมายแรงงานในส่วนนี้ จะมีกฎหมายอยู่ 4 ฉบับ ที่จะนำมาออกเป็นข้อสอบ และก็จะออกแบบผสมตั้งแต่กฎหมาย 2 ฉบับขึ้นไปเช่นเดียวกันกับกฎหมายภาษีไม่ว่าจะนำเอากฎหมายคุ้มครองแรงงาน ออกคู่กับกฎหมายเงินทดแทน หรือ กฎหมายจัดตั้งศาลแรงงานฯไม่ว่าจะนำเอากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ออกคู่กับ กฎหมายเงินทดแทน หรือกฎหมายจัดตั้งศาลแรงงานฯ ดังนี้เป็นต้น.และก็เช่นเดียวกัน ตอนท้ายๆชั่วโมงการสอนอาจารย์จะบอกว่าในปีนี้จะออกกฎหมายอะไรดังนั้นจึงควรติดตามหนังสือคำบรรยายเล่มท้ายๆให้ดี

ก.ม.คุ้มครองแรงงานจะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.5 + ม.10 + ม.12 + ( ม.15 + ม.16 + ม.17 ) + ( ม.30 + ม.64 + ม.67 ) + ม.43 + ม.61 + ( ม.75 + ม.76 ) + ( ม.118 + ม.119 + ม.120 ) +( ม.123 + ม.124 + ม.125 )ข้อควรระวัง ก.ม.คุ้มครองแรงงาน เป็น ก.ม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงใดๆของนายจ้างที่ขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติของก.ม.คุ้มครองนี้ท่านว่าข้อตกลงเช่นว่านั้น ย่อมตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้

ก.ม.แรงงานสัมพันธ์จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.5 + ม.10 + ( ม.12 + ม.13 + ม.16 + ม.18 +ม.19 + ม.20 ) + ( ม.16 + ม.21 + ม.22 + ม.31 + ม.34 ) + ม.41(4) + ม.52 + ( ม.121 + ม.123 + ม.124 + ม.125 ) + ม.127

ก.ม.เงินทดแทนจะมีมาตราที่สำคัญๆ คือ ม.5 + ( ม.13 + ม.16 + ม.18 ) + ( ม.20 + ม.21 ) + ( ม.22 + ม.23 )

ก.ม.จัดตั้งศาลแรงงานฯจะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.8 + ( ม.37 + ม.38 + ม.39 + ม.40 + ม.41 ) + ม.49 + ม.52 + ม.54

แนะนำ สรุปขอบเขต แรงงาน ของ คุณผ่านมาแล้วอยากตอบ ครับ อ่านแล้วจะทำให้มองภาพรวมของ วิชา แรงงาน ออกครับว่า แต่ ละ พ.ร.บ.เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

Link กระทู้—-> สรุปภาพรวมที่สำคัญๆของวิชากฎหมายแรงงาน ตอนที่ 1
Link กระทู้—-> สรุปภาพรวมที่สำคัญๆของวิชากฎหมายแรงงาน ตอนที่ 2

วิเคราะห์ข้อสอบ
สถิติ ม. ที่ออกสอบ ของ ข้อ 8
ปี2531 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.22 ว.3
ปี2532 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ….ม.49
ปี2533 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.126
ปี2534 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.13…20
ปี2535 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.118
ปี2536 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.118…119
ปี2537 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ….ม.31 + ป.วิ.พ. ม.55
ปี2538 ออกสอบ พ.ร.บ.เงินทดแทน….ม.5….22
ปี2539 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.31(1)
ปี2540 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ….ม.49
ปี2541 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.61
ปี2542 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.5….10 ว.2
ปี2543 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.17 ว.3….119(4)
ปี2544 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.123…123(4)….52
ปี2545 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.123…พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ….ม.49
ปี2546 ออกสอบ พ.ร.บ.เงินทดแทน….ม.5….20
ปี2547 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.119(5)
ปี2548 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.34(1)….13…22 ว.3…21
ปี2549 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ….ม.8 ว.2…..พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….119(4)….118
ปี2550 ออกสอบ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์…..ม.20….พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ….49
ปี2551 ออกสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน….ม.43….118…119….ป.พ.พ. ม.150

ตามสถิติ ข้อสอบเก่าแล้ว ต้องรอดูคำบรรยาย คาบสุดท้าย ครับว่า ท่านอ. จะเน้น ออกเรื่องอะไร
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะออกพ.ร.บ. อะไร ก็มักเป็น ม. สำคัญในแต่ละพ.ร.บ.นั้นๆครับ

สรุป ข้อกฎหมายบางบท คำบรรยาย สมัย 61 ปี 2551 เล่มที่ 15 หน้า 73-84
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
ม. 5 (ลูกจ้าง นายจ้าง ค่าจ้าง)…9….10…15…16…17…30…43…61…64…67…70…76…118…119…123…125

พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ม. 5 (สภาพการจ้าง)….10…13…20…31…34…41…52…121…123

พ.ร.บ.เงินทดแทน
ม. 5 (ประสบอันตราย เจ็บป่วย)….18…20…22

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
ม.8….9….49…52…54

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 9 จะเป็นวิชากฎหมาย รัฐธรรมนูญ

ขอบเขตมาตรา
ในข้อที่ 9 นั้น จะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญในส่วนนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและฉบับใหม่ก็ยังไม่มี..ดังนั้นจึงต้องไปดูตอนที่เปิดเรียนกันว่าทางเนติฯจะเอาส่วนไหนมาสอน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขอ อนุญาต เอาขอบเขต เนื้อหา จาก ท่าน อ.อธิคม ที่สรุปในคาบสุดท้าย ภาคค่ำ สมัย 62 ปี 2552 มาลงประกอบครับ
ท่าน อ. อธิคม อินทุภูติ สอนแทน ท่าน อ.ภัทรศักดิ์ วรรณแสง ที่ติดภารกิจ สอนวันที่ 18/8/52
***ปิดคอร์ส***
ขอบเขต วิชารัฐธรรมนูญ (จะขอย่อ รัฐธรรมนูญ = รธน.)
1.หลักทั่วไป ประวัติศาสตร์
2. ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
3. คดีพิเศษในศาลรัฐธรรมนูญ
4. สิทธิเสรีภาพ

สอน ข้อ 2 และ ข้อ 3

2. ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

ควบคุมร่างกฎหมายไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ม.141….154
ควบคุมกฎหมายไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ม.211….245….257….212….185

การควบคุมคุณสมบัติลักษณะต้องห้าม
ส.ส.,ส.ว. ม.91…92…265
รมต. ม.182
ก.ต.ต. ม.233
พิทักษ์ รธน. จากการเปลี่ยนแปลงนอกวิถี ม.68…237

ควบคุมร่างกฎหมายไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ร่าง พ.ร.ป. ….ม.141….29 ว.2
ร่าง พ.ร.บ. ….ม.154 ดูประกอบ ม.150…151
ข้อบังคับการประชุมสภา ….ม.155

ศาล รธน. ตรวจ 2 อย่าง
1. ม.139 ตราขึ้นชอบหรือไม่
2. ม.147 มีการดำเนินการถูกต้องหรือไม่

ม.211
ม.212 ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่น เช่น ม.211…245(1)….257(2)

พระราชกำหนด
ม.184 ว.3…186 ว.2 ตรวจสอบโดยรัฐสภา
ม.185 ตรวจสอบโดย ศาล รธน.

ม.184-185 พ.ร.ก. ทั่วไป
ม.186 พ.ร.ก.ภาษีอากร หรือเงินตรา

ม.214 อำนาจขัดกัน
ม.190 สนธิสัญญา
ม.65 ว.3…237 การควบคุมพรรคการเมือง

3. คดีพิเศษในศาลรัฐธรรมนูญ
ม.275 คดีอาญาทุจริต ต่อหน้าที่
ม.263 ว.1 คดีปกปิดทรัพย์สิน
ม.275 ร่ำรวยผิดปกติ
ม.262 ว.2 ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
ม.249 ป.ป.ช. ทุจริต

ม.275 ว.4 ผู้ไต่สวนอิสระ
ม.278 ว.3 การอุทธรณ์
คดีเลือกตั้ง ม.219 ว.3…239
เอกสิทธิ์,ความคุ้มกัน ม.277 ว.ท้าย….131 (ออกสอบเมื่อ ปี 2551 ที่ผ่านมาครับ)

วิเคราะห์ข้อสอบ
ปี2543 ออกสอบ รธน. ปี 2540 ม. 264….6
ปี2544 ออกสอบ รธน. ปี 2540 ม. 264….6
ปี2545 ออกสอบ รธน. ปี 2540 ม.264…262….308 ว.2 +พ.ร.ป.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ม.9(2)
ปี2546 ออกสอบ รธน. ปี 2540 ม. 264
ปี2547 ออกสอบ รธน. ปี 2540 ม.198 ว.1….196-198…266
ปี2548 ออกสอบ รธน. ปี 2540 ม. 264
ปี2549 ออกสอบ หลักความเสมอภาคตาม รธน. หมายเหตุ (รธน.ปี 2540 ถูกยกเลิกไป โดย คมช. 19 ก.ย.49)
ปี2550 ออกสอบ รธน. ปี 2550 ม.214
ปี2551 ออกสอบ รธน. ปี 2550 ม.131…277…275

หมายเหตุ รธน. ปี 2540 ม. 264 ปัจจุบันคือ รธน. ปี 2550 ม.211

ถ้าเป็นข้อสอบเก่า สมัย รธน. ปี 2540 ก็เน้น ม.264 ไว้ก่อน 6 ปี(ปี2543-2548 ) ออก 4 ครั้ง
แต่ พอเป็น รธน. ปี 2550 ออกสอบ 2 สมัยที่ผ่านมาเป็น ม. อื่นๆ ก็ควรดู ม.อื่นๆ ประกอบด้วยนะครับ
ม.อื่นๆ ที่ออกสอบก็เป็น มาตรา หลักๆเช่นกันครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อที่ 10 จะเป็นวิชากฎหมายปกครอง

ขอบเขตมาตรา

ส่วนในข้อที่ 10 นั้น ก็จะเป็น ก.ม.ปกครองในส่วนนี้ก็จะมี ก.ม.อยู่ 2 ฉบับ ที่จะนำเอามาออกเป็นข้อสอบ ซึ่งก็คือ ก.ม.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กับ ก.ม.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ

ก.ม.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองจะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.3 + ม.5 + ม.13 + ม.16 + ม.17 + ม.18 + ม.19 + ม.30 + ม.32 + ม.35 + ม.36 + ม.37 + ม.40 + ม.41 + ม.42 + ม.44ม.49 + ม.50 + ม.51 + ม.52 +ม.54

ก.ม.จัดตั้งศาลปกครอง ฯจะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.3 คำนิยามของสัญญาทางปกครอง + ม.9 + ม.42 + ม.49 + ม.52 + ม.72

แนะนำ สรุปขอบเขต ปกครอง ของ คุณผ่านมาแล้วอยากตอบ ครับ อ่านแล้วจะทำให้มองภาพรวมของ วิชา ปกครอง ออกครับว่า แต่ ละ พ.ร.บ.เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
Link กระทู้—-> สรุปภาพรวมที่สำคัญๆของวิชากฎหมายปกครอง

วิเคราะห์ข้อสอบ
ปี2539 ออกสอบ ประกาศของคณะกรรมการจังหวัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะทำเกินอำนาจหน้าที่ของตน
ปี2540 ออกสอบ ผู้ว่าฝ่าฝืนระเบียบที่วางไว้ ทำให้คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ปี2541 ออกสอบ คำสั่งชอบด้วยกฎหมาย
ปี2542 ออกสอบ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง…..ม.5
ปี2543 ไม่มีข้อสอบวิชา กฎหมายปกครอง
ปี2544 ออกสอบ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง…..ม.3….52
ปี2545 ออกสอบ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง…..ม.5….30 ว.2…37 ว.3(2)
ปี2546 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ….ม.9
ปี2547 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ….ม.9 ว.1(3)
ปี2548 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ….ม.9 ว.1(4)….3….พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง…..ม.5…30
ปี2549 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ…. ม.9 ว.1(1)…..9 ว.1 (3)….3
ปี2550 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ….ม.9 ว.1(4)….3
ปี2551 ออกสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ….ม.9 ว.1….9 ว.2(3)….3

ข้อสอบ 6 ปี ย้อนหลัง จะเป็นการถามว่า ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาคดีหรือไม่
มาตราสำคัญคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ….ม.9….3
การตอบ ข้อสอบ
อย่ารีบไปตอบเลยว่า ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาหรือไม่
ให้วิเคราะห์ เขียนตอบไปก่อนว่า
หน่วยงาน ใน คำถาม เป็นหน่วยงานทางปกครองหรือไม่
ข้าราชการใน คำถาม เป็น เจ้าหน้าที่ ของรัฐ หรือไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้มา เป็น คำสั่งทางปกครอง หรือ สัญญทางปกครองหรือไม่

แล้ว จึงตอบ ข้อสอบว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณา รับไว้ได้หรือไม่
ถ้าเราตอบถูกธง คะแนน ก็ไหลมาเทมา แต่ถ้าเราตอบผิดธง เรายังพอมีคะแนน ส่วนที่วิเคราะห์ ตอนแรกบ้างครับ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การที่เราได้ หัดทำข้อสอบเก่า 20ปี ย้อนหลัง เนติฯ มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

1. ทำให้เรา รู้ว่า ขอบเขตการออกสอบในแต่ละข้อ ว่า มีเนื้อหาส่วนใดบ้าง เน้นอ่าน ส่วนนั้นๆเยอะๆ
2. ทำให้เรา รู้ว่า มาตราใดๆ พ.ร.บ. ใดๆออกสอบไปแล้วบ้าง และมีสถิติการออกสอบอย่างไร เช่น อาญา ข้อ 1 และ อาญา ข้อ 4 จะคนละแนวกันเลย
3. ทำให้เรา หัดจับประเด็นคำถาม ของ ข้อสอบ ซึ่งบางที อาจมีประเด็นย่อยที่เรามองข้ามไป เช่น เหตุฉกรรจ์ ทั้งหลาย ของ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
4. ทำให้เรา ฝึกการขียนคำตอบ ได้เพิ่มทักษะการเขียน ตอบข้อสอบ การปรับข้อเท็จจริงเข้ากับหลักกฎหมาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราได้คะแนนดีๆ
5. ทำให้เรา รู้ขอบเขต ความสามารถการตอบ ข้อสอบของตน ฝึกจับเวลา การเขียนตอบ ไม่ควรเกิน ข้อ ละ 24 นาที เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะ สอบจริงๆ จะทำให้เราลดความประหม่า ความตื่นเต้นในการทำข้อสอบ

ลิ้งกระทู้น่าสนใจ สำหรับการเตรียมสอบ อาญา ครับ
[กระทู้ไร้สาระ] ………..วิธีเตรียมตัวสอบเนติภาค 1 อาญา และ แพ่ง โดย คุณ MK
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..คู่มือ เตรียมตัวเรียนเนติ
รวมสรุปขอบเขตและเนื้อหาที่สำคัญ ๆ ของวิชา แพ่ง / อาญา / /กฎหมายปกครอง /แรงงาน โดย คุณผ่านมาแล้วอยากตอบ

อาญา ข้อ 2-3 ไล่สาย โดยคุณผ่านมาแล้วอยากตอบ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] …….. อาญา ข้อ 2-3 ไล่สาย….. โดยคุณผ่านมาแล้วอยากตอบ ครั้งที่ 1

มาตรากฎหมายอาญา
สำหรับผู้ท่องตัวบทไม่ทันครับ
ไล่สายกฎหมายอาญา ท่านวินัย เลิศประเสริฐ

สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญา โดย คุณเหนือชั้นเทพ (เกลียดพวกเกรียน) รุ่น ๒
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๒)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๓)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๔)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๕)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๖)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๗)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๘)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๙)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๐)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๑)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๒)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๓)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๔)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๕)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๖)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๗)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๘)
สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป (ครั้งที่ ๑๙) ครั้งสุดท้าย

สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญา โดย คุณเหนือชั้นเทพ (เกลียดพวกเกรียน) รุ่น ๒
สรุปกฎหมายอาญาภาคความผิด (ลักษณะ ๔-๘) ตอนที่ ๑

สรุปคำบรรยายกฎหมายอาญา
ย่ออาญา288-366 ครั้งที่ 1 อาจารย์หม่อมหลวงไกรฤกษ์

กระทู้น่าสนใจเกี่ยวกับ Box Exam เนติ เทอม 1 สมัย 62
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อารัมภบท
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….หนังสือข้อสอบเก่าเนติฯ 20 ปีย้อนหลัง
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 1…..เฉพาะข้อสอบ 6 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 1…..เฉลย 6 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 2-3…..เฉพาะข้อสอบ 12 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 2-3…..เฉลย 12 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 4…..เฉพาะข้อสอบ 6 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 4…..เฉลย 6 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 5-6…..เฉพาะข้อสอบ 12 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 5-6…..เฉลย 12 ข้อ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..Box Exam…….อาญา ข้อ 10…..เฉพาะข้อสอบ 6 ข้อ
To be continue ข้อ 7,8,9

กระทู้ ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3
อาญา ภาค 1 เรื่อง การกระทำ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 1
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 2
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 3
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 4
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 5
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 6
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 7

อาญา ภาค 1 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 8
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 9
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 10
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 11
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 12
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 13

อาญา ภาค 1 เรื่อง เจตนา ประมาท พลาด และสำคัญผิด
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 14
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 15
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 16
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 17
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 18
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 19
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 20
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 21
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 22
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 23
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 24
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 25

อาญา ภาค 1 เรื่อง การพยายามกระทำความผิด
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 26
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 27
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 28

อาญา ภาค 1 เรื่อง ผู้กระทำความผิดหลายคน
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 29
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 30
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 31
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 32
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 33
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 34
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 35
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 36
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 37
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 38
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 39

อาญา ภาค 1 เรื่อง อำนาจกระทำ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 40
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 41

อาญา ภาค 1 เรื่อง เหตุยกเว้นโทษและเหตุลดโทษ
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 42
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 43
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 44
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 2-3….. DAY 45

กระทู้ ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4
อาญา ข้อ 4 ปลอมเอกสาร
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 46
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 47
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 48
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 49
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 50
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 51
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 52
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 53
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 54
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 4….. DAY 55

กระทู้ ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 1
อาญา ข้อ 1 ภาค 1 เรื่อง การใช้กฎหมายอาญา
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 1….. DAY 56
[เตรียมสอบ เนติ 1/62 ] ……..ถาม-ตอบ อาญา ข้อ 1….. DAY 57

To be continue Day 58
ขอบคุณบทความดีดีจาก N a-K honW anY oullN everW alkA lone